Connect with us

การเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (ICO)

การระดมทุนรูปแบบใหม่ ผ่านสกุลเงินดิจิทัลที่จะช่วยลดขั้นตอนให้ง่ายขึ้น

ICO คืออะไร?

ICO หรือ Initial Coin Offering แปลตรงตัวว่าการเสนอขายเหรียญเริ่มต้น แต่หลักการทำงานเป็นรูปแบบของการระดมทุนที่ใช้สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเป็นสื่อกลาง ซึ่งคล้ายกับลักษณะของการระดมทุนแบบ IPO หรือ Initial Public Offering ที่ผู้ลงทุนจะได้รับหุ้น แต่ ICO นั้นผู้ลงทุนจะได้รับโทเคนแทน ซึ่งโทเคนก็เปรียบเสมือนคริปโตสกุลหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในโปรเจกต์ที่องค์กรหรือบริษัทออกแบบขึ้น

โดยสมมติเหตุการณ์ว่า คุณเป็นสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดริเริ่มสำหรับการสร้างคริปโตสกุลใหม่ โดยความต้องการที่จะสร้างคือเพื่อปรับปรุงระบบการชำระเงินสำหรับผู้ปกครองให้แก่พี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบของการชำระเงินดิจิทัลและมีการเข้ารหัส โดยจะใช้ชื่อสกุลเงินใหม่นี้ว่า BabyCoin แต่ปัญหาเดียวคือคุณต้องการคนที่จะให้เงินทุนแก่คุณเพื่อที่จะสามารถสร้างสกุลเงินนี้ได้จริง ซึ่งแทนที่คุณจะไปธนาคารหรือค้นหานักลงทุนเข้ามาร่วมทุนด้วย แต่จะเป็นการที่คุณสามารถหาเงินทุนได้และยังคงเป็นเจ้าของไอเดียแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องเป็นหุ้นส่วนกับใคร แน่นอนว่ามันเป็นไปได้จริงหากคุณใช้การระดมทุนแบบ ICO

ซึ่งวิธีการก็เพียงแค่คุณสร้างเอกสารที่ระบุรายละเอียดว่าระบบทำงานอย่างไร (White Paper) สร้างเว็บไซต์ที่สวยงาม และอธิบายว่าทำไมแนวคิดนี้ถึงมีประโยชน์มาก จากนั้นคุณสามารถขอให้คนอื่นส่งเงินให้คุณผ่านคริปโตอย่าง Bitcoin หรือ Ether (สามารถรับเป็นเงินสดได้เช่นกัน) และในทางกลับกันคุณก็จะแจกจ่าย BabyCoin ให้กับผู้ที่ส่งเงินทุนให้คุณ ซึ่งจุดประสงค์การให้เงินทุนเป็นเพราะเหล่านักลงทุนต่างหวังว่า BabyCoin ของคุณจะถูกใช้งานอย่างมหาศาลและมีการหมุนเวียนสูง ซึ่งจะทำให้มูลค่าของสกุลเงินในตลาดนั้นสูงขึ้นได้

สิ่งที่สำคัญที่ควรทราบคือการลงทุนใน ICO นั้นไม่เหมือนกับ IPO แต่อย่างใด คุณจะไม่มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทหรือแนวคิดที่คุณให้เงินทุนไป แต่เป็นการที่คุณเดิมพันต่อมูลค่าสกุลเงินที่ไร้ค่าในตอนแรก และหวังว่ามันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในภายหลังซึ่งสิ่งนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับคุณได้

จุดเด่น

  • มีกฎระเบียบของรัฐบาลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหากต้องการริเริ่ม ICO
  • ขั้นตอนไม่ยุ่งยากเพียงแค่สร้าง White Paper หรือเอกสารแสดงรายละเอียดของระบบการทำงาน
  • การหาวิธีดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญต่อโครงการในระยะยาว

ใครบ้างที่สามารถระดมทุนแบบ ICO ได้?

