Connect with us

Fiat Currency หมายถึงอะไร?

สกุลเงินถูกต้องตามกฎหมาย ที่ทุกคนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

Fiat Currency คืออะไร?

คำว่า “Fiat” มาจากภาษาละตินที่แปลว่า “คำสั่ง” Fiat Currency อาจแปลตรงตัวได้ว่า “เงินคำสั่ง” หรือแปลได้อีกอย่างว่า “สกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาล” ซึ่งปรากฎอยู่ในรูปแบบของวัตถุที่ไม่ได้มีค่าในตัวเอง หรือก็คือ “เงินกระดาษ” อย่างธนบัตรที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยมูลค่าของมันไม่ได้ถูกสำรองไว้โดยสินทรัพย์ทางกายภาพหรือสินทรัพย์โภคภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ทองคำหรือเงิน แต่มูลค่าของเงิน Fiat มาจากความสัมพันธ์กันของอุปสงค์และอุปทานที่สมดุลระหว่างกัน รวมไปถึงความเสถียรภาพทางอำนาจของรัฐบาลผู้ควบคุมระบบและธนาคารกลางอีกด้วย

จุดเด่น

  • เป็นสกุลเงินที่ออกและควบคุมโดยรัฐบาล ผ่านนโยบายทางการเงิน
  • ช่วยให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น
  • สกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น ดอลลาร์สหรัฐหรือเงินบาท ต่างก็เป็น Fiat Currency

หลักการทำงานของ Fiat Currency

อาจมีเหตุผลหลัก ๆ เพียง 2 ข้อที่ทำให้ Fiat หรือเงินกระดาษมีมูลค่า ข้อแรกก็คือมีมูลค่าเพราะ ‘รัฐบาล’ รักษามูลค่านั้นไว้ เราจึงเชื่อว่ากระดาษที่ถืออยู่สามารถใช้แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของอื่นได้จริง อีกข้อก็คือการที่ต่างฝ่ายที่ทำธุรกรรมออนไลน์เห็นตัวเลขผ่านระบบของ “ธนาคาร” เราจึงเชื่อตัวเลขนั้นว่ามันมีมูลค่าจริง

โดยในอดีตนั้นสื่อกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของกันจะใช้ทองคำเป็นหลัก หรืออาจใช้วิธีแลกของต่อของ (Barter System) แต่เหตุผลที่การใช้ทองคำเป็นที่นิยมในสมัยก่อนเพราะคนทั่วโลกต่างยอมรับในแง่ของ “แหล่งสะสมมูลค่า” (Store of Value) เนื่องจากมันมาจากธรรมชาติและการจะได้มานั้นยาก เพราะทองคำมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ต้องขุดเหมือง มีจำนวนจำกัด มีความคงทน และที่สำคัญคือปลอมแปลงได้ยาก เป็นต้น ด้วยสิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “มาตรฐานทองคำ” (Gold Standard) ซึ่งแทนที่คนจะถือทองหนัก ๆ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของ ก็เปลี่ยนให้รัฐบาลเก็บทองไว้ในที่ปลอดภัยและพิมพ์ธนบัตรออกมามูลค่าเท่ากับทองที่มีอยู่ โดยในสมัยนั้นถือว่าธนบัตรหรือเงินกระดาษเหล่านั้นมีมูลค่าจริงภายใต้มาตรฐานทองคำ ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้ที่ไม่มีอะไรมารองรับมูลค่านอกจากความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และเรื่องของอุปสงค์อุปทาน

และเนื่องจาก Fiat ไม่ได้เชื่อมโยงกับทองคำเหมือนในสมัยก่อนอีกแล้ว มันจึงเสี่ยงต่อการสูญเสียมูลค่าเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อได้ หรือแม้กระทั่งกลายเป็นสิ่งไร้ค่าในกรณีเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจึงทำให้ผู้คนหมดศรัทธาในสกุลเงินของประเทศตนเอง และส่งผลให้ Fiat ไม่สามารถรักษามูลค่าไว้ได้อีกต่อไป

