Connect with us

ทำความรู้จักกับ Algorand (ALGO)

เครือข่ายที่รองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากและมีประสิทธิภาพด้านความเร็ว

Fast Fact: Algorand (ALGO)

Algorand (ALGO) - Algorand: A Blockchain Breakthrough in Speed and Efficiency | ข่าวโดย Tadoo

Algorand เป็นเครือข่าย Blockchain ที่กระจายอำนาจแบบ Open Source ที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างแบบสองชั้นและมีรูปแบบเฉพาะของอัลกอริธึม Proof-of-Stake (PoS) เพื่อความสามารถในการเพิ่มความเร็วของการทำธุรกรรมตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยรางวัลในบล็อกของ Algorand นั้นจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ที่ถือโทเคน ALGO ทุกคน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถือโทเคน ALGO จะได้รับรางวัลทั่วทั้งเครือข่าย แทนที่จะมีแค่ผู้ตรวจสอบบล็อกที่ได้รับรางวัลเพียงกลุ่มเดียว

จุดเด่น

  • ผู้ที่ถือโทเคน ALGO ทุกคนสามารถรับผลตอบแทนได้ถึง 7.5% APY
  • เครือข่ายสามารถประมวลผลรายการธุรกรรมมากกว่า 1,000 TPS และเสร็จสิ้นภายใน 5 วินาทีเท่านั้น
  • Algorand ใช้อัลกอริธึม PPoS และมีโครงสร้าง Blockchain แบบ 2 ชั้น

Algorand คืออะไร?

Algorand เป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่าย Blockchain โดยมันประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านความเร็ว ความปลอดภัย และการกระจายอำนาจ

Algorand เปิดตัวในเดือนมิถุนายน ปี 2019 ก่อตั้งโดยผู้ที่เป็นทั้งนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และศาสตราจารย์ของ MIT ที่ชื่อว่า “Silvio Micali” ซึ่งเขาได้ทำการออกแบบ Algorand ให้เป็นเครือข่าย Blockchain แบบ Open Source หรือเรียกว่า “Public Blockchain” ที่ทุกคนจะสามารถเข้าไปพัฒนาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้เป็นเครือข่ายที่เน้นการทำธุรกรรมที่รวดเร็ว และมุ่งเน้นไปที่การทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้นแทบจะในทันที ซึ่งหมายถึงความสามารถในการประมวลผลรายการธุรกรรมมากกว่า 1,000 รายการต่อวินาที (Transaction Per Second: TPS) และประมวลผลรายการเสร็จสิ้นในเวลาน้อยกว่า 5 วินาทีเท่านั้น

Algorand ใช้อัลกอริธึม Proof-of-Stake (PoS) และทำการแจกจ่ายรางวัลจากการตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมให้กับผู้ถือครองคริปโตดั้งเดิมของเครือข่าย หรือโทเคน ALGO ทุกคน ด้วยความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมและการสร้างแรงจูงใจแก่ชุมชนอย่างเท่าเทียมกันนี้ ทำให้ Algorand สามารถจัดการความต้องการปริมาณงานสูงของการใช้งานทั่วโลกอย่างแพร่หลาย และรวมไปถึงกรณีการใช้งานที่หลากหลายอีกด้วย

ในฐานะที่เป็นเครือข่าย Blockchain ที่อาศัยการทำงานแบบการ Staking แทนการขุดนั้น ปัจจุบัน Algorand สามารถทำหน้าที่เป็นโฮสต์หรือเจ้าของบ้านที่เปิดให้นักพัฒนามาเข้าร่วมในการสร้างแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจหรือที่เรียกกันว่า “Dapps” และรวมไปถึงแอพพลิเคชันการเงินแบบกระจายอำนาจหรือที่เรียกว่า “DeFi” ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งด้วยการเปิดช่องทางให้กับเหล่านักพัฒนาในรูปแบบดังกล่าว ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการย้ายโฮสต์จาก Ethereum ที่มีค่าธรรมเนียมแก๊สแพงขึ้นทุกวันอีกด้วย