เป็นใครก็สามารถระดมทุนแบบ ICO ได้ ซึ่งปัจจุบันมีข้อกำหนดน้อยมากในการริเริ่มเกี่ยวกับ ICO หมายความว่า ตราบใดที่คุณสามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่เป็นที่น่าดึงดูดแก่นักลงทุน คุณก็จะมีอิสระที่จะรับเงินจากสกุลเงินใหม่ที่คุณสร้างได้

ยกตัวอย่างโปรเจกต์แรกที่ริเริ่มใช้ ICO คือ Mastercoin เมื่อปี 2014 ซึ่งระดมทุนผ่าน Bitcoin เป็นมูลค่ากว่า 500,000 ดอลลาร์ในขณะนั้น (ประมาณ 5,000 Bitcoin) และโปรเจกต์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้อย่าง Ethereum ก็ใช้การระดมทุนแบบ ICO เพื่อสร้างระบบการทำงานรูปแบบใหม่ขึ้นมาในปี 2014 เช่นกัน โดยระดมทุนไปได้กว่า 370,000 ดอลลาร์ในขณะนั้น และในเดือนกรกฎาคม ปี 2017 ได้มีการระดมทุน ICO ของโปรเจกต์ Stratis ที่ระบุว่าเป็นระบบการทำงานแบบ Blockchain-as-a-Service (BaaS) ได้ระดมไปกว่า 600,000 ดอลลาร์ และโทเคนมีราคา ICO อยู่ที่ 0.007 ดอลลาร์ต่อหน่วย ซึ่งในปีต่อมามูลค่าโทเคนตัวนี้ดีดไปอยู่ที่ 21 ดอลลาร์ต่อหน่วย อัตราเติบโตที่เพิ่มสูงกว่า 3,000 เท่าถือว่าเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก

การเริ่มต้น ICO ด้วยตนเอง

ถึงแม้จะบอกว่าทุกคนสามารถริเริ่ม ICO ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนควรทำ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องทำก่อน คือทำความเข้าใจในระบบการทำงานของคริปโต และ Blockchain ซึ่งคุณต้องตอบคำถามได้ทันทีเกี่ยวกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของ ICO ที่คุณจะสร้างขึ้น

และควรถามตัวเองว่าธุรกิจหรือโปรเจกต์ของคุณจะได้รับผลประโยชน์จาก ICO จริงหรือไม่ หากคุณมุ่งมั่นที่จะทำ คุณต้องมี White Paper ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำหน้าที่ระบุอย่างชัดเจนว่าสกุลเงินใหม่ของคุณกำลังนำเสนออะไร และมีอะไรแปลกใหม่ไปจากสกุลอื่นที่มีอยู่ หรือคุณต้องการสร้างแนวคิดใหม่ที่จะเป็นที่ยอมรับได้อย่างไรและมันดีกว่าแนวคิดอื่นอย่างไร

ทำการตลาดให้กับ ICO ของคุณ
เมื่อคุณมี White Paper แล้ว ต่อมาคือคุณต้องมีโฆษณาที่ควรจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคริปโตและการทำงานของ ICO อยู่แล้ว กับผู้ที่ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ โดยคุณจะต้องเจาะจงไปสู่กลุ่มคนที่น่าจะให้ความสนใจอย่างมากกับโปรเจกต์ของคุณก่อน เนื่องจากพวกเขาจะกระตือรือร้นที่จะให้เงินทุนแก่คุณมากขึ้นถ้ามันสามารถสร้างรายได้ให้แก่พวกเขาได้ อย่างที่เคยยกตัวอย่างในกรณีของการสร้าง BabyCoin โดยคุณอาจติดต่อกับเหล่าบล็อกเกอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคุณแม่ และให้พวกเขาช่วยกระจายเนื้อหาว่าทำไม BabyCoin ถึงเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่สำหรับวงการรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

และต่อมาคือคุณจะต้องให้โปรแกรมเมอร์ในทีมของคุณพร้อมที่จะตอบคำถามบนโซเชียลมีเดีย
เช่น Reddit และ Twitter เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำให้ผู้คนในชุมชนคริปโตเคอเรนซีมีส่วนร่วมกับโปรเจกต์ของคุณได้ใกล้ชิดขึ้น และเป็นผลดีต่อการโฆษณาโปรเจกต์ของคุณอย่างแน่นอน

“การระดมทุน ICO ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือโครงการ Ethereum”

ICO ตัวใดที่บอกได้ว่าดี?

