Connect with us

ทำความรู้จักกับ Polkadot (DOT)

มีโปรโตคอลที่จะช่วยให้การสื่อสารข้าม Chain เป็นไปอย่างง่ายดาย

Fast Fact: Polkadot (DOT)

Polkadot (DOT) | ข่าวโดย Tadoo

Polkadot เป็นโปรโตคอลแบบ Open-Source Sharding Multichain หรือเป็นโปรโตคอลที่จะช่วยให้ Public Blockchain สามารถสื่อสารระหว่างกันและถ่ายโอนแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมไปถึงการโอนมูลค่าข้าม Chain ได้อีกด้วย โดยใช้ระบบการกำกับดูแลแบบ On-Chain ที่ขับเคลื่อนด้วยการลงประชามติโดยใช้โทเคน DOT เพื่อให้แน่ใจว่าเครือข่ายจะได้ยินเสียงของผู้มีส่วนร่วมได้ทั้งหมด

จุดมุ่งหมายของ Polkadot คือการสร้างอินเทอร์เน็ตที่กระจายอำนาจที่เกี่ยวข้องกับแอพพลิเคชัน Dapps การบริการ และสถาบันที่กระจายอำนาจจากทั่วทั้งระบบนิเวศ Blockchain ให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงเพื่อสร้างบทบาทหน้าที่ของมันให้เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างโปรโตคอลจำนวนมหาศาลภายในระบบนิเวศของ Blockchain อีกด้วย นอกจากนี้ Polkadot ได้ใช้ประโยชน์จากการกำกับดูแลที่กว้างขวางและระบบเศรษฐศาสตร์คริปโต ที่มีการจัดลำดับความสำคัญอย่างเท่าเทียมในการตัดสินใจว่าแต่ละโปรโตคอลนั้นควรทำงานอย่างไร

Polkadot ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้กลไกการลงประชามติแบบ On-Chain รวมไปถึงการลงประชามติแบบการถ่วงน้ำหนัก (Stake-Weighted) ที่หมายถึง การจัดการโปรโตคอลจะถูกดำเนินการโดยผู้ใช้ ซึ่งคะแนนโหวตนั้นจะมีน้ำหนักตามจำนวนโทเคน DOT ที่พวกเขาถือครอง (ยิ่งมีมากยิ่งได้เปรียบ) โดยเครือข่าย Polkadot Blockchain นั้นสร้างขึ้นเพื่อใช้กระบวนการที่โปร่งใสและซับซ้อน ในการอนุมัติหรือปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงของโปรโตคอลบนเครือข่าย อีกทั้งยังสามารถบังคับใช้ได้ด้วยตนเองอีกด้วย ซึ่งกลไกการบริหาร Polkadot นั้นจะถูกตัดสินใจโดยสภา Polkadot, คณะกรรมการด้านเทคนิค, ผู้ถือโทเคน DOT และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เพื่อรักษาความอยู่รอดของแพลตฟอร์มในระยะยาวให้ได้มากที่สุด

Polkadot มีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วนดังนี้

  • Relay Chain: “หัวใจหลัก” ของ Polkadot ที่ช่วยสร้างความเท่าเทียมในเครือข่าย ความสามารถในการทำงานร่วมกัน และการรักษาความปลอดภัยร่วมกันในเครือข่ายของ Chain ต่าง ๆ ที่หลากหลาย
  • Parachains: Chain อิสระที่สามารถมีโทเคนของตัวเองได้ และได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานในกรณีเฉพาะ
  • Parathreads: คล้ายกับ Parachains แต่มีการเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่นตามรูปแบบการจ่ายในการใช้งานหรือที่เรียกว่า “pay-as-you-go”
  • Bridges: เปรียบเสมือนสะพานที่อนุญาตให้ Parachains และ Parathreads สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกับเครือข่าย Blockchain ภายนอกอย่าง Ethereum ได้

จุดเด่น

  • ผู้ถือโทเคน DOT คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดต่อเครือข่าย Polkadot
  • เครือข่าย Polkadot กำกับดูแลแบบ On-Chain หรือหมายถึงการลงประชามติ
  • เครือข่าย Polkadot มีหน้าที่หลักเป็นสะพานเชื่อม Blockchain เข้าหากัน

