(รีวิว) Uniswap แพลตฟอร์ม DEX ยอดนิยม
หนึ่งในแพลตฟอร์ม DEX/DeFi ที่ใหญ่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
หนึ่งในแพลตฟอร์ม DEX/DeFi ที่ใหญ่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
Uniswap เป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Exchange: DEX) ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดหาเงินทุนให้กับกลุ่มสภาพคล่อง (Liquidity Pool) และรับผลกำไรจากการวางเดิมพัน หรือ Staking คริปโตของคุณ นอกจากนี้ Uniswap ได้อนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนโทเคนที่ถูกพัฒนาบนเครือข่ายเดียวกัน (โปรโตคอล ERC-20) เนื่องจาก Uniswap เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum Blockchain ผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า “มาตรฐานโทเคน ERC-20”
Uniswap Labs | บริษัทที่พัฒนาโปรโตคอล พร้อมกับ Interface ของเว็บไซต์ |
Uniswap Protocol | Smart Contract ที่ได้สร้าง AMM ในการอำนวยความสะดวกในการทำตลาดแบบ Peer-to-Peer และการแลกเปลี่ยนโทเคน ERC-20 บนเครือข่าย Ethereum Blockchain |
Uniswap Interface | Interface ของเว็บไซต์เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้การโต้ตอบกับโปรโตคอล Uniswap ได้ง่าย |
Uniswap Governance | ระบบการกำกับดูแลสำหรับการควบคุมโปรโตคอล ที่เปิดใช้งานด้วยโทเคน UNI |
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Uniswap ถูกพัฒนาขึ้นบนเครือข่าย Ethereum Blockchain ผ่านโปรโตคอล “ERC-20” ซึ่งกลไกพื้นฐานของแพลตฟอร์มประเภทนี้จะดำเนินการทุกอย่างแบบอิสระด้วย “Smart Contract” หมายความว่าจะไม่มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง และด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ผ่าน Uniswap จะมีต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก เนื่องจากแพลตฟอร์ม DEX จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการบริการ เพราะทุกการดำเนินการนั้นจะรันผ่านโค้ดบน Smart Contract เท่านั้น
นอกจากนี้แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 Uniswap ได้มีการอัปเกรดเพิ่มเติมเป็น “Uniswap V2” ซึ่งฟังก์ชันใหม่จะประกอบด้วย Flash Swap, Price Oracles และ ERC20 Token Pool แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมานี้ ได้มีการเปิดตัว “Uniswap V3” ที่นำเสนอความยืดหยุ่นที่ดีขึ้นต่อผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ค่าธรรมเนียมหลายระดับ และต้นทุน Gas Fee ที่ต่ำลงอีกด้วย
เนื่องจาก Uniswap เป็นแพลตฟอร์ม DEX ดังนั้นจึงจะไม่มีรูปแบบการซื้อขายแบบ Order Book ที่เหมือนกับในแพลตฟอร์ม Exchange ทั่วไป (เช่น Binance) ที่จะเน้นราคาเฉพาะสำหรับการซื้อและการขาย ซึ่งแพลตฟอร์ม Uniswap นั้นผู้ใช้จะสามารถใช้การ “Swap” ที่เปรียบเสมือนการใส่โทเคน Input และ Output แลกมูลค่าระหว่างกัน เช่น ทำการ Swap โทเคน ETH ไปเป็นโทเคน DAI
คุณสามารถใช้ #Web 3.0 Wallet ได้แก่ Metamaks, WalletConnect, Coinbase Wallet, Fortmatic และ Portis เพื่อดำเนินการซื้อขายได้ โดยขั้นแรกต้องทำการเลือกโทเคนเพื่อแลกและโทเคนที่คุณต้องการรับ ซึ่งทาง Uniswap จะประมวลผลรายการธุรกรรมในทันที และอัพเดตยอดคงเหลือปัจจุบันใน Wallet ของคุณโดยอัตโนมัติ
เพื่อให้คุณทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของ Uniswap กับ Exchange ดั้งเดิมนั้น อันดับแรกจะพิจารณาจากการออกแบบ AMM ที่แตกต่างจาก Exchange ที่ให้บริการแบบ Order Book และแยกความแตกต่างของระบบที่เรียกว่า “ระบบที่ไม่ต้องขออนุญาต (Permissionless System)” กับ “ระบบที่ได้รับอนุญาต (Conventional Permissioned System) ว่าเป็นอย่างไร
