Connect with us

Cryptocurrency คืออะไร?

อุตสาหกรรมทางการเงินครั้งใหม่ ที่จะเปลี่ยนประสบการณ์การใช้จ่ายของคุณ

สกุลเงินเสมือนจริงในโลกดิจิทัล

Cryptocurrency เป็นสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนจริง สามารถเรียกอย่างง่ายได้ว่า ”คริปโต” โดยมันจะมีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส (Cryptography) ซึ่งทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปลอมแปลงหรือใช้จ่ายซ้ำซ้อน (Double-Spend) โดยคริปโตส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายแบบการกระจายอำนาจที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นรากฐานการทำงาน รวมไปถึงรูปแบบการทำงานก็จะเป็นการจัดเก็บข้อมูลบัญชีแยกประเภท ที่บังคับใช้โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของคริปโตนั้น ๆ
Cryptocurrency ทั่วไปจะไม่ออกโดยผู้มีอำนาจกลางใด ๆ จึงทำให้สกุลเงินประเภทดังกล่าวมีภูมิคุ้มกันต่อการแทรกแซงหรือการจัดการของรัฐบาลได้อีกด้วย

จุดเด่น

    • สกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “Cryptography” จึงเป็นที่มาของคำว่า “Cryptocurrency”
    • เป็นสกุลเงินที่จับต้องไม่ได้ แต่มีตัวตนอยู่บนเครือข่าย Blockchain
    • เน้นระบบการทำงานให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อให้อำนาจแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
    • Cryptocurrency ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ “Bitcoin”
    • เป็นสกุลเงินที่อำนาจรัฐจะไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงได้

ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ Cryptocurrency

คริปโตเป็นระบบที่อนุญาตให้ชำระเงินทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมีการกำหนดเป็น “โทเคน” เสมือนจริงในรายการบัญชีแยกประเภท นอกจากนี้ภายในระบบการทำงานของ “Cryptocurrency” ยังหมายรวมถึงอัลกอริธึมการเข้ารหัสและเทคนิคการเข้ารหัสต่าง ๆ ที่ปกป้องเหล่าข้อมูล เช่น การเข้ารหัสแบบวงรีรูปไข่ (Elliptical Curve Cryptography: ECC), การจับคู่รหัส Public/Private Key และฟังก์ชันการแฮช (Hashing) เป็นต้น

ประเภทของ Cryptocurrency

คริปโตตัวแรกบนเครือข่าย Blockchain คือ “Bitcoin” ที่ยังคงได้รับความนิยมและมีมูลค่ารวมมากที่สุด โดยปัจจุบันนี้มีคริปโตอื่น ๆ อีกกว่าหมื่นรายการที่มีฟังก์ชันและข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป และในจำนวนคริปโตเหล่านี้มีบางส่วนที่เป็นการ Fork ออกมาจากตัว Bitcoin อีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันบางสกุลก็เป็นสกุลใหม่ที่สร้างจากศูนย์
อย่างไรก็ตามการจำแนกประเภทของคริปโตนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอัลกอริธึมที่ใช้, กรณีใช้งาน, ที่มาของมูลค่า, หรือแม้แต่ความเร็วของเครือข่าย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะจำแนกด้วยเหตุผลในการใช้งานเป็นหลัก ดังนี้

  • Governance Token: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการกำกับดูแลเครือข่าย
  • Utility Token: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้แลกสิทธิพิเศษบนเครือข่าย
  • Fan Token: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้ในการโหวตของทีมกีฬาเท่านั้น
  • Memetoken: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาโดยใช้มาสคอตของมีมบนอินเทอร์เน็ตเป็นสัญลักษณ์
  • Non-Fungible Token: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเป็นงานศิลปะทางดิจิทัล (Digital Art)
  • DeFi Token: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้งานบนแพลตฟอร์ม DEX เป็นหลัก
  • Stablecoin: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้มีมูลค่าคงที่ เทียบเท่ากับสกุลเงินบนโลกแห่งความจริง
  • Altcoin: คริปโตทุกสกุลทั้งหมดที่มีบนโลก ยกเว้น Bitcoin
  • Private Crypto: คริปโตที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อความเป็นส่วนตัวสูงสุดในการทำธุรกรรม

การจำแนกประเภทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจำแนกที่พบเห็นได้บ่อยเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงหากจะจำแนกด้วยเหตุผลเชิงลึกแล้วก็อาจมีประเภทที่ยิบย่อยไปมากกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตามมีสิ่งสำคัญที่คุณควรทราบคือ “คริปโต 1 สกุลสามารถถูกจำแนกได้มากกว่า 1 ประเภท”

“สร้างนิยามใหม่ในการใช้จ่ายด้วย Cryptocurrency”

ข้อดีและข้อเสียของ Cryptocurrency

ข้อดี
จุดประสงค์ของการใช้งานคริปโตนั้นจะมุ่งเน้นไปที่จะทำให้การโอนเงินโดยตรงระหว่างสองฝ่ายทำได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องใช้บุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคารหรือบริษัท ซึ่งการโอนสินทรัพย์เหล่านี้มีความปลอดภัยสูงโดยการใช้ Public/Private Key และมีระบบแรงจูงใจที่ให้ผลตอบแทน เช่น Proof of Work และ Proof of Stake
ในระบบคริปโตสมัยใหม่นั้น จะมีบัญชี Wallet หรือบัญชีแอดเดรสไว้สำหรับจัดเก็บคริปโตของตนเองและจะมีเพียงแค่เจ้าของบัญชีแอดเดรสหรือบัญชี Wallet เท่านั้นที่จะทราบ Private Key หรือกุญแจส่วนตัวที่ใช้เพื่อลงนามในการทำธุรกรรม
การโอนเงินโดยคริปโตมีค่าธรรมเนียมที่อยู่ในอัตราต่ำมาก จึงช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็นที่โดนเรียกเก็บโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินได้สำหรับทุก ๆ รายการธุรกรรม