Polkadot: ระบบเศรษฐศาสตร์คริปโต (Cryptoeconomic System)

เครือข่ายคริปโตของ Polkadot ได้เปิดตัวขึ้นในปี 2018 โดยมีการออกโทเคน DOT ที่มีจำนวนอุปทานทั้งหมด 10 ล้านโทเคน และต่อมาในปี 2020 อุปทานเริ่มต้นก็ได้รับการกำหนดใหม่ผ่านการโหวตของชุมชน ซึ่งเพิ่มอุปทานหมุนเวียนทั้งหมดกว่า 100 เท่าจากเดิม หมายความว่าในปัจจุบันมีโทเคน DOT มากกว่า 1 พันล้านโทเคนด้วยกัน ซึ่งมันได้รับการจัดสรรในลักษณะดังต่อไปนี้:

  • 50% จัดสรรให้สำหรับนักลงทุนเริ่มต้นในระหว่างโครงการระดมทุน ICO ในปี 2017
  • 30% จัดสรรให้สำหรับมูลนิธิ Web3* ในการใช้งานในปัจจุบันและในระยะสั้น เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบนิเวศของ Polkadot และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
  • 11.6% จัดสรรให้กับนักลงทุน Private Sale ในปี 2019 ของโครงการ Polkadot
  • 3.4% จัดสรรให้สำหรับนักลงทุนที่เข้าร่วมในการขายโทเคนในปี 2020

*Web3 หรือ Web 3.0 คือโครงการพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
หาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ระบบนิเวศของ Polkadot ได้ใช้ประโยชน์จากโซลูชันของระบบเศรษฐศาสตร์คริปโตที่กว้างขวางและซับซ้อน ซึ่งอ้างอิงด้วยโทเคน DOT ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลดั้งเดิมประจำเครือข่าย Polkadot โดยโทเคน DOT ดังกล่าวนี้ใช้เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย Polkadot Blockchain ที่จะเป็นการเอื้ออำนวยให้กับระบบนิเวศในหลากหลายวิธี โดยหน้าที่หลักของโทเคน DOT มีดังนี้:

  • เศรษฐศาสตร์ (Economic): DOT สามารถสร้างขึ้นหรือเผา เพื่อเป็นรางวัลแก่โหนดที่ทำงานบนอัลกอริธึมและโปรโตคอลบนเครือข่าย อีกทั้ง DOT ยังสามารถใช้เพื่อจัดหาเงินทุนให้กับคลังของระบบนิเวศ รวมไปถึงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อของตัวมันเองได้อีกด้วย
  • การกำกับดูแล (Governance): ผู้ถือโทเคน DOT สามารถช่วยรักษาความสมบูรณ์ของกระบวนการตัดสินใจแบบ On-Chain ของโปรโตคอล Polkadot ผ่าน Relay Chain หลักของเครือข่ายได้อีกด้วย ซึ่งมันมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของเครือข่าย ข้อตกลง และการทำงานร่วมกันข้าม Chain ด้วยเช่นเดียวกัน
  • การเดิมพัน (Staking): การใช้โทเคน DOT เป็นหลักประกันช่วยให้เครือข่ายทำงานได้ตามการออกแบบที่วางเอาไว้ และช่วยให้ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกได้รับรางวัลสำหรับการรักษาความปลอดภัย และเสริมความเป็นประชาธิปไตยบนเครือข่ายได้อีกด้วย
  • การมอบหมายงานผ่านข้อผูกมัด (Parachain Allocation via Bonding): โทเคน DOT ยังใช้ในกลไกที่เปรียบเสมือนการเช่า เพื่อตัดสินใจว่า Parachains ใดจะได้รับสล็อตทีเข้ากันกับ Relay Chain โดยตรง ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกดำเนินการผ่านการประมูล การฝากเงิน และการเดิมพัน (Staking)
  • บทลงโทษ (Slashing): โทเคน DOT มีบทบาทสำคัญในการลงโทษผู้ตรวจสอบและผู้เสนอชื่อบนเครือข่าย Polkadot ที่กระทำการมุ่งร้ายโดยการโจมตีโหนดอื่น หรือมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้