Order Book VS AMM
ตลาดที่เข้าถึงได้แบบสาธารณะส่วนใหญ่นั้นจะใช้รูปแบบของ Order Book แบบจำกัดวงเงิน ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะสร้างคำสั่งซื้อตามระดับราคาที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ ซึ่งใครก็ตามที่เคยซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์ก็จะคุ้นเคยกับระบบนี้เป็นอย่างดี
แต่ Uniswap ใช้แนวทางที่แตกต่างกันออกไปด้วยการใช้งาน “Automated Market Maker (AMM)” ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า “Constant Function Market Maker” เข้ามาแทนการใช้ระบบ Order Book ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายก็จะทำการซื้อขายโดยตรงกับ Pool ด้วยการจับคู่ให้จากการทำงานของ AMM
Permissionless System
ระบบที่ไม่ต้องขออนุญาตนี้หมายความว่า การบริการของ Uniswap นั้นจะเปิดกว้างต่อสาธารณะทั้งหมด โดยไม่มีความสามารถในการเลือกว่าใครสามารถใช้งานได้หรือไม่ได้ ซึ่งทุกคนสามารถแลกเปลี่ยน จัดหาสภาพคล่อง หรือสร้างตลาดใหม่ได้ตามต้องการ ด้วยสิ่งนี้จึงเป็นการแยกความแตกต่างออกจากบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่โดยทั่วไปแล้วจะจำกัดการเข้าถึงตามภูมิศาสตร์ สถานะทางการเงิน และอายุ
“Uniswap V3 ถูกจัดอยู่ที่อันดับ 2 ตามปริมาณการซื้อขายต่อวันในฐานะ DEX”
คุณสามารถแลกเปลี่ยนโทเคนที่เป็น Ethereum-based Token หรือหมายถึงโทเคนที่พัฒนาด้วยโปรโตคอล ERC-20 ได้ อีกทั้งยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการลิสต์รายการโทเคนอีกด้วย ซึ่งผู้ใช้คนอื่น ๆ จะสามารถแลกเปลี่ยนโทเคนใน Liquidity Pool ตามที่แสดงบนลิสต์รายการ
การอัปเกรดเป็น V2 นั้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรวมโทเคน ERC-20 สองรายการในคู่การซื้อขาย (Pair) โดยไม่ต้องใช้โทเคน Ether แต่มีข้อยกเว้นบางประการเนื่องจากมีบางคู่ที่ไม่สามารถจับคู่ได้ นอกจากนี้ จากข้อมูลของ CoinGecko ได้รายงานว่าการเข้าถึงคู่ซื้อขายของ Uniswap มากกว่า 2,000 คู่นั้นได้มีตัวเลขแซงหน้าแพลตฟอร์ม DEX อื่น ๆ ทั้งหมด
Uniswap ไม่มีการจัดเก็บเงินทุน: ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องของการจัดเก็บเงินทุน เนื่องจาก Smart Contract บนเครือข่าย Ethereum จะทำการควบคุมเงินทุนของผู้ใช้ทั้งหมดไว้ และพวกเขาจะทำการตรวจสอบทุก ๆ รายการซื้อขาย นอกจากนี้แล้ว Uniswap ได้จัดทำสัญญาแยกต่างหากเพื่อการดำเนินการคู่ซื้อขาย และสนับสนุนระบบในด้านอื่น ๆ อีกด้วย และในขณะเดียวกันเงินจะเข้า Wallet ของผู้ใช้ทุกครั้งหลังการซื้อขาย ซึ่งจะไม่มีหน่วยงานใดสามารถยึดเงินของคุณได้ อีกทั้งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนเพื่อสร้างบัญชีอีกด้วย
ไม่มีส่วนร่วมของบุคคลที่สาม: ไม่มีหน่วยงานกลางใด ๆ เข้ามาควบคุม หรือสร้างกฎระเบียบให้กับแพลตฟอร์ม DEX ได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากแพลตฟอร์ม Exchange ดั้งเดิมที่จะมีขั้นตอน KYC เป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้ง Liquidity Pool นั้นจะใช้สูตรตามอัตราส่วนโทเคน เพื่อป้องกันการปรับราคา และสร้างราคาที่สมเหตุสมผล แต่ในขณะที่ Uniswap จะใช้งาน Oracle ในการดำเนินการรูปแบบดังกล่าว
Liquidity Provider (LP): ผู้ใช้สามารถสร้างผลกำไรได้จากค่าธรรมเนียมของโทเคน UNI โดยเพียงแค่วางเดิมพัน (Staking) โทเคนไว้ใน Liquidity Pool ของ Uniswap และโครงการต่าง ๆ จะสามารถเข้ามาลงทุนใน Pool เพื่อรองรับการซื้อขายได้ ซึ่งในกรณีนี้จะถือว่าผู้ใช้เป็น LP เนื่องจากให้ได้ทุนแก่ Pool ไว้