ข้อควรพิจารณา

ในกรณีของสกุลเงินดั้งเดิมหรือ Fiat ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดอย่าง สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีการพิจารณาตามกฎหมายแล้วว่าสามารถชำระหนี้ได้ (Legal Tender) โดยเป็นที่ยอมรับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งในหลาย ๆ รัฐบาลที่ออก Fiat มานั้นจะต้องทำการประมูลตามกฎหมาย โดยถือเป็นการกำหนดให้เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ (Standard of Deferred Payment)

ก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ สกุลเงินของประเทศนั้นเคยอยู่ภายใต้มาตรฐานทองคำในการรองรับมูลค่า (และมีแร่เงินรวมอยู่ด้วย) โดยในระยะเวลาต่อมารัฐบาลได้ประกาศในนามพระราชบัญญัติฉุกเฉินธนาคารว่าให้ยุติการใช้ทองคำเพื่อการแลกเปลี่ยนในปี 1933 ซึ่งการใช้มาตรฐานทองคำรองรับมูลค่าเงินในสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดอย่างเป็นทางการในปี 1971 และรัฐบาลสหรัฐฯ ยังได้ออกคำสั่งยกเลิกข้อตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศในการวางทองคำเพื่อแลกกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นที่รู้กันว่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับการรองรับมูลค่าจาก “ความเชื่อมั่นและเครดิต” ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยผู้คนสามารถใช้เงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมายกับทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ไม่สามารถนำไปแลกเป็นเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ Lawful Money* ที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้

*Lawful Money หรือเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเงินที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เท่านั้น เช่น เหรียญทอง เหรียญเงิน ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งเงินเหล่านี้ต่างมีมูลค่าในตนเอง ตรงข้ามกับ Fiat Currency อย่างชัดเจน

“Fiat ที่ดีจะสามารถจัดการกับบทบาทของเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ข้อดีและข้อเสียของ Fiat Currency

ข้อดี
Fiat จะทำหน้าที่เป็นสกุลเงินที่ดีหากสามารถจัดการกับบทบาททางเศรษฐกิจของประเทศด้วยมูลค่าของมัน เช่น การจัดเก็บมูลค่า การแสดงตัวเลขมูลค่าในบัญชี และการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน เป็นต้น และรวมไปถึง Seigniorage ที่หมายถึงผลกำไรของรัฐบาลจากการพิมพ์ธนบัตรหรือออกเหรียญกษาปณ์อีกด้วย

Fiat ได้รับความนิยมอย่างมากในศตวรรษที่ 20 โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลและธนาคารกลาง ที่พยายามปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบที่เลวร้ายจากธรรมชาติของวัฏจักรธุรกิจ ซึ่งหากมีธุรกิจที่ต้องปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเหตุให้เกิดการว่างงานที่มากขึ้น และดูเหมือนเศรษฐกิจเป็นไปในทางที่ไม่ดีนัก ซึ่งสิ่งที่แฝงอยู่ก็คือเมื่อผู้คนว่างงานเป็นจำนวนมาก กำลังจับจ่ายใช้สอยจะลดต่ำลงเนื่องจากพวกเขาขาดรายได้ โดยจะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานเริ่มไม่สมดุลระหว่างกัน หรือกำลังเกิดภาวะเงินฝืด

เนื่องจาก Fiat ไม่ใช่ทรัพยากรที่หายากหรือมีที่มาตายตัวแบบทองคำ ดังนั้นศูนย์กลางอย่างธนาคารจึงสามารถควบคุมอุปทานได้ดีกว่ามาก รวมไปถึงมีอำนาจในการจัดการตัวแปรทางเศรษฐกิจอย่างการจัดหาสินเชื่อ สภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย และความเร็วของกระแสการเงิน ตัวอย่างเช่น US Federal Reserve หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ถือเป็นสถาบันการเงินที่มีอำนาจที่สุดในโลก โดยมีอำนาจหลักสองประการคือ เพื่อดูแลอัตราการว่างงานโดยเพิ่มอัตราจ้างงานให้สูงสุด และรักษาเสถียรภาพทางการเงินโดยการดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น