Polkadot: โครงสร้างหลักของการกำกับดูแล

ระบบการกำกับดูแลของ Polkadot ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักหลายประการด้วยกัน ได้แก่:

สภา (Council): สมาชิกในสภา Polkadot นั้นมีบทบาทสำคัญในทิศทางโดยรวมของระบบนิเวศ ที่ขับเคลื่อนโดยผู้ถือโทเคน DOT ทุกคนที่จะมีความสามารถในการพิจารณาบทบาทของสภา แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกสภาสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 30 วันเท่านั้น หมายความว่าจะไม่มีสมาชิกสภาคนใดที่ควบคุมเครือข่ายมากเกินไป โดยสมาชิกจะมีหน้าที่หลักคือรับผิดชอบในการสร้างข้อเสนอ ซึ่งจะมีการลงประชามติเพื่อพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เสนอนั้น เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของโครงการหรือไม่ โดยในขั้นต้นสภาจะเปิดตัวด้วยจำนวน 13 ที่นั่ง แต่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 23 ที่นั่ง และข้อเสนอของสภาต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า นอกจากนี้เครือข่าย Polkadot ได้ใช้ประโยชน์จากวิธีที่เรียกว่า “Adaptive Quorum Bias” เพื่อเพิ่มข้อจำกัดสำหรับการบรรลุผลสูงสุดของข้อเสนอ โดยวิธีการ Adaptive Quorum Bias นั้นเป็นกลไกการลงประชามติแบบที่เสียงส่วนมากสามารถเปลี่ยนแปลงอำนาจสูงสุดเมื่อจำเป็นได้

คณะกรรมการด้านเทคนิค (Technical Committee): เป็นทีมที่ออกแบบและสร้างเครือข่าย Polkadot ที่จะรับผิดชอบในการบรรเทาปัญหาและตรวจจับข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ รวมไปถึงข้อผิดพลาดอื่น ๆ ทั่วทั้งเครือข่าย นอกจากนี้คณะกรรมการด้านเทคนิคยังจัดการกับข้อเสนอใดก็ตามที่มีจุดประสงค์แอบแฝง ที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงคะแนนที่ผิดจรรยาบรรณโดยผู้ไม่ประสงค์ดี อีกทั้งยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามเพื่ออัปเกรดแบบฉุกเฉินบนเครือข่าย Blockchain อย่างรวดเร็วเมื่อมีปัญหาด้านการกำกับดูแล หรือความปลอดภัยที่ร้ายแรงอีกด้วย

ผู้ถือครองโทเคน DOT: มีหน้าที่ลงคะแนนเสียงในประชามติ เพื่อเลือกสมาชิกสภาผ่านกระบวนการเลือกตั้งเฉพาะทาง อีกทั้งยังสามารถยื่นข้อเสนอด้านการกำกับดูแลได้อีกด้วย แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือโทเคน DOT รายอื่น ๆ และเพื่อการลดสแปมนั้นทาง Polkadot ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ที่ถือโทเคน DOT จะต้องทำการเดิมพันหรือ Staking โทเคนก่อนจะมีสิทธิ์ในการยื่นข้อเสนอใด ๆ ต่อเครือข่าย

ระบบคลัง (Treasury System): ระบบคลังของ Polkadot ได้รับการจัดการโดยสภา ที่ประกอบไปด้วยบัญชีขนาดใหญ่ของ DOT ที่สะสมไว้ด้วยสองวิธีหลักคือ จากการเพิ่มค่าธรรมเนียมและได้รับผ่านเครือข่าย Slashing ที่เป็นการลงโทษโหนดตรวจสอบและผู้เสนอชื่อสำหรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อเครือข่าย ซึ่งระบบคลังได้ถูกจัดสรรไว้เพื่อการดำเนินการข้อเสนอให้เป็นไปอย่างดีที่สุด เช่น ใช้จ่ายให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และใช้เพื่อเป็นแรงจูงใจของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรให้กับ Web3 เพื่อเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรม Hackathon* และสำหรับการซื้อขาย DOT ผ่านตลาดแลกเปลี่ยนรองหรือ Exchange ต่าง ๆ อีกด้วย