Algorand ยังได้อนุญาตให้นักพัฒนาใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า “Algorand Standard Assets (ASAs)” ในการสร้างโทเคนใหม่หรือโอนโทเคนใดก็ได้ไปยังระบบนิเวศของ Algorand ได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับความสามารถในการรองรับปริมาณงานที่สูงขึ้น และมาพร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าปกติหากเทียบกับเครือข่าย Etherem

นอกจากนี้ ก็ได้มีธนาคารกลางบางแห่งที่ทำการวิจัยเครือข่ายต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้มันทำหน้าที่เป็นโฮสต์ให้กับคริปโตดั้งเดิมที่จะออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDCs) และในขณะเดียวกันนี้ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลได้มีการใช้เครือข่าย Algorand ให้เป็นโฮสต์สำหรับการพัฒนาคริปโตประจำหมู่เกาะที่ใช้ชื่อว่า “Sovereign หรือ SOV” และแน่นอนว่าได้รับการอนุมัติผ่านทางธนาคารกลางประจำหมู่เกาะ (Marshall Islands CBDC) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โครงสร้างโปรโตคอลของ Algorand

Algorand เป็นเครือข่ายที่มีรูปแบบไม่เหมือนใครคือ “โครงสร้าง Blockchain แบบสองชั้น” โดยในชั้นแรกนั้นจะรองรับ Smart Contract, การพัฒนาสินทรัพย์ และการแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ในระดับย่อย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะมีความปลอดภัยและมีความเข้ากันได้กับระบบนิเวศภายในของ Algorand

โครงสร้างชั้นแรกของเครือข่ายนั้น อนุญาตให้แพลตฟอร์มและผู้ใช้สามารถใช้งานโปรโตคอล ASAs เพื่อสร้างโทเคนใหม่ หรือพัฒนาโทเคนที่มีอยู่แล้วก็ได้เช่นกัน ที่การทำงานของมันนั้นจะคล้ายคลึงกับการทำงานของมาตรฐานโทเคน ERC-20 บนเครือข่าย Ethereum อีกด้วย นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของการสร้าง Smart Contract ในรูปแบบพื้นฐานทั่วไปของ Algorand นั้นจะถูกเรียกว่า “Layer-1 Algorand Smart Contracts (ASC1s)” ซึ่งหมายถึงการรักษาความปลอดภัยของ Smart Contract รูปแบบดังกล่าวจะอยู่ในระดับเดียวกันกับตัวโปรโตคอล

โครงสร้างชั้นที่สองของ Algorand นั้นสงวนไว้สำหรับการสร้าง Smart Contract และการพัฒนา Dapps ในระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวถือเป็นการแยกส่วนที่ชัดเจนของเครือข่ายระหว่างชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อีกทั้งยังช่วยให้ Algorand สามารถประมวลผลธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และถึงแม้ว่าโครงสร้างชั้นดังกล่าวจะมีเนื้องานที่ใหญ่กว่าและซับซ้อนกว่า แต่อย่างไรก็ตามการประมวลผลของโครงสร้างทั้งสองชั้นจะไม่มีผลกระทบใด ๆ หรือมีการทำงานที่ทับซ้อนต่อกัน

“Algorand มีมูลค่ารวมตามราคาตลาดที่ 1.1 หมื่นล้านบาท ถูกจัดอยู่อันดับ 18”

Algorand: รูปแบบเฉพาะของอัลกอริธึม Proof-of-Stake (PoS)

Algorand ใช้รูปแบบเฉพาะของอัลกอริธึม Proof-of-Stake ที่เรียกว่า “Pure Proof of Stake (PPoS)” ที่มีความแตกต่างเล็กน้อยในหลักการทำงาน กล่าวคืออัลกอริธึมนี้มีข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับการเข้าร่วมและรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย ซึ่งข้อกำหนดมีอยู่ว่าต้องใช้โทเคน ALGO ขั้นต่ำเพียง 1 โทเคนเท่านั้นในการเข้าร่วม Staking และในขณะที่ Ethereum 2.0 นั้นต้องการการ Staking ในจำนวนขั้นต่ำอยู่ที่ 32 ETH ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมากและสร้างอุปสรรคให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย

นอกจากนี้ PPoS ได้ใช้กระบวนการผลิตบล็อกแบบ 2 ระยะ ได้แก่ การยื่นเสนอและการลงคะแนนเสียง หมายความว่าบนเครือข่ายของ Algorand ที่ใช้อัลกอริธึม PPoS ในการดำเนินการตรวจสอบบล็อกนั้น โหนดที่มีหน้าที่ตรวจสอบจะถูกสุ่มภายใต้การยื่นเสนอ และการลงคะแนนโดยสมาชิกคนใดก็ได้ของเครือข่าย ซึ่งมีขั้นตอนการเข้าร่วมด้วยการ Staking โทเคน ALGO และสร้างคีย์การเข้าร่วมที่ถูกต้องเพื่อเป็น “Participation Node” หรือ “โหนดเข้าร่วม” ที่จะได้รับการประสานงานโดยโหนดของเครือข่ายที่เรียกว่า “Relay Node” หรือ “โหนดถ่ายทอด” ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างโหนดเข้าร่วมและโหนดที่ไม่ได้เข้าร่วมในการยื่นเสนอหรือลงคะแนนได้โดยตรง

ในระยะยื่นเสนอนั้นจะเป็นการสุ่มเลือกผู้นำบล็อกก่อน เพื่อให้ทำการเสนอบล็อกในความดูแลของตนเองก่อนจะเข้าสู่ระยะลงคะแนนต่อไป โดยผู้นำบล็อกจะถูกสุ่มเลือกผ่านฟังก์ชันสุ่มที่ตรวจสอบได้ (Verifiable Random Function: VRF) ของเครือข่าย ซึ่งเป็นกลไกการสุ่มที่พิสูจน์ได้ว่าจะเลือกโหนดแบบสุ่ม ที่จะให้น้ำหนักไปที่สัดส่วนการ Staking โทเคน ALGO เป็นหลัก ซึ่งมีเพียงโหนดที่ได้รับสุ่มเลือกเป็นผู้นำบล็อกเท่านั้น ที่ทราบว่าตนเองได้รับมอบหมายให้เสนอบล็อกเพื่อเข้าสู่การลงคะแนนในระยะต่อไป เนื่องจากวิธีนี้เป็นการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสในการกำหนดเป้าหมายผู้นำบล็อกแบบเฉพาะเจาะจง ที่ถือเป็นการผูกมัดกับเครือข่ายมากเกินไปอีกด้วย

ในระยะการลงคะแนนนั้น โหนดเข้าร่วมจะถูกสุ่มเลือกให้เป็นคณะกรรมการที่รับผิดชอบในการตรวจสอบบล็อกที่ผู้นำบล็อกได้เสนอ เพื่อให้แน่ใจว่ารายการธุรกรรมภายในบล็อกจะไม่มีการจ่ายซ้ำซ้อน จ่ายเกิน หรือมีปัญหาอื่นใดเกิดขึ้น ซึ่งหากคณะกรรมการเห็นตรงกันว่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว บล็อกนั้นก็จะถูกเพิ่มลงใน Blockchain ทันที และหากมีการตรวจพบกิจกรรมที่เป็นอันตรายบนบล็อกดังกล่าว ทางเครือข่ายก็จะเข้าสู่โหมดการกู้คืนโดยที่บล็อกดังกล่าวจะถูกยกเลิกและต้องทำการเลือกผู้นำบล็อกใหม่ในทันที

