Non-Fungible Token (NFT) คืออะไร?
โทเคนที่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
โทเคนที่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
Non-Fungible Token (NFT) หรือโทเคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมูลค่าได้ ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Assets) ที่ทำงานอยู่บน Blockchain มีรูปแบบโค้ดประจำตัวและคุณลักษณะ (Metadata) ที่ไม่ซ้ำกัน สิ่งนี้ทำให้ NFT มีความแตกต่างจากคริปโตโดยสิ้นเชิง นอกจากจะไม่สามารถทำการเทรดหรือแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกันแล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปก็คือคริปโตเป็น Fungible Token ที่สามารถนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ได้
ด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกันในแต่ละรายการของ NFT ซึ่งมีศักยภาพสำหรับข้อบ่งชี้ในการใช้งานหลายกรณีด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เป็นสื่อกลางในการแสดงถึงสินทรัพย์ทางกายภาพอย่างอสังหาริมทรัพย์และงานศิลปะต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล เป็นต้น เนื่องจาก NFT ใช้ Blockchain เป็นองค์ประกอบหลัก ดังนั้นจึงสามารถกำจัดตัวกลาง ลดความซับซ้อนของธุรกรรม และสร้างตลาดใหม่ได้
ในปัจจุบันตลาด NFT ส่วนใหญ่เน้นไปที่ของสะสม เช่น งานศิลปะดิจิทัล, Sports card และของหายาก เป็นต้น โดยตลาด NFT ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในช่วงนี้ก็น่าจะเป็น NBA Top Shot ที่จะรวบรวมช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขัน NBA ในรูปแบบการ์ดดิจิทัลหรือการ์ดเสมือนจริง ซึ่งมีการ์ดบางใบขายได้หลายล้านดอลลาร์ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Jack Dorsey ซีอีโอของ Twitter ได้ทำการทวีตว่า “just setting up my twttr.” ซึ่งเป็นทวีตแรกในเวอร์ชันของ NFT และได้รับการเสนอราคาสูงถึง 2.9 ล้านดอลลาร์
คริปโตสามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกันได้เช่นเดียวกับเงินที่จับต้องได้ที่ใช้กันในโลกจริง ตัวอย่างเช่น 1 Bitcoin มีค่าเท่ากับ Bitcoin อื่นเสมอ ในทำนองเดียวกันนี้ Ethereum หน่วยเดียวก็จะเท่ากับหน่วยอื่นเช่นเดียวกัน ด้วยลักษณะการทำงานที่เข้ากันได้นี้ทำให้คริปโตมีความเหมาะสมสำหรับการใช้เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยในเศรษฐกิจดิจิทัล
NFT เปลี่ยนกระบวนการของการเข้ารหัสลับทางดิจิทัล โดยการทำให้แต่ละโทเคนมีเอกลักษณ์และไม่สามารถถูกแทนที่ได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ NFT หนึ่งอันจะเท่ากับ NFT อื่น เนื่องด้วยแต่ละโทเคนมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างคือการ “Breed” หรือการขยายพันธุ์โดยสามารถรวม NFT หนึ่งเข้ากับอีก NFT หนึ่ง แล้วจะเกิด NFT ใหม่ที่ไม่เหมือนใครได้อีกด้วย
NFT มีการระบุรายละเอียดการเป็นเจ้าของเพื่อความสะดวกในการซื้อขายระหว่างผู้ถือครองสินทรัพย์ได้เช่นกัน นอกจากนี้เจ้าของยังสามารถเพิ่มข้อมูลคุณลักษณะและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน NFT ตัวอย่างเช่น ศิลปินลงนามบนงานศิลปะดิจิทัลด้วยลายเซ็นของตนเองได้ เป็นต้น
NFT ทำงานอยู่บนระบบมาตรฐานโทเคน ERC-721 ซึ่งพัฒนาโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันที่รับผิดชอบ Smart Contract บนระบบ ERC-20 นั่นเอง แต่มีความแตกต่างที่ ERC-721 จะกำหนดอินเทอร์เฟซขั้นต่ำภายในระบบคือ รายละเอียดการเป็นเจ้าของ ความปลอดภัย และข้อมูลคุณลักษณะ (Metadata) โดยข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแลกเปลี่ยนและแจกจ่ายโทเคนอีกด้วย ส่วนในเรื่องของแนวคิดเพิ่มเติมเรื่องลดต้นทุนการทำธุรกรรมนั้น ระบบการจัดเก็บที่จำเป็นสำหรับ NFT และการรวมกลุ่มของ NFT ไว้ในสัญญาเดียวก็จะใช้ระบบมาตรฐานโทเคน ERC-1155 ร่วมด้วย