คุณสามารถใช้เว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบได้ เช่น Coinschedule เป็นต้น ซึ่งบนเว็บไซต์นั้นจะทำการเลือกเฉพาะ ICO ที่มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว รวมไปถึงรายละเอียดความน่าสนใจของโปรเจกต์นั้น ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่อาจการันตีได้ 100% ว่าเชื่อถือได้ แต่อย่างน้อยมันก็มีประโยช์มากในการตรวจสอบเบื้องต้น

มีโครงการ ICO มากมายที่เป็นโครงการที่ดี แต่ก็มีหลายโครงการที่เป็น Scammer

มีกลุ่มบุคคลที่ควบคุม ICO หรือไม่?

ก.ล.ต. ของประเทศไทยได้มีการบัญญัติข้อมกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอขายเหรียญเริ่มต้น หรือ ICO ไว้โดยตรง มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าด้วย “พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หรือ “พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งมีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนผ่านการการระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO) โดยผู้เสนอขายได้ทำการออกโทเคนไว้แล้วและจะทำการเสนอขายต่อประชาชน ซึ่งผู้เสนอขายนั้นจะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. และมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขอย่างถูกต้องตามร่างกฎหมาย ได้แก่ จะต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน รวมทั้งต้องยื่นเอกสารที่แสดงรายละเอียดทั้งหมดของการเสนอขายแบบ ICO และต้องมีร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ให้มีการพิจารณาเห็นชอบกับข้อเสนอด้วยเช่นกัน
มีการกำหนดข้อบังคับภายหลังที่มีการเสนอขายไปแล้วด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ จัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับผลดำเนินงาน รวมถึงฐานะการเงินของบริษัทผู้เสนอขาย และข้อมูลเกี่ยวกับราคาตลาดของโทเคนดิจิทัล เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือครองโทเคนดิจิทัล

นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์การระดมทุนด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (Initial Coin Offering: ICO) 4 ประการ ดังนี้

1. ต้องผ่านเงื่อนไขคัดกรองโดย ICO Portal ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่

2. ยื่นหนังสือชี้ชวนต่อ ก.ล.ต. ที่ระบุรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับ ICO

3. ก.ล.ต. พิจารณาการอนุญาตภายใน 60 วันหลังจากยื่นรายละเอียดครบถ้วน

4. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ต้องเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่าน ICO Portal ภายใน 6 เดือน

โดยสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนใน ICO นั้นสามารถลงทุนได้ตั้งแต่ ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ นิติบุคคล และรวมไปถึงนักลงทุนรายย่อยด้วยเช่นเดียวกัน

สรุปปิดท้าย

ในท้ายที่สุดจะได้เห็นว่า ICO เป็นวิธีหาแหล่งเงินทุนรูปแบบใหม่ และทุกคนก็กำลังจะปรับตัวเข้าหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะจำกัดข้อเสียของการระดมทุนรูปแบบเก่าอย่าง IPO ที่ใช้เวลานานในการดำเนินการ รวมถึงมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท นอกจากนั้นต้องจ้างบริษัทที่เรียกว่า วาณิชธนกิจ เพื่อให้เป็นที่ปรึกษา ช่วยดำเนินการเอกสารต่าง ๆ และเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น ฟังดูแล้วยุ่งยากและซับซ้อนมาก โดยการระดมทุนแบบ ICO จะเข้ามาพังทลายข้อจำกัดเหล่านี้ลง แต่นักลงทุนควรจำไว้ว่าตราบใดที่ตลาดของคริปโตมีความผันผวนและความเสี่ยงมากเพียงใด ซึ่งสำหรับ ICO แล้วนั้นก็มีความเสี่ยงไม่แตกต่างกัน

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์สำหรับนักเรียนนักศึกษา

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

เพิ่มเติม

ฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย(TID)

เพิ่มเติม

การชนกับรถที่มีประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

รับมืออย่างไรหลังเกิดอุบัติเหตุ

เพิ่มเติม