Trader: Uniswap ดำเนินการโดยการสร้างตลาดที่โดดเด่นสำหรับการ Swap ผ่าน Liquidity Pool ด้วยการปฏิบัติตามโปรโตคอลที่ตั้งไว้คือ Automated Market Maker (AMM) เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ปลายทางได้ และแพลตฟอร์มจะมีการรับประกันสภาพคล่องด้วยการใช้ “Constant Product Market Maker Model” ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีคุณสมบัติพิเศษต่อสภาพคล่องแบบคงที่ โดยจะไม่คำนึงว่า Pool นั้นจะมีขนาดเล็กหรือคำสั่งซื้อขายมีปริมาณมาก จึงทำให้ระบบสภาพคล่องมีเสถียรภาพแม้ว่าคำสั่งซื้อปริมาณมากอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคา
ค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่ม: Uniswap เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 0.3% ต่อรายการ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าธรรมเนียมของ Exchange ดั้งเดิมแต่ส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 0.1% – 1% ไม่เกินนี้ แต่สำหรับ Uniswap นั้นค่าธรรมเนียมต่อรายการอาจเพิ่มสูงขึ้นตาม Gas Fee ของเครือข่าย Ethereum
ค่าธรรมเนียมการถอน UNI: ค่าธรรมเนียมจะถูกเรียกเก็บตามค่าธรรมเนียมเครือข่าย ณ เวลาที่ทำรายการ โดยปกติแล้วค่าธรรมเนียมการถอนตาม “Global Industry BTC” มักจะเป็น 0.000812 BTC สำหรับการถอนทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามบน Uniswap นั้นคาดว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมเฉลี่ยน 15% – 20% จากจำนวนดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการต่อรองราคาที่ดี และเป็นสาเหตุหลักที่ Uniswap ได้รับความนิยมในด้านค่าธรรมเนียมที่ดี
Uniswap V1, V2 & V3 สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด เช่น การโอนย้ายสภาพคล่อง
หลายคนมักกังวลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยของทุกแพลตฟอร์มอยู่แล้ว แต่หากพูดถึง Uniswap นั้นคุณสามารถไว้วางใจในเรื่องนี้ได้ เนื่องจากโครงสร้างการทำงานของมันเป็นแบบกระจายอำนาจ ที่ซึ่งเซิฟเวอร์จะกระจายไปยังที่ต่าง ๆ ด้วยการกระจายออกไปนี้จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเซิฟเวอร์จะทำงานอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะมีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นและอาจประสบความสำเร็จแค่บางเซิฟเวอร์ แต่เนื่องจากเซิฟเวอร์ทั้งหมดไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง จึงทำให้เซิฟเวอร์ที่เหลือสามารถอ้างอิงถึงกันได้ว่ามีบางเซิฟเวอร์ที่ผิดพลาด และจะกำจัดทิ้งไป โดยเซิฟเวอร์อื่น ๆ ก็จะทำงานได้ต่อไปอย่างไม่มีข้อผิดพลาด
Uniswap ได้ใช้พื้นที่ของการ DeFi อย่างคุ้มค่า เนื่องจากมันมีฟังก์ชันการทำงานที่น่าสนใจและได้เปรียบในหลากหลายทางต่อผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนแนวทางเรื่องสภาพคล่องผ่านโครงสร้างพื้นฐาน AMM นอกจากนี้ในฐานะ DEX นั้น Uniswap ได้อนุญาตให้ผู้ใช้ทำการ Swap โทเคนต่าง ๆ (ERC-20) จากเว็บไซต์แบบ All-in-One ที่มีความเรียบง่าย และเป็นมิตรกับผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยกำจัดปัญหาคอขวดที่บรรดาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ดั้งเดิม (CEX) อีกทั้งยังจูงใจให้ผู้ค้าและนักพัฒนาร่วมกันให้บริการสภาพคล่องไปยัง Pool เพื่อรับค่าธรรมเนียมที่น่าพึงพอใจอีกด้วย
Uniswap ได้สร้างสถาปัตยกรรม DeFi ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งกำลังปรับเปลี่ยนกระบวนการซื้อขายแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง และด้วยเหตุนี้มันจึงประสบผลสำเร็จอย่างมากมาย