อุปทานหมุนเวียนขณะนี้คิดเป็น 52% จากอุปทานสูงสุดกว่า 1 หมื่นล้านโทเคน

Utility Token: ALGO By Algorand

ALGO เปรียบเสมือนสกุลเงินดั้งเดิมของเครือข่าย Algorand ที่จัดอยู่ในประเภท Utility Token อีกทั้งยังเป็นรากฐานที่สำคัญของโครงสร้างเครือข่ายอีกด้วย นอกจากนี้ยังอยู่ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโปรโตคอลที่เป็นเอกลักษณ์ของ Algorand ด้วยเช่นกัน เนื่องจากเครือข่าย Algorand ได้กำหนดว่ารางวัลจากการตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกนั้น จะถูกแบ่งออกและแจกจ่ายให้กับผู้ที่ถือโทเคน ALGO ทุกคนบนเครือจ่าย แทนที่จะมีเพียงผู้ตรวจสอบเท่านั้นที่จะได้รับรางวัลนี้ หมายความว่าผู้ถือโทเคน ALGO ทั้งหมดสามารถรับผลตอบแทนร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือ 7.5% APY ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021 ที่ผ่านมานี้ การแจกจ่ายรางวัลจะเกิดขึ้นทุก ๆ 10 นาทีและมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้เข้าร่วมกับแพลตฟอร์มการ Staking กับ Algorand เพื่อเร่งเส้นทางที่นำไปสู่การกระจายอำนาจอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย

นอกจากนี้เพื่อให้กระบวนการนี้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้อง “Staking” โทเคนจริงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตและการตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกก็ได้ แต่สามารถถือโทเคน ALGO ไว้ใน Wallet ประเภทใดก็ได้ที่ไม่ใช่ Cold Wallet (เช่น เก็บไว้ใน Exchange) เพื่อให้เข้าถึงการรับรางวัลได้อย่างง่ายดาย และในความเป็นจริงนั้นถือว่า Algorand กำลังเข้าใกล้ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มตัว เนื่องจากผู้ใช้สามารถร่วมสนับสนุนเครือข่ายไปพร้อมกับการ Staking ALGO ได้อีกด้วย

ทั้งนี้มีการจำกัดอุปทานของโทเคน ALGO ไว้ที่ 1 หมื่นล้านโทเคนด้วยกัน โดยทั้งหมดจะได้รับการจัดสรรดังนี้:

  • 3 พันล้านโทเคน จะออกสู่การหมุนเวียนในตลาดในช่วง 5 ปีแรก (รวมไปถึงการประมูลครั้งแรกในจำนวน 25 ล้านโทเคน)
  • ประมาณ 1.75 พันล้านโทเคน จะถูกแจกจ่ายเมื่อเวลาผ่านไปเพื่อเป็นรางวัลสำหรับโหนดเข้าร่วม
  • 2.5 พันล้านโทเคน จะถูกแจกจ่ายเมื่อเวลาผ่านไปเพื่อเป็นรางวัลสำหรับโหนดถ่ายทอด
  • 2.5 พันล้านโทเคน สงวนไว้สำหรับ Algorand Foundation และ Algorand Inc.
  • 0.25 พันล้านโทเคน จะถูกแจกจ่ายไปยังผู้ใช้ปลายทางที่ได้รับอนุญาต (Airdrop)

เช่นเดียวกันกับโครงการต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นรากฐานการทำงานให้กับกระบวนการแจกจ่ายโทเคนหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน โดยการกระจายอำนาจของโทเคน ALGO ของเครือข่าย Algorand เป็นกระบวนการแบบวนซ้ำ และในปัจจุบัน Algorand Foundation ได้ถือโทเคน ALGO ไว้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุผลให้เกิดข้อโต้แย้งว่าสิ่งนี้ถือเป็นการรวมศูนย์อำนาจแบบระยะสั้นหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามกลไกการแจกจ่ายรางวัลที่เป็นประชาธิปไตยของ Algorand นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อลดการรวมศูนย์อำนาจของเครือข่ายในกรอบเวลาระยะยาว

อย่างไรก็ตามคุณสามารถเป็นเจ้าของโทเคน ALGO ผ่านแพลตฟอร์มหลักอย่าง Algorand นอกจากนี้ยังสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนรองได้ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Kraken, Binance, Bitfinex และ OKEx เป็นต้น

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์สำหรับนักเรียนนักศึกษา

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

เพิ่มเติม

ฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย(TID)

เพิ่มเติม

การชนกับรถที่มีประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

รับมืออย่างไรหลังเกิดอุบัติเหตุ

เพิ่มเติม