Connect with us

สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) คืออะไรและทำงานอย่างไร?

กระบวนการสร้างสัญญาทางดิจิทัลที่ดำเนินการอัตโนมัติโดยไม่ผ่านคนกลาง

Smart Contract คืออะไร?

สัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract คือสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เขียนข้อสัญญาโดยตรงบน Coding ของสัญญาที่ทำตามคำสั่งง่าย ๆ อย่างเช่น “IF/THEN” ซึ่ง Coding และข้อตกลงที่อยู่ภายใน Smart Contract นั้นทำงานอยู่บนเครือข่าย Blockchain แบบกระจายศูนย์อำนาจ โดยตัวสัญญาจะควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ และติดตามรายการธุรกรรมโดยไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้
Smart Contract อนุญาตให้ทำธุรกรรมและเขียนข้อตกลงที่เชื่อถือได้ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อ และไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจกลาง, ระบบกฎหมาย หรือกลไกบังคับใช้ภายนอก

ในขณะที่เทคโนโลยี Blockchain ที่ถูกมองว่าเป็นรากฐานของ Bitcoin เป็นหลัก แต่ความจริงแล้วก็มีการพัฒนาไปไกลกว่าเพียงแค่การเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนสกุลเงินเสมือนจริงหรือคริปโตเคอเรนซีในปัจจุบัน

จุดเด่น

  • Smart Contract เป็นสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองอัตโนมัติ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เขียนไว้โดยตรงบน Coding ของสัญญา
  • Nick Szabo นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันได้ระบุว่า Smart Contract เป็นโปรโตคอลการทำธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญา
  • Smart Contract ทำให้รายการธุรกรรมสามารถตรวจสอบย้อนหลัง, โปร่งใส และเปลี่ยนแปลงไม่ได้

Smart Contract ทำงานอย่างไร?

Smart Contract ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 1994 โดย Nick Szabo นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นสกุลเงินเสมือนจริงที่เรียกว่า “BitGold” ในปี 1998 เป็นช่วง 10 ปีก่อนการกำเนิด Bitcoin โดยอันที่จริง Nick Szabo มักถูกลือกันว่าเป็น Satoshi Nakamoto ที่เป็นผู้ให้กำเนิด Bitcoin ขึ้นในปี 2009 แต่เข้าปฏิเสธว่าไม่ใช่ความจริง
Nick Szabo ระบุว่า Smart Contract เป็นโปรโตคอลธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งเขาต้องการขยายการทำงานของกระบวนการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น POS (Point Of Sales) ไปสู่อาณาจักรดิจิทัล

ซึ่งจากรายงานของ Szabo ปรากฎให้เห็นว่าหลาย ๆ คำทำนายของเขานั้นเป็นความจริงในแบบที่นำหน้าเทคโนโลยี Blockchain ตัวอย่างเช่น เขาระบุว่าการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าส่วนใหญ่ที่ดำเนินการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นใช้เงื่อนไขที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น อย่างการซื้อขายอนุพันธ์มีเงื่อนไขมากมาย และใช้เวลาดำเนินการที่นานมาก ซึ่งเราควรสร้างสิ่งที่จะนำมาลดข้อจำกัดเหล่านี้ลง เป็นต้น

ภายใน Smart Contract นั้นสามารถมีข้อกำหนดได้มากเท่าที่จำเป็นเพื่อตอบสนองผู้เข้าร่วมสัญญา และในการสร้างเงื่อนไขนั้นผู้เข้าร่วมสัญญาต้องกำหนดว่าธุรกรรมและข้อมูลของพวกเขาจะแสดงบน Blockchain อย่างไร และจะดำเนินการต่อเนื่องเมื่อเข้าเงื่อนไข IF/THEN ของโค้ดที่ถูกเขียนไว้ภายในสัญญา

ประยุกต์ใช้ Smart Contract ได้อย่างไรบ้าง?

กระบวนการใหม่สำหรับการระงับข้อพิพาท
ความคลาดเคลื่อนในการชำระบัญชีทางการเงินเกี่ยวกับการดำเนินการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการดำเนินการ โดย Smart Contract สามารถเข้ามาช่วยให้เกิดความคล่องตัวในกระบวนการเหล่านี้หากมีการนำมาประยุกต์ใช้ เช่น การระบุความคลาดเคลื่อนของค่าดำเนินการ การกระทบยอดบัญชี การทำธุรกรรมชำระบัญชี และการระงับข้อพิพาท เป็นต้น
สร้าง Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น
คำตอบที่ดีที่สุดของการใช้ Smart Contract สำหรับห่วงโซ่อุปทานของ IBM Blockchain คือเพื่อปรับปรุงการไหลของสินค้าที่สามารถเรียกใช้งานขั้นตอนต่อไปโดยอัตโนมัติ เมื่อขั้นตอนปัจจุบันถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว เช่น การส่งสินค้า การส่งมอบ และข้อมูล IoT ที่เกี่ยวกับเงื่อนไขในระหว่างการจัดการ ซึ่งผู้ที่นำไปใช้สามารถดำเนินการได้ก่อนเพื่อป้องกันการหยุดชะงักหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบการเงิน
Smart Contract เป็นองค์ประกอบสำคัญของ we.trade ซึ่งเป็นองค์กรด้านการเทรดที่ได้ IBM Blockchain เข้ามาช่วยสร้างระบบนิเวศแห่งความน่าเชื่อถือสำหรับการเทรด ซึ่งมีกฎมาตรฐานและตัวเลือกการซื้อขายที่ง่ายขึ้น โดยการเข้ารหัสใน Smart Contract จะช่วยลดความเสี่ยงในการเทรด และช่วยให้ผู้คนเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ เป็นต้น

“Smart Contract ช่วยลดความซับซ้อนในการดำเนินการ ด้วยการตัดคนกลางที่ไม่จำเป็นออกไป”

ข้อดีของ Smart Contract

ประสิทธิภาพด้านต้นทุน
Smart Contract ทำให้กระบวนการทางธุรกิจครอบคลุมไปจนถึงขอบเขตขององค์กรต่าง ๆ นั้นสามารถขจัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนมากและประหยัดทรัพยากร รวมถึงบุคลากรที่ใช้ในการติดตามความคืบหน้าของกระบวนการที่ซับซ้อน ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

ความรวดเร็วในการประมวลผล
Smart Contract สามารถปรับปรุงเรื่องความรวดเร็วในการประมวลผลของกระบวนการทางธุรกิจได้

มีอิสระ
เครือข่ายการดำเนินการด้วย Smart Contract สามารถทำได้แบบอัตโนมัติ และยังช่วยลดบุคคลที่สามที่ต้องจัดการธุรกรรมระหว่างธุรกิจได้อีกด้วย

ความน่าเชื่อถือ
Smart Contract ยังสามารถใช้ประโยชน์จากบัญชีแยกประเภทบน Blockchain และเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทอื่น ๆ เพื่อรักษาบันทึกธุรกรรมที่ตรวจสอบได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หลังจากอนุมัติแล้ว นอกจากนี้ยังรองรับรายการธุรกรรมอัตโนมัติที่ช่วยขจัดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ (Human Error) และรับรองความถูกต้องในการทำสัญญาได้เช่นกัน

Smart Contract เป็นหัวใจสำคัญของคริปโตเคอเรนซีหลายสกุล เช่น Ethereum

ปัญหาทั่วไปและความท้าทายที่พบเจอ

มีปัญหาและความท้าทายมากมายที่ต้องพิจารณาหากมีการวางแผนเปิดตัว Smart Contract ดังนี้

  • ความปลอดภัยของเทคโนโลยียังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีใหม่และเหล่าแฮ็กเกอร์ยังคงพยายามหาช่องโหว่ของมันอยู่ตลอดเวลา
  • Oracle (หนึ่งในแหล่งข้อมูลสตรีมมิ่งที่คอยอัปเดตรายการธุรกรรม) มีความจำเป็นต้องป้องกันแฮ็กเกอร์ที่แกล้งทำให้เกิดเหตุการณ์ทริกเกอร์บน Smart Contract ให้เกิดการดำเนินการผิดพลาด โดย Oracle นั้นได้ทำการตั้งโปรแกรมจำลองเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำและอุดช่องโหว่ เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง
  • การจัดลำดับความสำคัญยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่า Smart Contract ที่สามารถเร่งการดำเนินการของเหล่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมหลายฝ่ายได้นั้น อาจไม่ได้คำนึงถึงว่าจะสอดคล้องกับความตั้งใจและความเข้าใจของทุกฝ่ายหรือไม่ ซึ่งนี่อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เนื่องจากลักษณะการทำงานของสัญญาจะลื่นไหลอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก และหากเกิดข้อโต้แย้งขึ้นมาระหว่างการดำเนินงาน อาจทำให้แก้ปัญหาได้ยากยิ่งขึ้น
  • ยังคงมีความซับซ้อนในการดำเนินการและการจัดการ ซึ่งมักกำหนดให้ข้อสัญญานั้นทำได้ยากหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ ถึงแม้สิ่งนี้จะได้เปรียบในเรื่องความปลอดภัย แต่ในทางกลับกันนั้นคู่สัญญาจะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในข้อตกลงสัญญา หรือรวบรวมรายละเอียดใหม่ได้โดยไม่ต้องการที่จะสร้างสัญญาใหม่ แน่นอนว่าสิ่งที่ทำได้คือการสร้างสัญญาใหม่เท่านั้น

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์สำหรับผู้พิการ

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์แบบระบุชื่อคนขับ 2 คน

เพิ่มเติม

ความคุ้มครองเติมน้ำมันผิดประเภท

เพิ่มเติม

ส่วนลดประวัติดี

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่

เพิ่มเติม