หากพูดถึงการใช้งาน NFT ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ Cryptokitties ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 โดย Cryptokitties เป็นตัวแทนดิจิทัลของแมวที่มีการระบุตัวตนที่ไม่ซ้ำกันบน Blockchain ของ Ethereum ซึ่งแมวแต่ละตัวมีเอกลักษณ์เฉพาะและมีราคาเป็น ETH โดยพวกมันสามารถสืบพันธุ์กันเองและให้กำเนิดลูกหลานใหม่ได้ ที่จะมีคุณลักษณะและมูลค่าที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับตัวพ่อแม่ ซึ่งภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากเปิดตัว Cryptokitties ก็ได้สร้างฐานแฟนคลับที่ใช้เงินมูลค่ารวมกว่า 20 ล้านดอลลาร์ในการซื้อ ETH, ให้อาหาร และเลี้ยงดูเหล่าแมวดิจิทัล นอกจากนี้ผู้ที่คลั่งไคล้บางคนถึงกับใช้เงินไปมากกว่า 100,000 ดอลลาร์ไปกับพวกมันอีกด้วย
แม้ว่ากรณีการใช้งาน Cryptokitties อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เหมือนการเล่นเกมส์เสียมากกว่า แต่สิ่งที่ตามมานั้นมีความหมายทางธุรกิจที่สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น มีการใช้ NFT ในการทำธุรกรรมของภาคเอกชน เช่นเดียวกับข้อตกลงด้านอสังหาริมทรัพย์ และความหมายอย่างหนึ่งของการเปิดใช้งาน NFT หลากหลายประเภทตั้งแต่งานศิลปะไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์นั้น คือความสามารถในการจัดหาสัญญาที่จะทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ Single Transaction หรือการทำธุรกรรมทีละรายการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย NFT ได้อีกด้วย
Non-Fungible Token (NFT) หรือโทเคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมูลค่าได้ ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto Assets) ที่ทำงานอยู่บน Blockchain มีรูปแบบโค้ดประจำตัวและคุณลักษณะ (Metadata) ที่ไม่ซ้ำกัน สิ่งนี้ทำให้ NFT มีความแตกต่างจากคริปโตโดยสิ้นเชิง นอกจากจะไม่สามารถทำการเทรดหรือแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกันแล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปก็คือคริปโตเป็น Fungible Token ที่สามารถนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ได้
ด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกันในแต่ละรายการของ NFT ซึ่งมีศักยภาพสำหรับข้อบ่งชี้ในการใช้งานหลายกรณีด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เป็นสื่อกลางในการแสดงถึงสินทรัพย์ทางกายภาพอย่างอสังหาริมทรัพย์และงานศิลปะต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล เป็นต้น เนื่องจาก NFT ใช้ Blockchain เป็นองค์ประกอบหลัก ดังนั้นจึงสามารถกำจัดตัวกลาง ลดความซับซ้อนของธุรกรรม และสร้างตลาดใหม่ได้
ในปัจจุบันตลาด NFT ส่วนใหญ่เน้นไปที่ของสะสม เช่น งานศิลปะดิจิทัล, Sports card และของหายาก เป็นต้น โดยตลาด NFT ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในช่วงนี้ก็น่าจะเป็น NBA Top Shot ที่จะรวบรวมช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขัน NBA ในรูปแบบการ์ดดิจิทัลหรือการ์ดเสมือนจริง ซึ่งมีการ์ดบางใบขายได้หลายล้านดอลลาร์ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Jack Dorsey ซีอีโอของ Twitter ได้ทำการทวีตว่า “just setting up my twttr.” ซึ่งเป็นทวีตแรกในเวอร์ชันของ NFT และได้รับการเสนอราคาสูงถึง 2.9 ล้านดอลลาร์
“เพิ่มคุณค่าให้กับ Digital Art ของคุณด้วยตลาด NFT”