*Hackathon เป็นการรวมคำกันระหว่าง Hack และ Marathon
หมายถึง การสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน

“มูลค่ารวมตามราคาตลาดอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท จัดอยู่ในอันดับที่ 8 จากคริปโตทั้งหมด”

Polkadot: กลไกการทำงานของการกำกับดูแล

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Polkadot ได้ใช้ประโยชน์จากกลไกการลงประชามติแบบ On-Chain ในหลากหลายวิธี ที่รวมไปถึงระบบการลงประมติแบบถ่วงน้ำหนัก (Stake-Weighted) และระบบการลงประชามติแบบเสียงส่วนมากสามารถเปลี่ยนแปลงอำนาจสูงสุดได้ (Adaptive Quorum Bias) โดยการลงประชามติสาธารณะสามารถเริ่มต้นผ่านหลายวิธี ดังนี้:

  • ผ่านข้อเสนอที่ได้นำเสนอจากการลงประชามติครั้งก่อน
  • ผ่านข้อเสนอที่ยื่นต่อสาธารณะ
  • ผ่านข้อเสนอที่เสนอโดยสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ผ่านข้อเสนอฉุกเฉินที่เสนอโดยคณะกรรมการด้านเทคนิค และเป็นที่ยอมรับโดยสภา

ข้อเสนอของเครือข่ายทั้งหมดทั้งที่เปิดเผยโดยสาธารณชนและโดยสภานั้น ต่างก็ต้องผ่านการลงประชามติทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้ถือครองโทเคน DOT ได้ตัดสินใจเป็นขั้นตอนสุดท้ายว่าจะอนุมัติหรือปฏิเสธข้อเสนอ โดยทุก ๆ 30 วันนั้นระบบการกำกับดูแลของ Polkadot จะทำการเลือกข้อเสนอถัดไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะได้รับการลงประชามติเป็นขั้นตอนสุดท้าย และข้อเสนอที่ทำการเลือกนั้นจะสลับกันไประหว่างข้อเสนอจากทางสภากับข้อเสนอจากสาธารณะเพื่อให้เกิดความสมดุลต่อกลไกการทำงาน นอกจากนี้ข้อเสนอที่รอคิวเพื่อเข้าขั้นตอนการลงประชามติจะมีปริมาณสูงสุดได้แค่ 100 รายการเท่านั้น

รูปแบบการกำกับดูแลของ Polkadot นั้นทั้งล้ำสมัยและมีความซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากโทเคน DOT อย่างแท้จริง เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ด้วยระบบนี้จึงทำให้ผู้ถือโทเคน DOT ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบ Polkadot ที่ทำให้โปรโตคอลได้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่ทำให้เกิด Web3 โดยผู้ใช้ที่เป็นผู้ควบคุมไม่ใช่บริษัท นอกจากนี้วิสัยทัศน์ที่ Polkadot ได้นำเสนอคือ “Blockchain of blockchain” หมายถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายมากมายของอุตสาหกรรม Blockchain ที่เกิดขึ้นใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษารูปแบบการกำกับดูแลที่เท่าเทียมกัน รวมไปถึงมันยังคงเติบโตในฐานะที่เป็นเสาหลักสำคัญของระบบริเวศของคริปโตอีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเป็นเจ้าของโทเคน DOT นั้นสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนทั่วไปได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Bitkub, Binance, Kraken, Bitfinex และ FTX เป็นต้น

อุปทานหมุนเวียนขณะนี้อยู่ที่ 9.8 พันล้านโทเคน จากอุปทานทั้งหมด 1 หมื่นล้านโทเคน

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์สำหรับผู้พิการ

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์แบบระบุชื่อคนขับ 2 คน

เพิ่มเติม

ความคุ้มครองเติมน้ำมันผิดประเภท

เพิ่มเติม

ส่วนลดประวัติดี

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่

เพิ่มเติม