Connect with us

Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

นิยามใหม่ของการจัดเก็บข้อมูล

Blockchain คืออะไร?

 

Blockchain ที่ดูเหมือนจะซับซ้อนในความคิดของใครหลาย ๆ คน แต่ในความเป็นจริงแล้วแนวคิดหลักของมันค่อนข้างง่ายมากโดยมาจากความรู้พื้นฐานในเรื่อง “ฐานข้อมูล” หรือ Database โดย Blockchain ถือเป็นฐานข้อมูลประเภทหนึ่ง ซึ่งอันดับแรกเราควรทำความเข้าใจเรื่องฐานข้อมูลก่อน

  • ฐานข้อมูล (Database) คือ ชุดของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลในฐานข้อมูลส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของตารางหรือใช้สเปรดชีต (Spreadsheets) เพื่อให้สามารถทำการค้นหาและกรองข้อมูลเฉพาะตัวได้ง่ายขึ้น
  • สเปรดชีต (Spreadsheets) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเล็ก ๆ เพื่อจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลที่มีจำนวนจำกัด จึงถือว่าสเปรดชีตเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลทั่วไป และในส่วนของ Blockchain นั้นเป็นฐานข้อมูลได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งผู้ใช้จำนวนเท่าใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึง, กรอง และจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในคราวเดียว

โดยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ จะทำได้โดยอาศัยเซิฟเวอร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง ซึ่งในบางครั้งการสร้างเซิฟเวอร์เหล่านี้จำเป็นจะต้องใช้คอมพิวเตอร์หลายร้อยหรือหลายพันเครื่องด้วยกัน เพื่อให้มีกำลังในการประมวลผลและความจุในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากในการเข้าถึงฐานข้อมูลพร้อมกัน และถึงแม้จะบอกว่าสามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนเท่าใดก็ได้ ที่ต้องการเข้าถึงฐานข้อมูลเดียวกัน แต่ในเชิงธุรกิจก็มักจะมีข้อจำกัดที่ต้องผ่านการควบคุมของเจ้าของเซิฟเวอร์หรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าจะมีศูนย์กลางอำนาจเข้ามาควบคุมวิธีการทำงานและข้อมูลภายในอย่างสมบูรณ์

จุดเด่น

    • Blockchain เป็นฐานข้อมูลรูปแบบเฉพาะ
    • Blockchain เก็บข้อมูลในรูปแบบที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดด้วยบล็อก
    • Blockchain สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลายประเภท แต่ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ ข้อมูลการทำธุรกรรมในรูปแบบของ “บัญชีแยกประเภทสาธารณะ”
    • การใช้ Blockchain ในลักษณะการกระจายศูนย์อำนาจ เพื่อไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีอำนาจควบคุมได้
    • ข้อมูลบน Blockchain นั้นจะไม่สามารถลบ, แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงได้

Blockchain แตกต่างจากฐานข้อมูลทั่วไปอย่างไร?

โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล

ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งระหว่างฐานข้อมูลทั่วไปและ Blockchain คือวิธีจัดการโครงสร้างข้อมูล โดย Blockchain จะทำการรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มหรือที่เรียกกันว่า บล็อก ที่ซึ่งจะมีชุดข้อมูลอยู่ภายใน และมีความจุในการจัดเก็บที่แน่นอน ซึ่งเมื่อบรรจุข้อมูลเต็มแล้วก็จะถูกโยงเข้ากับบล็อกเดิมก่อนหน้า ก่อตัวกันเป็นสายโซ่ของข้อมูล จึงเป็นที่มาของคำว่า “Blockchain” โดยข้อมูลใหม่ที่ตามหลังมาจะถูกเพิ่มไปยังบล็อกใหม่จนเต็มจากนั้นจะถูกเพิ่มไปยัง Chain หรือสายโซ่

ฐานข้อมูลทั่วไปจะจัดโครงสร้างของข้อมูลเป็นรูปแบบของตารางหรือสเปรดชีต ในขณะที่ Blockchain จะจัดโครงสร้างของข้อมูลตามชื่อของมันที่แปลตรงตัวว่า “กล่องสายโซ่” สิ่งนี้จึงทำให้ Blockchain ทั้งหมดเป็นฐานข้อมูล แต่ไม่ใช่ทุกฐานข้อมูลที่เป็น Blockchain โดยระบบนี้ยังสร้างไทม์ไลน์ของข้อมูลที่ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้เมื่อนำมาใช้งานในลักษณะการกระจายศูนย์อำนาจ (Decentralization) และเมื่อบล็อกใดเติมเต็มแล้วก็จะถูกตั้งค่าเป็นหินทันทีและจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของไทม์ไลน์ เมื่อบล็อกถูกเพิ่มเข้าไปในสายโซ่แต่ละบล็อกก็จะได้รับการประทับเวลาที่แน่นอน

ขั้นตอนการทำธุรกรรม

Blockchain Explained: What is it? | ข่าวโดย Tadooคุณสมบติของคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency)

Blockchain Explained: What is it? | ข่าวโดย Tadoo

“คุณสมบัติของ Blockchain จะช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลของคุณมีความโปร่งใสและปลอดภัย”

การกระจายศูนย์อำนาจ

เพื่อจุดประสงค์ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Blockchain แนะนำให้ดูในบริบทของ Bitcoin ว่าถูกนำไปใช้อย่างไร ซึ่งสำหรับ Bitcoin แล้วนั้น Blockchain เป็นเพียงฐานข้อมูลประเภทหนึ่งที่ใช้จัดเก็บรายการธุรกรรมทั้งหมด และในกรณีของ Bitcoin จะแตกต่างกับฐานข้อมูลทั่วไปตรงที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะไม่ได้อยู่ภายในสถานที่เดียวกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรือกลุ่มคอมพิวเตอร์นั้นจะดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ซ้ำกันและกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก

โดยคุณลองนึกภาพว่ามีบริษัทเป็นเจ้าของเซิฟเวอร์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ 10,000 เครื่อง ซึ่งมีฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลบัญชีของลูกค้าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าบริษัทนี้มีคลังที่สามารถบรรจุเหล่าคอมพิวเตอร์ทั้ง 10,000 เครื่องไว้ภายใต้สถานที่เดียวกัน และสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องรวมไปถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในทำนองเดียวกัน Bitcoin ก็ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่อง เพียงแต่คอมพิวเตอร์เหล่านี้ที่มีเครือข่าย Blockchain จะอยู่ในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าอยู่กันคนละภูมิภาค และคอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี้จะดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แยกจากกัน ซึ่งเหล่าคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายของ Bitcoin จะถูกเรียกว่า “โหนด (Node)”

ซึ่งในกรณีนี้ Blockchain ของ Bitcoin ถูกใช้ในรูปแบบของการกระจายศูนย์อำนาจ อย่างไรก็ตามก็ยังมี Blockchain แบบส่วนตัวหรือที่เรียกว่า Centralized/Private Blockchain ที่จะมีคอมพิวเตอร์เพียงโหนดเดียว หรือหลายโหนดแต่ใช้ซอฟต์แวร์เดียวกันที่เป็นเจ้าของและดำเนินการแบบนิติบุคคล บริษัท หรือองค์กร

ในเครือข่าย Blockchain แต่ละโหนดจะมีบันทึกของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โดยสำหรับข้อมูลของ Bitcoin ก็จะเป็นประวัติรายการธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งหากโหนดใดโหนดหนึ่งมีข้อมูลผิดพลาด ก็สามารถใช้โหนดอื่นอีกนับหมื่นนับพันโหนดเป็นจุดอ้างอิงเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้ โดยวิธีดังกล่าวนี้จึงทำให้ไม่มีโหนดใดในเครือข่ายทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ภายในได้ และด้วยเหตุนี้ไม่ว่าประวัติการทำธุรกรรมใด ๆ ของ Bitcoin ที่บันทึกลงบน Blockchain แล้วก็จะไม่สามารถทำการย้อนกลับไปแก้ไข หรือคืนค่าใด ๆ ได้อีกด้วย

หากมีผู้ใช้รายใดยุ่งเกี่ยวกับบันทึกการทำธุรกรรมของ Bitcoin นั้นโหนดอื่น ๆ ทั้งหมดจะอ้างอิงถึงกันและกัน และสามารถระบุโหนดที่ข้อมูลไม่ถูกต้องได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยในการสร้างลำดับเวลาและเหตุการณ์ที่ชัดเจนโปร่งใส โดยในความจริงแล้วสำหรับการใช้งาน Blockchain ไม่เพียงแต่จัดเก็บแค่ข้อมูลการทำธุรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถเก็บข้อมูลอื่น ๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น สัญญาทางกฎหมาย ข้อมูลบัตรประจำตัวที่ออกโดยรัฐ หรือข้อมูลสินค้าคงคลังในบริษัท เป็นต้น

หากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานหรือการจัดเก็บข้อมูลใน Blockchain นั้น โหนดต่าง ๆ บนเครือข่ายกระจายศูนย์อำนาจส่วนใหญ่ของจำนวนโหนดทั้งหมดจะต้องเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งสิ่งนี้จึงทำให้มั่นใจได้ว่าทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนหมู่มาก หรือที่เรียกว่า “กลไกฉันทามติ”

การจัดเก็บบัญชีแยกประเภทสาธารณะ เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเทคโนโลยี Blockchain

ความโปร่งใส

เนื่องจากลักษณะการทำงานแบบการกระจายศูนย์อำนาจ Blockchain ของการทำธุรกรรมผ่าน Bitcoin ทั้งหมดจะสามารถดูได้อย่างโปร่งใส โดยมีโหนดส่วนบุคคลหรือการใช้นักสำรวจ Blockchain ที่จะอนุญาตให้ทุกคนเห็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งแต่ละโหนดจะมีสำเนาของตนเองที่ได้รับการอัปเดตเมื่อบล็อกใหม่ได้รับการยืนยันหรือมีการเพิ่มบล็อก หมายความว่าคุณสามารถติดตามธุรกรรม Bitcoin ได้ทุกที่
ตัวอย่างเช่น การแลกเปลี่ยน Bitcoin ที่เคยถูกแฮ็กในอดีตนั้น ถึงแม้จะไม่สามารถระบุชื่อของแฮ็กเกอร์ได้แต่ Bitcoin ที่ถูกขโมยไปจะสามารถตรวจสอบได้ว่าถูกย้ายหรือใช้จ่ายไปที่ใดบ้าง

Blockchain ปลอดภัยหรือไม่?

ในเรื่องของความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ Blockchain ได้ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ประการแรก Blockchain จะถูกจัดเก็บเป็นเส้นตรงตามลำดับเวลา นั่นคือบล็อกใหม่จะถูกเพิ่มเข้าไปในทุก ๆ จุดสิ้นสุดของบล็อกก่อนหน้าเสมอ หากคุณพิจารณาจาก Blockchain ของ Bitcoin จะเห็นได้ว่าแต่ละบล็อกมีตำแหน่งที่เรียกว่า “ความสูง (Height)” ซึ่งความสูงของบล็อกปัจจุบัน (ณ วันที่ 30 มิถุนายน ปี 2021) จะอยู่ที่ 689,183 บล็อก (สามารถตรวจสอบความสูงของบล็อกล่าสุดได้ ที่นี่)

โดยหลังจากเพิ่มบล็อกไปที่ส่วนท้ายของ Blockchain แล้วนั้น เป็นการยากมากที่จะย้อนกลับหรือแก้ไขเนื้อหาของบล็อก เว้นแต่ว่าคนส่วนใหญ่มีมติให้ทำเช่นนั้น เนื่องจากแต่ละบล็อกมีแฮชเป็นของตนเอง รวมไปถึงแฮชก่อนหน้าเช่นเดียวกับการประทับเวลาที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งรหัสแฮชถูกสร้างขึ้นโดยฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลเป็นชุดตัวเลขและตัวอักษร หากข้อมูลนั้นได้รับการแก้ไขในทางใดทางหนึ่ง รหัสแฮชก็จะเปลี่ยนไปและมีความผิดพลาดทันที

และสิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัย สมมติว่าแฮ็กเกอร์ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบน Blockchain และขโมย Bitcoin จากคนอื่น ๆ โดยพวกเขาต้องทำการแก้ไขสำเนาของตนเองซึ่งนั่นจะทำให้สำเนานั้นไม่สอดคล้องกับสำเนาของคนอื่นอีกต่อไป และเมื่อคนอื่น ๆ ทำการเชื่อมโยงสำเนาของตนเองเข้ากับสำเนาอื่น พวกเขาจะเห็นว่ามีสำเนาที่แตกต่างออกไป และ Blockchain เวอร์ชันของแฮ็กเกอร์ที่ถูกเปลี่ยนโดยมิชอบจะถูกกำจัดทันที ซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จในการแฮ็กได้นั้นจะต้องให้แฮ็กเกอร์ควบคุมและแก้ไขสำเนาจำนวน 51% ของสำเนาทั้งหมดในเวลาเดียวกันเท่านั้น เพื่อให้สำเนาใหม่ของพวกเขากลายเป็นจำนวนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการโจมตีดังกล่าวอาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่หากในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาจะต้องใช้เงินและทรัพยากรจำนวนมหาศาล เนื่องจากต้องทำซ้ำบล็อกใหม่ทั้งหมด ทั้งเรื่องของการประทับเวลาและรหัสแฮชที่แตกต่างกัน

เนื่องจากขนาดของเครือข่าย Blockchain ของ Bitcoin มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่จะต้องใช้เงินทุนและทรัพยากรมหาศาลเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มว่าการโจมตีจะไร้ผลอีกด้วย เพราะสมาชิกในเครือข่ายจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงใน Blockchain และเหล่าสมาชิกจะทำการแยก Blockchain ออกเป็นเวอร์ชันใหม่ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการโจมตี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ Bitcoin เวอร์ชันที่ถูกโจมตีจะมีมูลค่าลดลง และจะไม่มีความหมายในท้ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม Bitcoin ตัวใหม่เคยถูกสร้างขึ้นโดยวิธีนี้มาแล้ว แต่เหตุผลจะเป็นเรื่องของการได้รับแรงจูงใจในทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า

Bitcoin กับ Blockchain

เป้าหมายของ Blockchain คือการอนุญาตให้บันทึกและแจกจ่ายข้อมูลดิจิทัลแต่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยเทคโนโลยี Blockchain ได้ถูกร่างขึ้นครั้งแรกในปี 1991 โดย Stuart Haber และ W. Scott Stornetta นักวิจัยสองคนที่ต้องการใช้ระบบที่ไม่สามารถแก้ไขการประทับเวลาของเอกสารได้ แต่เกือบสองทศวรรษต่อมา ด้วยการเปิดตัว Bitcoin ในเดือนมกราคม ปี 2009 นั้นทำให้ Blockchain มีการใช้งานในโลกแห่งความเป็นจริงครั้งแรก

โปรโตคอล Bitcoin สร้างขึ้นบน Blockchain ในรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลหรือที่เรียกกันว่าคริปโตเคอเรนซี ซึ่ง Satoshi Nakamoto นามแฝงของผู้สร้าง Bitcoin เรียกมันว่า “ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ Peer-to-Peer ที่ไม่มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง”

สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ Bitcoin ใช้ Blockchain เป็นเครื่องมือในการบันทึกบัญชีแยกประเภทที่เป็นการชำระเงินอย่างโปร่งใส แต่ในทางทฤษฎีแล้ว Blockchain สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนเท่าใดก็ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนรูป ซึ่งตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอาจอยู่ในรูปแบบของการทำธุรกรรม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ข้อมูลสินค้าคงคลังของบริษัท บัตรประจำตัวที่ออกโดยรัฐ โฉนดที่ดิน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันนี้มีโครงการที่ใช้ Blockchain ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยเหลือสังคมที่นอกเหนือไปจากการทำธุรกรรม ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งของการใช้ Blockchain คือการนำไปใช้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยธรรมชาติของความไม่เปลี่ยนรูปของข้อมูลใน Blockchain นั้นหมายความว่าการลงคะแนนที่ฉ้อฉลจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาก ตัวอย่างเช่น ระบบการลงคะแนนเสียงจะสามารถทำงานได้เมื่อให้พลเมืองในแต่ละประเทศได้รับคริปโตหรือโทเคนเฉพาะการใช้งาน และผู้สมัครแต่ละคนจะทำการบอกแอดเดรสของ Wallet ตนเองให้ผู้ลงคะแนนทราบ จากนั้นผู้ลงคะแนนจะส่งโทเคนหรือคริปโตของตนไปยังแอดเดรสของผู้สมัครที่ตนเองต้องการลงคะแนน ด้วยลักษณะที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ของ Blockchain จะขจัดความจำเป็นในการนับคะแนนเสียงด้วยมนุษย์ รวมทั้งเรื่องการแก้ไขบัตรลงคะแนนทางกายภาพของผู้ไม่หวังดีอีกด้วย

Blockchain กับธนาคาร

คุณสมบัติ

ธนาคาร

Bitcoin

เวลาเปิดทำการ ธนาคารทั่วไปจะเปิดให้บริการในวันธรรมดา ตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 17.00 น. แต่อาจมีธนาคารบางแห่งที่เปิดทำการในวันหยุดสุดสัปดาห์แต่มีเวลาจำกัด และธนาคารทั้งหมดจะปิดทำการในทุก ๆ วันหยุดธนาคารประจำปี ไม่มีการกำหนดเวลา; เปิด 24/7 ตลอดปี
ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ชำระด้วยบัตร: ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของบัตร และผู้ใช้งานจะไม่ได้จ่ายให้กับทางธนาคารโดยตรง แต่จะจ่ายให้กับผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่ไปใช้บริการและเรียกเก็บหนึ่งครั้งต่อหนึ่งบริการ จึงอาจทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการสูงขึ้น

เช็ค: อาจมีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง $1 ถึง $30 โดยขึ้นอยู่กับธนาคารของคุณ

การหักบัญชีอัตโนมัติ: อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง $30 เมื่อต้องส่งไปยังบัญชีภายนอก

การโอนเงินผ่านธนาคาร: การโอนระหว่างประเทศอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง $45 และการโอนภายในประเทศอาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ $25

Bitcoin มีค่าธรรมเนียมแปรผันไปตามข้อกำหนดของผู้ขุดและผู้ใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายสามารถอยู่ในช่วงระหว่าง $0 ถึง $50 แต่ในกรณีนี้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าธรรมเนียมได้เอง แต่หากกำหนดต่ำเกินไปอาจทำให้ธุรกรรมไม่ได้รับการประมวลผล
ความรวดเร็วในการทำธุรกรรม ชำระด้วยบัตร: 24 – 48 ชั่วโมง

เช็ค: 24 – 72 ชั่วโมง

การหักบัญชีอัตโนมัติ: ภายใน 24 ชั่วโมงยกเว้นโอนเงินระหว่างประเทศ

*โดยทั่วไปการโอนเงินผ่านธนาคารจะไม่ดำเนินการในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดธนาคารประจำปี

อาจใช้เวลาเพียง 15 นาที และมากสุด 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความแออัดบนเครือข่าย
KYC ในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ของธนาคารต้องใช้ขั้นตอน KYC ตามบัญญัติกฎหมายในการบันทึกข้อมูลประจำตัวของลูกค้าก่อนเปิดบัญชี ทุก ๆ คนหรืออะไรก็ตามที่ต้องการใช้ Bitcoin ในการทำธุรกรรม สามารถเข้าร่วมเครือข่ายได้โดยไม่ต้องระบุตัวตน ซึ่งตามทฤษฎีแล้วแม้แต่ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้
ความสะดวกในการทำธุรกรรม ข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับการโอนเงินผ่านระบบดิจิทัล จะต้องใช้บัตรประจำตัวที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ บัญชีธนาคาร และโทรศัพท์มือถือ ข้อกำหนดขั้นต่ำมีเพียงแค่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
ความเป็นส่วนตัว ข้อมูลบัญชีธนาคารจะถูกเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ส่วนตัวของธนาคารและในมือลูกค้าเอง โดยความเป็นส่วนตัวจะถูกจำกัดโดยความปลอดภัยของเซิฟเวอร์ของธนาคารและผู้ใช้แต่ละรายว่าสามารถรักษาข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ดีเพียงใด หากเซิฟเวอร์ของธนาคารถูกบุกรุก บัญชีของลูกค้าก็จะถูกโจมตีเช่นกัน Bitcoin มีความเป็นส่วนตัวได้มากเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ ธุรกรรมทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของธุรกรรมหากถูกซื้อโดยไม่ระบุชื่อ แต่ในขณะเดียวกันหากซื้อ Bitcoin จาก Exchange ที่มีการ KYC ธุรกรรมนั้นจะถูกเชื่อมโยงโดยตรงกับเจ้าของบัญชีใน Exchange ที่ทำการ KYC แล้ว
ระบบความปลอดภัย สมมติว่าลูกค้าใช้มาตรการความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง เช่น การใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัยและการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองระดับ (Two-Factor Authentication) ข้อมูลบัญชีธนาคารก็จะมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับเซิฟเวอร์ของธนาคารที่จัดเก็บข้อมูลของลูกค้า ยิ่งเครือข่าย Bitcoin ใหญ่ขึ้นเท่าใด ความปลอดภัยก็จะมากขึ้นเท่านั้น และระดับความปลอดภัยก็จะขึ้นอยู่กับผู้ที่ถือ Bitcoin ด้วย เหตุนี้จึงขอแนะนำให้ใช้ Cold Wallet สำหรับการเก็บ Bitcoin ในปริมาณมาก หรือปริมาณเท่าใดก็ตามที่ต้องการเก็บไว้เป็นช่วงเวลานาน
การอนุมัติธุรกรรม โดยทั่วไปทางธนาคารจะขอสงวนสิทธ์ในการปฏิเสธการทำธุรกรรมด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ขอสงวนสิทธิ์ในการระงับบัญชีหากใบแจ้งหนี้มีรายการที่ผิดปกติ หรือได้รับมาอย่างไม่ถูกต้อง เครือข่าย Bitcoin ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ ขึ้นมา ดังนั้นผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมผ่าน Bitcoin ได้ตามสมควร แต่ก็ควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย
การอายัดบัญชี เนื่องด้วยกฎหมาย KYC ทำให้รัฐบาลสามารถติดตามความเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารของลูกค้า และยังสามารถยึดสินทรัพย์ภายในบัญชีได้อย่างง่ายดายด้วยเหตุผลหลายประการ หากใช้ Bitcoin โดยไม่เปิดเผยตัวตน รัฐบาลก็จะไม่สามารถติดตามบัญชีหรือทำการยึดทรัพย์ได้

Blockchain ทำงานอย่างไร?

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าในแต่ละบล็อกบน Blockchain ของ Bitcoin จะจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain นั้นสามารถใช้จัดเก็บข้อมูลธุรกรรมประเภทอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน

โดยมีบริษัทที่ร่วมเข้าใช้งาน Blockchain ได้แก่ Walmart, Pfizer, AIG, Siemens, Unilever และบริษัทอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น IBM ที่ได้สร้างความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมอาหารผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “Food Trust Blockchain” เพื่อใช้ในการติดตามเส้นทางการขนส่งอาหารไปยังสถานที่ต่าง ๆ

เหตุผลว่าทำไมถึงทำเช่นนี้ เป็นเพราะอุตสาหกรรมอาหารเคยประสบกับวิกฤตที่มีการระบาดของเชื้อโรค เช่น e Coli, salmonella, listeria และรวมไปถึงสารอันตรายหรือวัสดุอันตรายอีกนับไม่ถ้วนที่นำเข้าสู่อาหารโดยไม่ได้ตั้งใจ และในอดีตต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์กว่าจะหาสาเหตุของการแพร่ระบาดหรือสาเหตุของการเจ็บป่วยจากสิ่งที่ผู้คนรับประทานเข้าไปได้

ซึ่งการใช้ Blockchain นั้นจะช่วยให้แบรนด์สามารถติดตามเส้นทางของผลิตภัณฑ์อาหารไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งผลิต ผ่านจุดแวะแต่ละจุด และสุดท้ายคือการส่งมอบผลิตภัณฑ์ หากพบว่ามีการปนเปื้อนก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังจุดแวะแต่ละจุด หรือย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตได้ ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทเหล่านี้ยังสามารถตรวจสอบทุกสิ่งที่อาจไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ ทำให้สามารถระบุปัญหาได้เร็วกว่ามาก และอาจช่วยชีวิตผู้คนได้ ซึ่งนี่ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ Blockchain ในทางปฏิบัติ แต่ก็ยังมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำ Blockchain ไปประยุกต์ใช้ได้ ยกตัวอย่างดังนี้

การธนาคารและการเงิน
อาจพูดได้ว่าคงไม่มีอุตสาหกรรมใดที่จะได้รับประโยชน์จากการบูรณาการ Blockchain เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจไปมากกว่าการธนาคาร เนื่องด้วยสถาบันการเงินนั้นเปิดทำการเฉพาะช่วงเวลาทำการห้าวันต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่าหากคุณต้องการฝากเช็คในเวลา 18.00 น. ของวันศุกร์ คุณอาจต้องรอจนถึงเช้าวันจันทร์จึงจะเห็นเงินเข้ามาในบัญชีของคุณ และแม้ว่าคุณจะทำการฝากเงินในช่วงเวลาทำการ แต่การทำธุรกรรมยังคงต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งถึงสามวันในการตรวจสอบ เนื่องจากปริมาณธุรกรรมที่ธนาคารจำเป็นต้องรับมือในแต่ละวันมีจำนวนมาก และต้องใช้การดำเนินการผ่านบุคคล แต่ในขณะเดียวกันนั้น Blockchain ไม่เคยหยุดพักการทำงาน

โดยการบูรณาการ Blockchain เข้ามาใช้กับธนาคารที่ผู้บริโภคสามารถดูการประมวลผลการทำธุรกรรมแค่เพียง 10 นาที ซึ่งเป็นเวลาทั่วไปที่ใช้ในการเพิ่มบล็อกใน Blockchain โดยไม่คำนึงถึงเวลาหรือวันหรือสัปดาห์ และด้วยการใช้ Blockchain นั้นธนาคารก็จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนเงินระหว่างสถาบันต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจการซื้อขายหุ้นซึ่งมีกระบวนการชำระและหักบัญชีที่อาจใช้เวลาถึงสามวัน (หรือนานกว่านั้นหากทำการซื้อขายกับตลาดต่างประเทศ)

แม้กระทั่งในช่วงเวลากว่าสองถึงสามวัน ที่เงินอยู่ระหว่างการขนส่งก็อาจมีต้นทุนและความเสี่ยงสำหรับธนาคารได้เช่นกัน ซึ่งทางธนาคาร Santander ของยุโรป และพันธมิตรด้านการวิจัยระบุว่าหากนำ Blockchain เข้ามาใช้จะสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 1.5 ถึง 2 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐต่อปี และ Capgemin ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินในฝรั่งเศสก็ได้ระบุว่า ผู้บริโภคสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในเรื่องของค่าธรรมเนียมธนาคารและประกันภัยในแต่ละปีอีกด้วย

สกุลเงิน
Blockchain เป็นรากฐานที่สำคัญต่อสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโต เช่น Bitcoin โดยในกรณีเงินดอลลาร์สหรัฐถูกควบคุมโดยธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งภายใต้ระบบอำนาจศูนย์กลางนี้ข้อมูลและสกุลเงินของผู้ใช้จะอยู่ในการควบคุมทางเทคนิคโดยธนาคารหรือรัฐบาลของพวกเขา และหากธนาคารของผู้ใช้ถูกแฮ็ก ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจะตกอยู่ในความเสี่ยง และหากธนาคารของลูกค้าล่มสลายหรือพวกเขาอาศัยอยู่ในประเทศที่รัฐบาลมีอำนาจไม่มั่นคงนั้น ค่าเงินของพวกเขาอาจตกอยู่ในความเสี่ยงได้เช่นกัน โดยในปี 2008 ธนาคารบางแห่งที่เกิดถังแตกกลับได้รับการช่วยเหลือบางส่วนโดยใช้เงินของผู้เสียภาษี และด้วยเหตุนี้เองจึงก่อให้เกิดความกังวลต่อสถาบันการเงิน ในเวลาต่อมาไม่นานนัก Bitcoin ก็ได้ถูกสร้างขึ้น
ด้วยหลักการทำงานแบบกระจายศูนย์อำนาจผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Blockchain จึงช่วยให้ Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจจากส่วนกลาง สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังช่วยขจัดค่าธรรมเนียมการดำเนินการและค่าธรรมเนียมธุรกรรมจำนวนมากได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้สกุลเงินในประเทศที่มีมูลค่าหรือมีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ไม่เสถียร ก็ได้มีเสถียรภาพมากขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น, มีเครือข่ายบุคคล และมีสถาบันที่กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถดำเนินธุรกิจได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างราบรื่นกว่าเดิม

แต่อย่างไรก็ตามการใช้งาน Digital Wallet สำหรับการเป็นบัญชีออมทรัพย์หรือเป็นวิธีการชำระเงินนั้น อาจจะยากต่อการเข้าถึง หากคุณเป็นผู้ที่ไม่มีบัตรประจำตัวที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ, อยู่ในประเทศที่มีสงคราม หรือมีรัฐบาลที่ไม่มีกฎหมายพื้นฐานสำหรับการระบุตัวตน ซึ่งพลเมืองของประเทศดังกล่าวอาจไม่สามารถเข้าถึงบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ได้

ข้อมูลด้านสุขภาพ
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพก็สามารถใช้ Blockchain เพื่อจัดเก็บเวชระเบียนของผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย โดยเมื่อมีการสร้าง และลงนามเวชระเบียนแล้วก็สามารถบันทึกลงใน Blockchain ได้ ซึ่งให้หลักฐานและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบันทึกได้ โดยบันทึกสุขภาพส่วนบุคคลเหล่านี้จะทำการเข้ารหัสและจัดเก็บไว้ใน Blockchain ด้วยรหัสกุญแจส่วนตัว (Private Key) เพื่อให้เข้าถึงได้โดยบุคคลบางคนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงมั่นใจได้ถึงความเป็นส่วนตัว

บันทึกรายการสินทรัพย์
หากคุณเคยใช้เวลาดำเนินการใด ๆ กับสำนักงานบันทึกรายการสินทรัพย์ท้องถิ่น คุณจะรู้ว่ากระบวนการบันทึกสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นเป็นทั้งภาระหนักและไร้ประสิทธิภาพ โดยสมมติว่าหากวันนี้โฉนดตัวจริงจะต้องถูกส่งไปยังพนักงานของรัฐที่สำนักงานบันทึกสินทรัพย์ท้องถิ่น ที่จะมีการป้อนข้อมูลด้วยตนเองในฐานข้อมูลกลางของในแต่ละท้องถิ่น และฐานข้อมูลสาธารณะในกรณีที่มีข้อพิพาทเรื่องสินทรัพย์ หรือการร้องเรียนสินทรัพย์ที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เพียงแต่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานในการดำเนินการเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ซึ่งความไม่ถูกต้องในแต่ละครั้งจะทำให้การติดตามความเป็นเจ้าของสินทรัพย์มีประสิทธิภาพลดน้อยลงได้อีกด้วย

Blockchain มีศักยภาพในการที่จะขจัดความไม่จำเป็นในการตรวจสอบเอกสาร และติดตามไฟล์ทางกายภาพในบันทึกของสำนักงานท้องถิ่น ซึ่งหากมีการจัดเก็บและตรวจสอบความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ด้วย Blockchain นั้นเจ้าของจะสามารถวางใจได้ว่าการกระทำของคุณจะมีความถูกต้องและได้รับการบันทึกข้อมูลลงใน Blockchain อย่างถาวร

และในประเทศหรือพื้นที่ที่ถูกทำลายจากสงคราม ที่ซึ่งมีรัฐบาลหรือโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย และแน่นอนว่าคงไม่มี “สำนักงานบันทึกรายการสินทรัพย์” จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพิสูจน์ความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ หากกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นได้ใช้ประโยชน์จาก Blockchain ก็จะสามารถสร้างไทม์ไลน์ในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่โปร่งใสและชัดเจนได้

สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract)
Smart Contract เป็นสัญญาทางดิจิทัลที่สามารถสร้างบน Blockchain เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบหรือเจรจาต่อรองข้อตกลงใด ๆ ในสัญญา ซึ่ง Smart Contract จะดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ใช้งานยอมรับ เมื่อตรงตามเงื่อนไขเหล่านั้น ข้อตกลงก็จะดำเนินการโดยอัตโนมัติทันที

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผู้เช่าที่ต้องการเช่าอพาร์ตเมนต์โดยใช้ Smart Contract และเจ้าของก็ตกลงที่จะให้รหัสประตูอพาร์ตเมนต์แก่ผู้เช่าทันทีที่ผู้เช่าชำระเงินประกัน ทั้งผู้เช่าและเจ้าของจะส่งส่วนต่าง ๆ ของข้อตกลงไปยัง Smart Contract ซึ่งจะแลกเปลี่ยนรหัสประตูโดยอัตโนมัติเมื่อผู้เช่าชำระเงินประกันในวันที่เริ่มสัญญาเช่า หากเจ้าของบ้านไม่ระบุรหัสประตูในวันที่เช่านั้น Smart Contract ก็จะดำเนินการคืนเงินประกันให้แก่ผู้เช่าทันที ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้จะขจัดค่าธรรมเนียมและกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทนายความ หรือผู้ไกล่เกลี่ยโดนบุคคลที่สามออกไป

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ในตัวอย่างของ IBM Food Trust Blockchain นั้น ซัพพลายเออร์ก็สามารถใช้ Blockchain เพื่อบันทึกที่มาของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาซื้อได้ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ของตนเอง ที่อาจมาพร้อมป้ายกำกับประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น “Organic”, “Local”, และ “Fair Trade” เป็นต้น นอกจากนี้ตามที่มีการรายงานโดย Forbes ว่าอุตสาหกรรมอาหารกำลังนำ Blockchain เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้นในการติดตามเส้นทางและความปลอดภัยของอาหารตลอดการเดินทางจากฟาร์มสู่ผู้บริโภคอีกด้วย

การลงคะแนนเสียง
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อนหน้า Blockchain สามารถใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับระบบลงคะแนนที่ทันสมัย และมีศักยภาพในการขจัดการฉ้อโกงการเลือกตั้ง อีกทั้งสามารถเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปในตัว โดยได้มีการทดสอบในการจัดการเลือกตั้งที่ West Virginia ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 ซึ่งใช้การลงคะแนนเสียงผ่าน Blockchain ที่จะเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะมีการแก้ไขการลงคะแนน โดยโปรโตคอลของ Blockchain จะรักษาความโปร่งใสในกระบวนการเลือกตั้ง ลดบุคลากรที่ไม่จำเป็นในการดำเนินการเลือกตั้ง และให้ผลลัพธ์แก่เจ้าหน้าที่เกือบจะทันที สิ่งนี้จะช่วยขจัดข้อกังวลเรื่องการฉ้อโกงในเรื่องผลลัพธ์ของการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีและข้อเสียของ Blockchain

สำหรับความซับซ้อนทั้งหมดในเรื่องศักยภาพของ Blockchain ในรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์อำนาจ ที่แทบจะไม่มีขีดจำกัด ตั้งแต่เรื่องความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นของผู้ใช้และการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ไปจนถึงค่าธรรมเนียมดำเนินการที่ต่ำลงและข้อผิดพลาดที่น้อยลง โดยเทคโนโลยี Blockchain อาจมีการใช้ประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี Blockchain ก็ยังคงมีข้อเสียให้เห็นอยู่บ้างเช่นกัน

ข้อดี

  • ปรับปรุงความแม่นยำโดยการขจัดการมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการตรวจสอบ
  • ลดต้นทุนด้วยการกำจัดการตรวจสอบจากบุคคลที่สามออกไป
  • รูปแบบการกระจายอำนาจทำให้ยากต่อการบุกรุก
  • ธุรกรรมมีความปลอดภัย เป็นส่วนตัว และมีประสิทธิภาพ
  • เทคโนโลยีมีความโปร่งใส
  • ให้ทางเลือกแก่ธนาคารและวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับพลเมืองของประเทศที่มีรัฐบาลที่ไม่เสถียรหรือด้อยพัฒนา

ข้อเสีย

  • ต้นทุนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขุด Bitcoin มีราคาสูงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สามารถเลือกใช้งานคริปโตสกุลอื่นได้)
  • การทำธุรกรรมต่อวินาทีอยู่ในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งถือว่ายังมีผู้เข้าใช้งานน้อย
  • เคยมีประวัติการใช้ซื้อขายสิ่งผิดกฎหมายบนเว็บไซต์ตลาดมืด
  • ระเบียบข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากความกังวลของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมคริปโต

อนาคตของ Blockchain จะเป็นอย่างไรต่อไป?

Blockchain เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1991 ซึ่งถือว่าถูกตั้งรกรากในวัยสามสิบปีเช่นเดียวกับคนรุ่นมิลเลนเนียลส่วนใหญ่ โดยในยุคนั้นทั่วโลกต่างคาดเดากันไปต่าง ๆ นานาว่าเทคโนโลยีนี้มีความสามารถอะไรและมีจุดมุ่งหมายไปที่ใดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ด้วยรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ในที่สุด Blockchain ก็สามารถสร้างชื่อให้กับตัวเองเมื่ออายุใกล้จะ 30 ปี ถึงแม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการถือกำเนิดขึ้นมาของ Bitcoin และคริปโตสกุลต่าง ๆ อีกทั้งเริ่มเป็นคำศัพท์ติดปากของนักลงทุนทุกเพศทุกวัย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า Blockchain สามารถช่วยให้การดำเนินธุรกิจและการดำเนินงานของภาครัฐมีความแม่นยำมากขึ้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และราคาถูก เนื่องจากมีพ่อค้าคนกลางน้อยลง และในขณะที่เราเตรียมที่จะก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สามของ Blockchain นั้นจะไม่มีคำถามอีกต่อไปว่า “ถ้าบริษัทจะนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้หรือไม่” แต่จะเกิดคำถามใหม่ที่ว่า “เมื่อไหร่บริษัทของคุณจะนำมันมาใช้”

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมสำหรับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ความคุ้มครอง ประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

มูลค่ารถมีผลต่อประกันรถยนต์อย่างไร

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

เพิ่มเติม

การคุ้มครองค่าใช้จ่ายทางกฎหมายของประกันรถยนต์

เพิ่มเติม