ข้อเสีย
เนื่องด้วย Fiat ไม่ได้ถูกตรึงมูลค่าไว้กับสินทรัพย์ที่มีตัวตน แต่มีมูลค่าได้เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายการคลัง และระเบียบข้อบังคับที่รับผิดชอบโดยรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งหากรัฐบาลมีนโยบายทางการเงินที่ขาดความรับผิดชอบ อาจนำไปสู่หายนะทางการเงิน เช่น ภาวะเงินเฟ้อ และเหตุการณ์ฟองสบู่ เป็นต้น โดยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เป็นเหตุมาจากการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลต่างก็มีให้เห็นมาแล้วมากมาย โดยจะขอยกตัวอย่าง 2 เหตุการณ์สำคัญและเป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไปดังต่อไปนี้

  • วิกฤตการณ์ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperinflation) ในประเทศซิมบับเว
    ประเทศซิมบับเวในทวีปแอฟริกาได้เกิดวิกฤตอันเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จากการตอบสนองที่ผิดพลาดต่อปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรง โดยธนาคารกลางของซิมบับเวได้เริ่มพิมพ์เงินออกมาอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก จนส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงกว่า 2 แสนล้านถึง 5 แสนล้านเปอร์เซ็นต์ด้วยกันในปี 2008 และราคาสินค้าต่าง ๆ พุ่งพรวดอย่างรวดเร็วจนถึงขนาดที่ผู้คนในประเทศต้องพกเงินเต็มกระเป๋าเดินทางเพียงเพื่อจะนำไปซื้อลวดเย็บกระดาษธรรมดาเท่านั้น ซึ่งในช่วงวิกฤตสูงสุดนั้นเงินมูลค่า 100 ล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว มีค่าเทียบเท่าประมาณ 40 เซนต์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือถ้าเทียบเป็นเงินบาทก็มีมูลค่าประมาณ 4 บาทเท่านั้น

 

  • วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 เมื่อรัฐบาลไทยมีนโยบายเสรีทางการเงิน เปิดโอกาสให้เงินไหลเข้าออกประเทศได้อย่างเสรีเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษกิจ และเนื่องจากในขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศสูงถึงราว 14 – 17% ต่อปี แต่การกู้เงินจากธนาคารต่างชาตินั้นมีอัตราดอกเบี้ยเพียง 5% ต่อปีเท่านั้น จึงทำให้เกิดการกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้นและอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และปัจจัยสำคัญคือการกู้เงินจากต่างประเทศนั้นเป็นการกู้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ การใช้หนี้ก็ต้องใช้คืนเป็นดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเวลานั้นรัฐบาลไทยใช้นโยบายค่าเงินคงที่ว่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โดยในความเป็นจริงอัตราแลกเปลี่ยนควรจะเป็นไปตามกลไกของอุปสงค์อุปทาน แต่ทางรัฐบาลไทยยืนยันว่าสามารถคงค่าเงินบาทไว้ในอัตราเดิมได้ด้วยการพยุงค่าเงินไว้ด้วยเงินสำรองในคลัง โดยท้ายที่สุดก็ถึงวันที่เงินสำรองแทบจะหมดลง จึงทำให้เกิดจุดแตกหักขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ทางรัฐบาลได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาทให้เป็นไปตามกลไกตลาด จึงทำให้อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งขึ้นไปเป็น 50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในชั่วพริบตา และคนที่กู้เงินมาเพราะคิดว่าดอกเบี้ยถูก จากที่มีหนี้สิน 1 ล้านบาท ก็กลายเป็น 2 ล้านบาทในชั่วข้ามคืน (อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ Bitcoin&Blockchain 101)

นโยบายทางการเงินที่ดีจะช่วยส่งเสริมคุณภาพของ Fiat ให้แข็งแกร่ง

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถหรูซูเปอร์คาร์

เพิ่มเติม

ประกันตามไมล์ ขับน้อย จ่ายน้อย

เพิ่มเติม

รถเช่า

เพิ่มเติม

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรเมื่อรถเสีย

เพิ่มเติม