Connect with us

Ethereum คืออะไร?

คริปโตเคอเรนซีที่เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ของโลก

Ethereum (ETH)

Ethereum เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนเครือข่าย Blockchain ซึ่งมีสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตนเองที่เรียกว่า Ether (ETH) หรือ Ethereum และยังมีภาษาโปรแกรมของตนเองที่เรียกว่า Solidity อีกด้วย
ในฐานะที่เป็นเครือข่ายบน Blockchain นั้น Ethereum ถือเป็นบัญชีแยกประเภทสาธารณะแบบกระจายอำนาจและมีรูปแบบเป็นระบบ Open Source ที่จะอนุญาตผู้ใช้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง, เผยแพร่, สร้างรายได้ และใช้แอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์มได้อีกด้วย โดยสิ่งสำคัญก็คือการใช้ Ether เป็นวิธีการชำระเงิน ซึ่งผู้คนในวงการคริปโตเคอเรนซีเรียกแอพพลิเคชันแบบกระจายศูนย์อำนาจบนเครือข่ายนี้ว่า “dapps” (Decentralized Applications)
นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นคริปโตเคอเรนซี “Ether” มีมูลค่าทางตลาดเป็นอันดับสองรองจาก Bitcoin เท่านั้น (อ้างอิงจาก CoinMarketcap 6/7/2021)

จุดเด่น

    • มีภาษาโปรแกรมของตนเองที่เรียกว่า Solidity
    • เป็นแพลตฟอร์มแบบ Open Source เปิดให้นักพัฒนาสามารถสร้างและเผยแพร่ Smart Contract และ Dapps
    • สกุลเงินดิจิทัลประจำเครือข่าย เรียกว่า “Ether” สัญลักษณ์ย่อ “ETH”
    • มีโปรโตคอลที่เรียกว่า “มาตรฐานโทเคน ERC-20” ที่นิยมใช้พัฒนาคริปโตเคอเรนซีสกุลใหม่

ทำความเข้าใจกับ Ethereum

Ethereum นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาสามารถสร้างและเผยแพร่ Smart Contract และแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Dapps) ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่มีความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของการทำงาน การฉ้อโกง หรือการรบกวนจากบุคคลที่สาม
Ethereum อธิบายตัวเองว่าเป็น “Blockchain ที่ตั้งโปรแกรมได้” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่มีความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมนั้นเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองขึ้นมาได้ หรือจะเรียก Ethereum ในอีกชื่อหนึ่งว่า “คอมพิวเตอร์แห่งโลกดิจิทัล” ก็ได้เช่นเดียวกัน
สิ่งเหล่านี้ได้แยกความแตกต่างจาก Bitcoin อย่างชัดเจน เนื่องจากภารกิจหลักของการเป็นเครือข่ายที่ตั้งโปรแกรมได้นั้น คือเป็นตลาดสำหรับบริการทางการเงิน เกม และแอพพลิเคชัน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถชำระค่าธรรมเนียมเป็น Ether ได้ รวมไปถึงยังมีความปลอดภัยจากการฉ้อโกง โจรกรรม หรือการแทรกแซงจากหน่วยงานต่าง ๆ อีกด้วย

 

Ethereum ทำงานอย่างไร?

ผู้ก่อตั้ง Ethereum
Ethereum เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม ปี 2015 โดยกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยี Blockchain กลุ่มเล็ก ๆ ร่วมกับ Joe Lubin ผู้ก่อตั้ง ConsenSys ที่ได้เข้ามาเป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน Blockchain ที่ใช้เครือข่ายของ Ethereum และยังมีผู้ร่วมก่อตั้งคนสำคัญอีกคนหนึ่งนั่นคือ “Vitalik Buterin” อดีตทีมพัฒนา Bitcoin ที่ได้เล็งเห็นว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่ Bitcoin กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น
Buterin ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด Ethereum และในตอนนี้ก็ยังคงดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัท รวมไปถึงการเป็นบุคคลสาธารณะที่ถูกขนานนามว่าเป็นมหาเศรษฐีคริปโตที่อายุน้อยที่สุดในโลก
Ether นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ภายในเครือข่าย Ethereum เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน Ether ก็ยังคงเป็นรูปแบบการชำระเงินที่ผู้ค้าและผู้ให้บริการบางรายยอมรับเฉกเช่นเดียวกันกับ Bitcoin โดยมีผู้ให้บริการเว็บไซต์ออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินด้วย Ether ตัวอย่างเช่น Overstock, Shopify และ CheapAir เป็นต้น

ธุรกิจ Ethereum
คู่แข่งหลักของ Ethereum สำหรับธุรกิจประเภทที่ลงทุนในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ Blockchain ได้แก่ Bitcoin, Ripple, IBM, IOTA, Microsoft, Blockstream, JP Morgan และ NEO นอกจากนี้ก็ยังเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดคริปโตเคอเรนซีเช่นกัน เนื่องจากมีคริปโตเคอเรนซีบางสกุลที่นำเสนอตัวเองว่าเป็น “Ethereum Killer” (ADA และ SOL) โดยในเดือนกรกฎาคม 2021 Ether นั้นมีมูลค่ารวมกว่า 8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นคริปโตเคอเรนซีที่ใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งมีมูลค่ารองจาก Bitcoin ที่มีมูลค่ารวมกว่า 20 ล้านล้านบาท ตามการจัดอันดับใน CoinMarketCap

(อีก 8 ใน 10 อันดับแรกบน CoinMarketCap ได้แก่ Tether, Binance Coin, Cardano, XRP, Dogecoin, USD Coin, Polkadot และ Uniswap )

โครงการที่ใช้ Ethereum
Ethereum ได้ระบุว่าแพลตฟอร์มของตนสามารถใช้งานเพื่อการประมวลผล, กระจายอำนาจ, รักษาความปลอดภัย และซื้ออะไรก็ได้ โดยยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการทดสอบอีกด้วย
Microsoft ได้ร่วมมือกับ ConsenSys เพื่อนำเสนอ “Ethereum Blockchain-as-a-Service (EBaaS)” ที่จะทำงานอยู่บนคลาวด์ของ Microsoft Azure ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้าในองค์กรและนักพัฒนาสามารถใช้งานระบบบนคลาวด์ได้เหมือนกับการใช้ Blockchain โดยตรง
และในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ทางบริษัท Advanced Micro Devices (AMD) และ ConsenSys ก็ได้ประกาศร่วมทุนกัน เพื่อสร้างเครือข่ายและศูนย์ข้อมูลรูปแบบใหม่ ที่จะอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานของ Ethereum อีกด้วย

ระบบ Blockchain บน Ethereum
ระบบที่ออกสื่อบ่อยที่สุดและเป็นที่คุ้นตาก็คงจะเป็นมาตรฐานโทเคน ERC-20 ซึ่งระบบดังกล่าวถือว่าเป็นฐานสำคัญให้กับการพัฒนาเหล่าโทเคนบนแพลตฟอร์ม DeFi ต่าง ๆ มากมายด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Uniswap, SushiSwap หรือ BAT เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีก 2 ระบบด้วยกัน ได้แก่ ERC-721 และ ERC-1155 โดยทั้ง 2 ระบบนี้นั้นจะทำงานร่วมกันในส่วนของการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Non-Fungible Token หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในรูปแบบของผลงานศิลปะ และแบบจำลอง AI ต่าง ๆ เป็นต้น

10 Dapps ยอดนิยมในปี 2021
1. Aave Protocol
2. Uniswap V3
3. Uniswap V2
4. 1inch Network
5. PancakeSwap
6. SushiSwap
7. Polygon PoS Bridge
8. Balancer
9. Curve
10. Alpaca Finance

“Ethereum คริปโตเคอเรนซีที่เป็นมากกว่าสกุลเงินในโลกดิจิทัล”

วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของ Ethereum

ผู้ก่อตั้ง Ethereum นั้นเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรก ๆ ที่ตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain สำหรับการใช้งานที่นอกเหนือจากการซื้อขายคริปโตเคอเรนซี โดยเขาได้กำหนดให้ Ether เป็นสื่อกลางในการชำระค่าธรรมเนียมในการใช้งานแอพลิเคชันที่สร้างบนแพลตฟอร์ม Ethereum เป็นหลัก
เหล่าช่องโหว่ต่าง ๆ ที่แฮ็กเกอร์และบรรดาผู้สอดแนมค้นพบนั้น ได้กลายเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Smart Contract ขึ้น โดยจะสามารถทำงานได้ตั้งแต่บันทึกการรักษาพยาบาลไปจนถึงระบบการลงคะแนนเสียง นอกจากนี้การพึ่งพาระบบของคริปโตเคอเรนซีนี้นั้นได้เปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์สามารถสร้างและทำการตลาดเกมได้อีกด้วย รวมไปถึงการใช้งานแอพพลิเคชันทางธุรกิจบนเครือข่ายก็ได้เช่นเดียวกัน

Hard Fork
Blockchain อาจจะดูคงกระพันต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์ แต่ไม่ใช่ว่าแฮ็กเกอร์เหล่านั้นจะไร้ซึ่งความพยายามใด ๆ เลย เนื่องจากในปี 2016 มีผู้ไม่ประสงค์ดีได้โจรกรรม Ether เป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์ที่จะใช้ในโครงการที่เรียกว่า The DAO ซึ่งเป็น Smart Contract ที่คิดค้นโดยกลุ่มบุคคลที่สามและมีต้นกำเนิดจากแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ของ Ethereum โดยการโจมตีที่ครั้งนี้ถูกครหาว่าเป็นฝีมือของนักพัฒนาบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในทีมอีกด้วย
ซึ่งชุมชน Ethereum เลือกที่จะตอบโต้การโจรกรรมครั้งนี้โดยการสร้าง “Hard Fork” มันมีผลให้ Blockchain ที่มีอยู่นั้นเป็นโมฆะ และเกิด Blockchain สายใหม่ขึ้นในทันที ซึ่งจะเรียกเครือข่าย Blockchain สายใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นได้ใช้ชื่อที่มีอยู่เดิมคือ Ethereum และเรียกเครือข่าย Blockchain สายเดิมที่ถูกโจมตีว่า “Ethereum Classic (ETC)”

Ethereum 2.0
ในปัจจุบัน Ether มีจำนวนอุปทานหมุนเวียนอยู่ในตลาดเกิน 100 ล้าน Ether ด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจาก Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น และในขณะนี้ Ethereum อยู่ระหว่างการอัปเกรดที่ทุกคนรอคอยมานาน ที่รู้จักกันในชื่อ “Ethereum 2.0” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เครือข่ายขยายขนาดขึ้น และเพื่อจัดการกับปัญหาความแออัดที่ทำให้เครือข่ายช้าลงด้วยเช่นเดียวกัน (ในปี 2017 เกมที่ชื่อว่า CryptoKitties เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่ถูกชะลอการทำธุรกรรม เนื่องจากความแออัดบนเครือข่าย)

Ethereum เครือข่ายอเนกประสงค์ที่เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ของโลกดิจิทัล

คำวิจารณ์ต่อ Ethereum

Ethereum ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์แบบเดียวกันกับที่เหล่าคริปโตเคอเรนซีอื่น ๆ ต้องพบเจอ ตัวอย่างเช่น

  • คริปโตเคอเรนซีอาจเป็นฟองสบู่ที่กำลังจะแตก (อีกครั้ง) หรือไม่ก็ได้ โดยการอภิปรายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งเป็นปีที่มูลค่าของ Bitcoin อยู่ที่ 20,000 ดอลลาร์ และได้ร่วงลงสู่ 3,000 ดอลลาร์
  • แต่ละเครือข่ายเหล่านี้กำลังกินพลังงานมหาศาล อาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักขุดคริปโตเคอเรนซีที่กำลังทุ่มเทพลังการประมวลผลจำนวนมากให้กับกระบวนการตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งนี่เป็นเหตุผลหนึ่งของประเทศจีนในการดำเนินการปราบปรามคริปโตเคอเรนซี โดยเขาถือว่านี่เป็นการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มาจากอุตสาหกรรมการขุดเหรียญคริปโตขนาดใหญ่นั่นเอง
  • Ethereum ยังต้องเผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่า Gas ที่มีอัตราค่อนข้างสูง แต่ในการเปิดตัว Ethereum 2.0 เร็ว ๆ นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็เป็นได้

คำถามที่พบบ่อย FAQ: Ethereum

Q: ทำความเข้าใจ Ethereum อย่างง่ายได้ว่าอย่างไร?
A: Ethereum ก็เหมือนกับ Blockchain อื่น ๆ ที่เป็นฐานข้อมูลที่ออกแบบมาให้ปลอดภัยต่อการโจมตี และสามารถใช้ Ether หรือ ETH เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมบนเครือข่ายได้อีกด้วย
โดยความแตกต่างจาก Blockchain ที่อยู่ในรูปแบบการจัดเก็บธุรกรรมแบบบัญชีแยกประเภทนั้น คือ Ethereum Blockchain จะสามารถจัดเก็บได้มากกว่าบันทึกทางธุรกรรม ได้แก่ ช่วยให้นักพัฒนาสร้างเกมและแอพพลิเคชันทางธุรกิจที่เรียกว่า dapps ได้ และสามารถทำการตลาดให้กับผู้ใช้โดยปราศจากความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

Q: การซื้อขาย ETH คืออะไร?
A: นักลงทุนสามารถใช้แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเคอเรนซีในโลกออนไลน์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนของมูลค่าในการสร้างรายได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรทำการศึกษาเรื่องความเสี่ยง และรูปแบบของการลงทุนให้ถี่ถ้วนก่อนทำการตัดสินใจ

Q: Ethereum ดีกว่า Bitcoin หรือไม่?
A: สกุลเงินดิจิทัลทั้งสองสกุลนี้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในรูปแบบการทำงาน โดย Ethereum มีความทะเยอทะยานที่กว้างกว่าความต้องการเป็นเพียงแค่คริปโตเคอเรนซี แต่ยังต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้ทุกคนเข้ามาพัฒนาหรือสร้างแอพลลิเคชันบนระบบ Open Source ได้
โดยถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่ทั้งสองยังคงมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือเป็นเหรียญที่ไม่มีอยู่จริงแต่แสดงผลด้วยชุดรหัสที่จะสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ในราคาที่ตกลงกันโดยผู้ซื้อและผู้ขาย

Q: Ethereum ทำเงินได้จากอะไร?
A: ผู้ใช้งาน Dapps จะจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อเข้าถึงการใช้งาน หรือเรียกว่าค่า Gas และที่มาของคำว่า Gas นั้นเป็นเพราะค่าธรรมเนียมของแต่ละรายการธุรกรรมจะแตกต่างกันไป ตามปริมาณของกำลังในการคำนวณ ที่เปรียบเสมือนเวลาที่หลาย ๆ คนไปเติมน้ำมันในปั๊มด้วยปริมาณที่ต่างกันและจ่ายค่าน้ำมันตามปริมาณที่เติม

Q: ใช้เวลานานแค่ไหนในการขุด 1 Ethereum?
A: ตามเว็บไซต์ที่เรียกว่า be[in]crypto ระบุว่าโปรโตคอลการขุด Ethereum นั้นทำได้ไม่ยาก แต่ใช้เวลานานเฉลี่ย 63.7 วันสำหรับการขุดเพื่อให้ได้ 1 Ethereum ซึ่งผู้ขุดต้องเตรียมรับบิลค่าไฟมหาศาลอย่างแน่นอน

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ความคุ้มครอง ประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ประกันรถหรูซูเปอร์คาร์

เพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ประกันคุ้มครองรถแต่งและอุปกรณ์แต่งรถ

เพิ่มเติม

รถยนต์สำหรับคนขับอายุน้อย

เพิ่มเติม