ข้อเสีย
โดยลักษณะกึ่งไม่ระบุชื่อของการทำธุรกรรมโดยคริปโตนั้น จึงทำให้มันมีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการทำรายการธุรกรรมที่ผิดกฎหมายได้เช่นกัน เช่น การฟอกเงิน และการเลี่ยงภาษี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่สนับสนุนคริปโตส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการไม่เปิดเผยตัวตนเป็นหลัก โดยอ้างถึงประโยชน์ของความเป็นส่วนตัว เช่น การปกป้องตัวตนของผู้แจ้งเบาะแส หรือนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อยู่ภายใต้รัฐบาลที่กดขี่ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ยังมีคริปโตบางสกุลที่ขึ้นชื่อเรื่องมีความเป็นส่วนตัวสูงอีกด้วย
ในกรณีของ Bitcoin เองก็ถือเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างแย่สำหรับการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมายทางออนไลน์ เนื่องจากการวิเคราะห์ทางนิติเวชบน Bitcoin Blockchain นั้นได้เห็นว่ามันช่วยนำทางไปสู่การจับกุมและดำเนินคดีกับอาชญากรได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีคริปโตที่เน้นความเป็นส่วนตัวในระดับสูงอยู่ด้วย เช่น Dash, Monero หรือ Zcash เป็นต้น ซึ่งทำการติดตามได้ยากกว่ามาก

Cryptocurrency ตลาดการเงินคลาสใหม่ที่ไม่เคยหลับไหล

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับ Cryptocurrency

ด้วยลักษณะหลักการทำงานของ Bitcoin และคริปโตสกุลอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นระบบหลังบ้านเพื่อจัดเก็บข้อมูลบัญชีแยกประเภททั้งหมดที่เคยดำเนินการ จึงถือเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีการแบ่งปันข้อมูลไปมาระหว่างกันตลอดเวลาภายใต้เครือข่ายทั้งหมดของแต่ละโหนดที่ดูแลสำเนาของบัญชีแยกประเภท นอกจากนี้ทุกบล็อกที่สร้างขึ้นใหม่นั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบผ่านโหนดก่อนที่จะได้รับการยืนยันการทำธุรกรรม จึงทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปลอมแปลงการทำธุรกรรมขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าเทคโนโลยี Blockchain มีศักยภาพที่ดีเยี่ยมสำหรับการใช้งาน เช่น การลงคะแนนออนไลน์ และการระดมทุน เป็นต้น ซึ่งสถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง JPMorgan Chase (JPM) ได้มองเห็นถึงศักยภาพในการลดต้นทุนการทำธุรกรรมด้วยการประมวลผลการชำระเงินที่คล่องตัว อย่างไรก็ตามเนื่องจากคริปโตเป็นสกุลเงินในรูปแบบเสมือนจริงที่จับต้องไม่ได้ และไม่ได้จัดเก็บไว้ในฐานของข้อมูลกลาง จึงอาจทำให้มูลค่าของมันถูกลบออกไปได้โดยการสูญหายหรือการทำลายฮาร์ดไดรฟ์หากไม่มีสำเนาสำรองของกุญแจส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีอำนาจกลาง รัฐบาล หรือองค์กรใดที่จะเข้าถึงเงินทุนหรือข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้เช่นเดียวกัน

คำวิจารณ์ของ Cryptocurrency

เนื่องจากกลไกของราคาในตลาดของคริปโตขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน อัตราแลกเปลี่ยนที่จะแลกจากคริปโตไปเป็นสกุลเงินอื่นอาจผันผวนอย่างมาก แต่ในเรื่องของการออกแบบของคริปโตจำนวนมากทำให้มั่นใจได้ว่าจะรองรับไม่ให้เกิดความขาดแคลนในช่วงที่มีอุปสงค์อยู่ในอัตราที่สูงได้
Bitcoin เคยประสบกับการเพิ่มมูลค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและการล่มสลายของมูลค่า โดยเพิ่มขึ้นสูงถึง $19,000 ต่อ Bitcoin ในเดือนธันวาคม ปี 2017 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วจนเหลือประมาณ $7,000 ในเดือนต่อมา ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่าคริปโตเป็นเพียงกระแสแฟชั่นระยะสั้นหรือฟองสบู่เก็งกำไรเพียงเท่านั้น รวมไปถึงความกังวลอีกว่าคริปโตต่าง ๆ เช่น Bitcoin จะไม่ถูกหยั่งรากในตัวสินค้าที่เป็นวัตถุจริง และนอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นได้ระบุว่าต้นทุนในการขุด Bitcoin อาจต้องใช้พลังงานและทรัพยากรมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมีนัยสำคัญกับกลไกตลาดอีกด้วย
ถึงแม้จะบอกว่าเครือข่าย Blockchain ของคริปโตนั้นมีความปลอดภัยสูง แต่ด้านอื่น ๆ ของระบบนิเวศของคริปโต รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนและ Wallet ต่าง ๆ นั้นไม่มีภูมิคุ้มกันต่อการคุกคามจากการถูกแฮ็ก ซึ่งในประวัติศาสตร์ 10 ปีของ Bitcoin มีช่วงที่ได้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนทางออนไลน์หลายครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและถูกพบว่าเป็นการถูกแฮ็กเพื่อโจรกรรม ซึ่ง Bitcoin ก็โดนโจรกรรมไปเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์อีกด้วย

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

เพิ่มเติม

นำรถไปใช้ลากจูงประกันคุ้มครองไหม

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ครบวงจร

เพิ่มเติม

คาร์ซีทกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม