Connect with us

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net interest margins)

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นยังไง ส่งผลกระทบกับธนาคารมากน้อยแค่ไหน ให้ Tadoo เป็นตัวช่วยสำหรับคุณ

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM : Net Interest Margin) คืออะไร

สะท้อนความสามารถในการหารายได้ของธนาคาร พาณิชย์จากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ย จ่ายทั้งหมด ครอบคลุมทั้งสินเชื่อและเงินฝาก เงินให้กู้ และเงินกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน รวมถึงเงินลงทุนซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้

จุดเด่น

  • ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นเครื่องชี้หนึ่งในการวัดผลกำไรเบื้องต้น
  • ลดต้นทุน ความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิส่งผลอย่างไรต่องบการเงินของกลุ่มธนาคาร

เนื่องจากว่าธุรกิจของทางสถาบันการเงินหรือธนาคารมีรายได้หลักมาจากการปล่อยสินเชื่อ และต้นทุนหลักมาจากการรับฝากเงิน การที่ค่า ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ลดลง หรือพูดง่ายๆ คือ รายได้น้อยกว่ารายจ่ายนั้นเอง บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรในไตรมาสนั้นๆ ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ค่า ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจึงเป็นตัวที่ไว้ใช้วัดผลกำไรเบื้องต้นในการดูหุ้นกลุ่มธนาคาร

คำนวณส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

NIM = รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ / เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สุทธิจากรายได้รอตัดบัญชีเฉลี่ย + รายได้การระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิเฉลี่ย (ด้านสินทรัพย์) + เงินลงทุนสุทธิเฉลี่ย (ที่ไม่รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย)

= 88,449 ÷ ((1,939,047+1,833,406+257,256+260,943+590,587+536,655) ÷ 2)

= 3.26% (ค่าเฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ 2558 = 3.20%)

“ในช่วงหลาย ปีที่ผ่านมาต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อและ ต้นทุนการดำเนินงานของระบบธนาคารในไทยปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับลดลง”

ทำไมส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิถึงกระทบ ROE

ในกรณีที่ส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิติดลบอย่างมาก จะส่งผลกระทบไปยังอัตรากำไรโดยรวมของธนาคาร หรือที่เรียกว่า อัตรากำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) ปรับลดลงด้วย ในทางตรงข้ามกันหากว่าค่า ส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิที่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลในทางกลับกัน ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยอื่นๆ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของธนาคารกลางประกอบด้วย

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของระบบไทยในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7-2.8 และหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะ ประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของไทยจะอยู่ในระดับกลาง ๆ

ต้นทุนของธนาคารในการปล่อยกู้

1. ต้นทุนทางการเงิน หรือ ต้นทุนของเงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารนำมาปล่อยสินเชื่อ ต้นทุนของเงินมาจากการรับเงินฝากจากประชาชน การออก ตราสารหนี้ รวมถึงการกู้ยืมในตลาดเงินหรือกู้ยืมกับ สถาบันการเงินอื่น

2. ต้นทุนความเสี่ยง จะได้มาจากเงินสำรอง ส่วนหนึ่งจากสินเชื่อที่ปล่อยไป สำหรับรองรับกรณีที่ ลูกหนี้อาจไม่ชำระหนี้ เพื่อให้ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง

3. ต้นทุนการดำเนินงานซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ สาขาและเครือข่าย ATM ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเงินสด รวมทั้งการติดตามและดูแลหนี้ และ ค่าใช้จ่ายภาษีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น โดยมาจากค่าใช้จ่ายพนักงานเป็นหลัก

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันในระบบ

ส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิของไทยที่อยู่ในระดับกลาง ๆ เทียบกับ ประเทศอื่น แสดงถึงโอกาสที่ ส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิ จะปรับลงได้อีก ทางธนาคารสามารถลดต้นทุนความเสี่ยงจาก การให้สินเชื่อ และต้นทุนค่าใช้จ่ายดำเนินงานของ ระบบธนาคารในประเทศไทยซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และจะทำให้ทางธนาคารสามารถ ส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปยังภาคธุรกิจและประชาชน ในรูปแบบอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ลดลง นอกจากนี้การ เพิ่มการแข่งขันจะทำให้ทางธนาคารไม่สามารถคิด อัตรากำไรได้สูงเกิน ควรและยังกระตุ้นให้ธนาคารลดต้นทุนลงเพื่อให้สามารถแข่งขันได้เช่น การแข่งขันใน ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีการแข่งขันให้สินเชื่อจาก หลายสถาบัน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน เฉพาะกิจและสหกรณ์ ส่งผลให้ลูกหนี้จ่าย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนของธุรกิจและประชาชน รวมถึงต้นทุน ของภาคธนาคารที่ลดลงจะช่วยให้ต้นทุนโดยรวมของ ระบบเศรษฐกิจการเงินลดลงและเอื้อต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับการเงิน