DeFi Platform แพลตฟอร์มระบบการเงินกระจายอำนาจ
เข้าถึงระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้โดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม
เข้าถึงระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้โดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม
ย่อมาจาก “Decentralized Finance” หมายถึงระบบการเงินแบบกระจายอำนาจ เป็นบริการทางการเงินที่นำเอาระบบการเงินดั้งเดิม มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี Blockchain ด้วยการกำจัดบุคคลที่สามออกไปจากกระบวนการ ซึ่งระบบการเงินที่ให้บริการจะเหมือนกับธนาคาร ได้แก่ ระบบฝากถอนเงิน, บัญชีออมทรัพย์, สินเชื่อกู้ยืม, โรงรับจำนำ รวมไปถึงประกันภัย เป็นต้น โดยการดำเนินการทางการเงินทั้งหมดนั้นจะถูกดำเนินการผ่าน Smart Contract อัตโนมัติ ที่จะไม่มีคนกลางเข้ามาร่วมตัดสินใจใด ๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการดำเนินการโดยธนาคารอย่างสิ้นเชิ.
นอกจากนี้ยังมีบริการทางการเงินที่เรียก “CeFi” อีกด้วย ซึ่งย่อมาจาก Centralized Finance ที่จะเป็นการดำเนินการผ่านบุคคลที่สาม ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มตลาดแลกเปลี่ยน Binance หรือ Bitkub เองก็ถือว่าเป็นแพลตฟอร์ม CeFi แต่เนื่องด้วยมันเป็น Exchange จึงมักเรียกกันในชื่อ “Centralized Exchange หรือ CEX” มากกว่า ในขณะเดียวกัน Exchange แบบ DeFi ก็จะถูกเรียกว่า “Decentralized Exchange หรือ DEX” ซึ่งการบริการทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้รับ และค่าธรรมเนียมที่คุณจะต้องจ่าย ซึ่งแพลตฟอร์ม DEX จะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า เนื่องจากแพลตฟอร์มดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ต้นทุนประกอบกิจการ และค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า อย่างที่แพลตฟอร์ม CEX ส่วนใหญ่ต้องจ่ายในส่วนนี้
DeFi ดำเนินการทุกอย่างผ่าน Smart Contract ที่จะมีการกำหนด “เงื่อนไข” ไว้ภายในให้คู่สัญญาปฏิบัติตาม โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกเปิดใช้งานในโปรโตคอลที่เรียกว่า “มาตรฐานโทเคน ERC-20” บนเครือข่าย Ethereum แต่ก็มีแพลตฟอร์มบางส่วนที่ดำเนินการผ่านโปรโตคอลของ Binance Smart Chain ที่ชื่อว่า “มาตรฐานโทเคน BEP-20” แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีเพียงแค่ 2 เครือข่ายนี้เท่านั้นที่สามารถเปิดพื้นที่ให้นักพัฒนาเข้ามาใช้งาน เช่น Polygon, Xdai Chain และ Fantom เป็นต้น ในอนาคตอาจมีเครือข่ายอีกมากมายที่นำเสนอความสามารถดังกล่าวเพื่อเป็นคู่แข่งทางตลาดอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
การบริการทางการเงินในรูปแบบดั้งเดิมได้เกิดขึ้นจริงบนโลกดิจิทัลด้วยระบบการเงินแบบ DeFi โดยบริการทางการเงินมีตั้งแต่ การปล่อยกู้, ล็อตเตอรี่คริปโต, Stablecoin, และรวมไปถึง Decentralized Exchange หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยน และเนื่องด้วยมันทำงานแบบอัตโนมัติผ่าน Smart Contract นั้นหมายความว่า แทนที่เราจะเชื่อใจคนกลางแบบระบบดั้งเดิม ก็กลายมาเป็นการเชื่อใจเงื่อนไขที่ระบุไว้ภายใน Smart Contract ที่อยู่ในรูปแบบของภาษาโปรแกรมหรือโค้ดแทน ดังนั้นความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มก็จะขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของโค้ดด้วยเช่นเดียวกัน
CEX หรือ Centralized Exchange
ผู้ใช้จะเสียค่าธรรมเนียมเทรดให้แก่ทาง Exchange จากนั้นทาง Exchange จะทำการแบ่งค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) — เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ขุดคริปโตหรือทำการ Staking คริปโตของตนเองเพื่อให้เป็นสภาพคล่องให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการ — ยกตัวอย่างแพลตฟอร์ม CEX ได้แก่ Bitkub, Binance และ Zipmex เป็นต้น
DEX หรือ Decentralized Exchange
ผู้ที่ใช้งานแพลตฟอร์ม DEX จะเสียค่าธรรมเนียมเทรด หรือค่าธรรมเนียมธุรกรรมใด ๆ ก็ตามด้วยเช่นเดียวกัน แต่ทางแพลตฟอร์มจะไม่มีการแบ่งค่าธรรมเนียม หมายความว่าผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) จะได้รับค่าธรรมเนียมเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยที่ทางแพลตฟอร์มจะทำการส่งค่าธรรมเนียมให้แก่กลุ่มสภาพคล่อง (Liquidity Pool) จากนั้นในกลุ่มก็จะทำการแจกจ่ายค่าธรรมเนียมแก่สมาชิกในกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้จะทำการยกตัวอย่างแพลตฟอร์ม DEX ในหัวข้อถัดไป
“DeFi เป็นระบบการเงินที่กำจัดตัวกลางและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป”
สำหรับการเลือกแพลตฟอร์มที่จะใช้สำหรับการลงทุนใน DeFi นั้นคุณควรพิจารณาจากความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือเป็นหลัก เนื่องจากการได้ผลตอบแทนที่สูงมากก็อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นคุณควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มจากบริษัทที่ทำหน้าที่ Audit Code ของ Smart Contract ที่ทางแพลตฟอร์มดำเนินการอยู่ว่ามีความปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนของคุณได้อย่างมาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะมีแชบางแพลตฟอร์มเขียนโค้ดมาเพื่อขโมยเงินของคุณได้หากไม่ตรวจสอบให้ดี ตัวอย่างเว็บไซต์ Audit Code เช่น Certik Security Leaderboard เป็นต้น
สำหรับระบบการเงินแบบ DeFi มีนิยามว่า “CODE IS LAW”
1. Uniswap
เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นบนโปรโตคอลมาตรฐานโทเคน ERC-20 ในปี 2018 ซึ่งแพลตฟอร์ม Uniswap มีหลักการทำงานโดยพื้นฐานคือจะสามารถแลกเปลี่ยนหรือสลับ (Swap) โทเคนที่สร้างขึ้นบน ERC-20 ด้วยกันได้ โดยจะมีค่าธรรมเนียมต่ำ และมีผลตอบแทนสูงถึง 10% – 36% นอกจากนี้การใช้งาน Uniswap ค่อนข้างง่าย ซึ่งอันดับแรกนั้นคุณจะต้องมี Wallet ที่รองรับ Uniswap ตัวอย่างเช่น MetaMask, WalletConnect หรือ Coinbase เป็นต้น และใน Wallet ของคุณก็จะต้องมี Ether (ETH) ในครอบครองที่ไว้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมหรือเรียกว่า Gas Fee
คุณสมบัติหลักบน Uniswap:
1. สามารถ Swap โทเคนที่สร้างในโปรโตคอลเดียวกันได้ เช่น SUSHI, AAVE และ COMP เป็นต้น
2. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 0.3% ต่อหนึ่งรายการซื้อขาย
3. ทำงานอยู่บน Smart Contract 2 ประเภทคือ Exchange Contract* และ Factory Contract*
4. ใช้ระบบ Automated Market Maker (AMM)
5. Governance Token ชื่อว่า “UNI” มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 1 พันล้านโทเคน
6. นอกจากเครือข่ายของ Ethereum แล้วนั้น ยังมีเครือข่ายอื่นที่ Uniswap สามารถทำงานได้อีกด้วย ได้แก่ Binance Smart Chain, Heco, Xdai Chain และ Polygon
7. ปัจจุบัน Uniswap ได้ทำการอัปเกรดเป็น Uniswap V2.และ V3. โดยทำการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ AMM และได้ทำการยกระดับ 3 ฟังก์ชัน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Uniswap.org
Exchange Contract* คือระบบที่ช่วยในการซื้อขายแลกเปลี่ยนโทเคน
Factory Contract* คือระบบที่ใช้ในกรณีที่มีโทเคนใหม่เข้ามาเพิ่มในแพลตฟอร์ม
2. PancakeSwap
แพลตฟอร์มที่ดำเนินการโดย Smart Contract ที่สร้างบนเครือข่าย Binance ที่มีชื่อว่า “Binance Smart Chain (BSC)” โดยการ Swap โทเคนนั้นก็จะต้องเป็นโทเคนที่สร้างอยู่บนเครือข่ายเดียวกัน หรือโปรโตคอล BEP-20 นอกจากนี้ PancakeSwap ใช้หลักการทำงานในรูปแบบ Automated Market Maker (AMM) เป็นหลักด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมโดยตรงกับทาง Liquidity Pool
คุณสมบัติหลักบน PancakeSwap:
1. อยู่บนเครือข่าย Binance Smart Chain (BSC) ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของ Gas Fee ที่อยู่ในอัตราต่ำ
2. สามารถรับ Governance Token ของแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า “CAKE” ได้จากการใช้งานผลิตภัณฑ์ Farming ของทางแพลตฟอร์ม
3. มี Wallet มากมายให้เลือกใช้ร่วมกัน เช่น MetaMask, Trust Wallet, WalletConnect และ Binance Chain Wallet เป็นต้น
4. นอกจากผลิตภัณฑ์ Farming ที่พูดถึงไปแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกได้แก่ Staking, Lottery, Teams & Profiles, IFO และ NFT
5. ค่าธรรมเนียมการซื้อขายอยู่ที่ 0.2% และผลตอบแทน Liquidity Provider อยู่ที่ 0.17%
6. Audit Code: CertiK และ SlowMist
7. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ pancakeswap
3. SushiSwap
เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม DeFi ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายของ Ethereum Blockchain ที่พัฒนาบนโปรโตคอล ERC-20 ซึ่งแพลตฟอร์ม SushiSwap นั้นถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีวิวัฒนาการมาจาก Uniswap โดยผู้สร้างได้ทำการเพิ่มคุณสมบัติบางประการให้แก่ผู้ที่ต้องการเข้ามาใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามระบบการทำงานจะอยู่ในรูปแบบ AMM เช่นเดิม
คุณสมบัติหลักบน SushiSwap:
1. Governance Token มีชื่อว่า “SUSHI” มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 250 ล้านโทเคน
2. เพิ่มแรงจูงใจให้แก่ Liquidity Provider ที่จะสามารถรับค่าธรรมเนียมเพิ่มจากปกติได้ หากการซื้อขายนั้นเป็นโทเคน SUSHI
3. เพิ่มการกระจายตัวของโทเคนให้สำหรับผู้ที่มีโทเคน UNI ก็จะสามารถรับรางวัลเป็นโทเคน SUSHI ได้เช่นเดียวกัน
4. เพิ่มการกระจายตัวของรางวัล โดยผลตอบแทนที่ Liquidity Provider จะได้รับคือ 0.25% ส่วนอีก 0.05% นั้นจะถูกแปลงเป็นโทเคน SUSHI แล้วทำการแจกจ่าย
5. SushiSwap สามารถทำงานอยู่บนหลายเครือข่าย ได้แก่ Ethereum, Binance Smart Chain, Solana, Xdai Chain, Fantom, Polygon และ Avalanche Contract Chain
6. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ SushiSwap
4. Compound
Compound เป็นอีกหนึ่งในแพลตฟอร์มบนโปรโตคอล ERC-20 โดยแพลตฟอร์มนี้เปิดให้ทุกคนสามารถเช่าและยืมโทเคนผ่าน Centralized Exchange ได้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยจะเน้นไปที่การให้บริการกู้ยืม และผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยที่ค่อนข้างน่าพึงพอใจ
คุณสมบัติหลักของ Compound:
1. สามารถรับดอกเบี้ยทบต้นใน Liquidity Pool ของ Compound ได้
2. Compound จัดสรรให้มีการกู้ยืมสูงถึง 75% ของหลักประกันที่วางไว้
3. มี Governance Token 2 ประเภทได้แก่ cToken และ COMP โดยทั้ง 2 โทเคนมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานที่ต่างกัน
4. โดย cToken สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันเพื่อรับดอกเบี้ยเท่านั้น และโทเคน COMP จะสามารถนำไปเก็งกำไรในตลาดคริปโตได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นคะแนนโหวตสำหรับการยื่นข้อเสนอใด ๆ ก็ตามภายในแพลตฟอร์มของ Compound
5. ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับผู้กู้จะระบุ
6. เครือข่ายที่สามารถทำงานได้ ได้แก่ Ethereum, Binance Smart Chain และ Xdai Chain
7. อุปทานสูงสุดของโทเคน COMP อยู่ที่ 10 ล้านโทเคน
8. Audit Code: Quantstamp
9. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ compound
5. Synthetix
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มในรูปแบบ DEX ที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตได้ โดยแพลตฟอร์มนี้มีสิ่งที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นคือ คุณสามารถสร้างสินทรัพย์อ้างอิงหรือที่เรียกว่าตราสารอนุพันธ์ (Contract for Difference: CFD) ได้อีกด้วย ผ่านการใช้งานฟังก์ชันที่เรียกว่า “Oracle Feeds”
คุณสมบัติหลักบน Synthetix:
1. Liquidity ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด: การซื้อขายบนแพลตฟอร์มนี้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องของข้อจำกัดสภาพคล่อง เพราะสามารถทำการซื้อขายได้มากเท่าที่คุณต้องการ
2. ใช้คริปโตเป็นหลักประกันในการซื้อขายเท่านั้น
3. ซื้อขายตามสัญญา: เนื่องจากมีสินทรัพย์ประเภทที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงหรือตราสารอนุพันธ์ ดังนั้นจึงต้องซื้อขายผ่านสัญญา CFD เท่านั้น
4. ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ ลงบนแพลตฟอร์มนี้ ดังนั้นจะช่วยร่นระยะเวลาที่จะต้องรอคอยการอนุมัติการเป็นสมาชิก แต่คุณก็สามารถซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างอิสระโดยมีเพียงคริปโตเท่านั้นที่ใช้เป็นหลักประกัน
5. Governance Token ของเครือข่ายใช้ชื่อว่า “SNX” มีอุปทานทั้งหมดอยู่ที่ 215 ล้านโทเคน
6. เครือข่ายที่สามารถทำงานได้ ได้แก่ Ethereum, Binance Smart Chain, Heco, Fantom และ Polygon
7. Audit Code: SlowMist
8. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ synthetix
6. Alpha Finance Lab
Alpha Finance Lab หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ทำงานอยู่บนโปรโตคอล ERC-20 ของ Ethereum Blockchain โดยเน้นไปที่การกู้ยืมเป็นหลัก ที่ผลตอบแทนของผู้ให้กู้จะได้รับเป็นโทเคน ERC-20 และ BEP20 ได้อีกด้วย โดยความน่าสนใจของมันคือ เป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานแบบ Cross-Chain หมายถึงสามาถทำงานร่วมกันได้กับทั้ง 2 เครือข่าย นอกจากนี้แล้วแพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างขึ้นโดยคนไทยอีกด้วย
คุณสมบัติหลักบน Alpha Finance Lab:
1. มีแพลตฟอร์มแยกสำหรับการ Yield Farming โดยเฉพาะ ชื่อว่า “Alpha Homora”
2. มีแพลตฟอร์มกู้ยืมจาก Binance Smart Contract ที่ใช้ชื่อว่า “Alpha Homora V2”
3. Loan-to-Value (LTV) หรืออัตราเงินกู้ต่อมูลค่าสูงถึง 75%
4. Governance Token มีชื่อว่า “ALPHA” ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการเก็งกำไรในตลาด และยังใช้เป็นคะแนนโหวตสำหรับข้อเสนอภายในแพลตฟอร์ม หรือที่เรียกว่า “Decentralized Autonomous Organization (DAO)” ได้อีกด้วย
5. ALPHA มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 1 พันล้านโทเคน
6. สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
7. AAVE
AAVE เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มบนโปรโตคอล ERC-20 ของ Ethreum Blockchain โดยให้บริการกู้ยืมเป็นหลัก แต่ความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นคือ AAVE เป็นแพลตฟอร์มกู้ยืมที่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะวางหลักประกันหรือไม่ นอกจากนี้การจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น 1 ต่อ 1 หมายความว่าจะสามารถปล่อยกู้เป็นกลุ่มได้ แน่นอนว่าผลตอบแทนก็จะมาได้รูปแบบของดอกเบี้ยเช่นดียวกัน
คุณสมบัติหลักของ AAVE:
1. ฟังก์ชัน Flash Loan เป็นการกู้ยืมที่ไม่ต้องวางหลักประกัน โดยหลักการคือจะเปิดกู้ภายใน Pool ของ AAVE เท่านั้น และเงื่อนไขคือจะต้องชำระเงินกู้ก่อนที่ Liquidity Pool จะสิ้นสุดลง และจะมีค่าธรรมอยู่ที่ 0.09% ต่อหนึ่งรายการกู้
2. มีการอัปเกรดเป็น AAVE V2 โดยทำการเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันต่าง ๆ
3. Governance Token ใช้ชื่อเดียวกันคือ “AAVE” มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 16 ล้านโทเคน
4. ผลตอบแทนสำหรับผู้ให้กู้ในรูปแบบ Stablecoin จะอยู่ระหว่าง 4.78% ถึง 13.79% ส่วนการใช้ Bitcoin (BTC) ผลตอบแทนจะอยู่ที่ 4.59% และ Ethereum (ETH) จะอยู่ที่ 2.11% ตามสัดส่วนของสินทรัพย์นั้น ๆ
5. เครือข่ายที่สามารถทำงานได้ ได้แก่ Ethereum, Binance Smart Chain, Heco, Xdai Chain, Fantom, Polygon และ Avalanche Contract Chain
6. Audit Code: CertiK
7. สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ aave
8. Curve
แพลตฟอร์มที่ทำงานอยู่บนโปรโตคอล ERC-20 ของ Ethereum Blockchain โดยให้บริการซื้อขายคริปโตประเภท Stablecoin เป็นหลัก แต่ก็มีคริปโตสกุลอื่น ๆ บ้างเล็กน้อย โดยแพลตฟอร์มนี้จะมีจุดเด่นเรื่องของความคลาดเคลื่อนของราคา (Slippage) ที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับตลาดซื้อขายอื่น ๆ รวมไปถึงการนำเสนอค่าธรรมเนียมที่อยู่ในอัตราต่ำอีกด้วย
คุณสมบัติหลักของ Curve:
1. ปัจจุบันมี Curve Pool หรือกลุ่มที่รองรับการซื้อขายอยู่ 7 กลุ่มด้วยกันได้แก่ Compound, PAX, BUSD, Y, REN, sUSD และ sBTC ซึ่งรองรับการซื้อขาย Stablecoin เป็นหลัก
2. ใน 7 Pool นั้นก็จะสร้างโทเคนของตัวเองขึ้นมาเพื่อรับผลตอบแทนที่ต่างกัน และเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมลงทุน
3. สามารถทำการ Swap โทเคน หรือคริปโตใด ๆ ก็ได้บนแพลตฟอร์ม
4. Governance Token ใช้ชื่อว่า “CRV” มีอุปทานสูงสุดอยู่ที่ 3.3 พันล้านโทเคน
5. Curve ใช้อัลกอริธึมที่แตกต่างจาก Uniswap โดยจะเน้นไปในเรื่องของความคลาดเคลื่อนของราคาที่ต่ำมาก ๆ ในขณะที่แพลตฟอร์มอื่นจะเน้นไปในเรื่องของการ Liquidity สูงสุด
6. เครือข่ายที่สามารถทำงานได้ ได้แก่ Ethereum, Xdai Chain และ Fantom
7. สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ curve
9. MakerDAO
เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นและทำงานอยู่บนเครือข่าย Ethereum Blockchain ในรูปแบบของ DAO (Decentralized Autonomous Organisation) ซึ่งจุดประสงค์หลักคือต้องการสร้าง Decentralized Stablecoin ที่มีความแตกต่างจาก Stablecoin ทั่วไปคือ จะมี ETH เป็น Backup Asset ในขณะที่ Stablecoin ทั่วไปจะมีเงิน USD เป็น Backup Asset โดยหน้าที่หลักของแพลตฟอร์มคือการปล่อยสินเชื่อกู้ยืม และมีอัตรา LTV ที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย
คุณสมบัติหลักของ Maker:
1. Governance Token 2 ประเภทที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน ได้แก่ “MKR” จะใช้เป็นคะแนนโหวต และใช้เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการสร้างโทเคนอีกประเภทคือ “DAI” เป็นคริปโตประเภท Stablecoin ที่ผูกตรึงด้วยมูลค่าของสกุลเงิน USD ที่ผู้ใช้จะสามารถได้รับผ่านการนำ ETH ไปวางไว้เป็นหลักประกัน
2. MKR มีนโยบายการเผาเหรียญ เพื่อที่จะลดภาวะเงินเฟ้อในอนาคต
3. ฟังก์ชัน Unique Smart Contract ที่อยู่ในกระบวนการผลิตโทเคน DAI ที่จะใช้ Smart Contract ที่เรียกว่า Collateralized Debt Positions (CDPs) ในการสร้างและมีอีกหน้าที่คือเป็นสัญญาระหว่าง DAI กับทาง Vault (ห้องนิรภัยที่ผู้ใช้สามารถฝากหลักประกันและสร้าง DAI)
4. รูปแบบของการชำระหนี้ จะชำระคืนพร้อมกับค่าธรรมเนียมโดยไม่ต้องแบ่งจ่าย
5. ฟังก์ชัน Liquidation จะช่วยควบคุมมูลค่าของ DAI ให้สมดุลกับอุปสงค์และอุปทานใน Vault
6. เครือข่ายี่สามารถทำงานได้ ได้แก่ Ethereum และ Binance Smart Chain
7. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ makerdao