Stablecoin คริปโตเคอเรนซีที่มีมูลค่าคงที่
คริปโตเคอเรนซีที่ผูกมูลค่าตัวเองไว้กับสินทรัพย์อ้างอิง
คริปโตเคอเรนซีที่ผูกมูลค่าตัวเองไว้กับสินทรัพย์อ้างอิง
Stablecoin หรือเหรียญมั่นคง ถือเป็นคลาสใหม่ของคริปโตเคอเรนซีที่มีความพยายามที่จะนำเสนอความเสถียรภาพด้านราคาและการสนับสนุนจากสินทรัพย์สำรอง โดยการนำเสนอไอเดีย Stablecoin ผู้ที่นำเสนอกลับได้รับแรงทัดทานกลับมาทั้งที่เป็นการนำเสนอที่ดีที่สุดสำหรับระบบการเงินทั้งสองโลก (Fiat Currency & Cryptocurrency) ซึ่งเป็นไอเดียที่เป็นการนำเอาจุดเด่นของการเงินทั้งสองโลกมาผนวกเข้าด้วยกัน คือการประมวลผลทันทีและการรักษาความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของการชำระเงินในระบบการเงินคริปโตเคอเรนซี ร่วมกับการประเมินมูลค่าของสกุลเงินดั้งเดิม (Fiat Currency) ที่มีเสถียรภาพปราศจากความผันผวนของราคาเอาไว้ด้วยกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า “Stablecoin”
ถึงแม้ว่า Bitcoin ยังคงเป็นคริปโตเคอเรนซีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนสูงในการประเมินมูลค่า ตัวอย่างเช่น ราคาที่เพิ่มระดับจาก $12,000 ของกลางเดือนธันวาคม ปี 2020 ไปสู่ราคา $42,000 ในช่วงต้นเดือนมกราคม ปี 2021 และในช่วงกลางเดือนเมษายน ปี 2021 ราคาสูงสุดของ Bitcoin อยู่ที่ $64,000 แต่กลับลดลงเหลือ $28,000 ในช่วงเวลาสองเดือนต่อมา และแม้แต่การแกว่งของราคาในระหว่างวันก็ถือเป็นเรื่องที่เลวร้ายเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากที่จะเห็นคริปโตเคอเรนซีเคลื่อนไหวเกิน 10% ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือบางครั้งก็เพียงแค่หลักนาทีเท่านั้น
ซึ่งความผันผวนในระยะสั้นประเภทนี้ทำให้ Bitcoin และคริปโตเคอเรนซียอดนิยมอื่น ๆ อาจไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของสาธารณชนเท่าใดนัก โดยพื้นฐานแล้วสกุลเงินที่ดีควรทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตราและควรมีการจัดเก็บมูลค่าที่มีความคงที่ให้มากที่สุด ซึ่งมูลค่าของสกุลเงินก็ควรจะมีความคงที่เป็นช่วงเวลายาวนานด้วยเช่นกัน
โดยตามหลักการแล้วคริปโตเคอเรนซีจะทำการรักษากำลังซื้อหรืออุปสงค์เอาไว้ และควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำให้ผู้คนส่วนมากจะเน้นการถือครองไว้เป็นหลัก เนื่องจากผู้คนมีความกังวลในเรื่องของปริมาณอุปทานหมุนเวียนที่มีจำนวนจำกัดในหลาย ๆ สกุลเงิน ซึ่งการจะทำให้ผู้คนหันมาใช้คริปโตเคอเรนซีในรูปแบบเดียวกับสกุลเงินดั้งเดิมนั้น จำนวนของคริปโตเคอเรนซีควรจะต้องมีปริมาณเพียงพอที่จะส่งเสริมการใช้งานไปกับการซื้อขายหรือใช้จ่ายแทนการออมหรือถือครองไว้กับตัว โดยหลักการของ Stablecoin สามารถตอบสนองต่อความกังวลในข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
มี 2 เหตุผลหลักด้วยกัน สำหรับเสถียรภาพด้านราคาของสกุลเงินดั้งเดิม คือการมีเงินสำรองที่ Back-up ไว้ และการดำเนินการของตลาดในเวลาที่เหมาะสมผ่านการควบคุมโดยหน่วยงานกลาง เช่น ธนาคารกลาง เป็นต้น ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหลักประกันการประเมินมูลค่าของเหล่าสกุลเงินให้ปราศจากความผันผวนได้
แม้ในบางกรณี ที่หากการประเมินมูลค่าของสกุลเงินดั้งเดิมนั้นเกิดการเคลื่อนไหวของราคาอย่างรุนแรงขึ้น หน่วยงานกลางที่ควบคุมก็จะเข้ามาจัดการอุปสงค์และอุปทานของสกุลเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาในทันที ซึ่งคริปโตเคอเรนซีจำนวนมากนั้นขาดคุณสมบัติหลักทั้ง 2 ข้อนี้ คือไม่มีเงินสำรองในการประเมินมูลค่า และไม่มีอำนาจกลางในการควบคุมราคาเมื่อมีเหตุจำเป็น
Stablecoin พยายามเข้ามาเชื่อมช่องว่างระหว่างสกุลเงินดั้งเดิม และคริปโตเคอเรนซีข้าด้วยกัน ซึ่งจะมี Stablecoin 3 ประเภทที่แตกต่างกันในเรื่องของกลไกการทำงาน ดังนี้
Fiat-Collateralized Stablecoin
เป็น Stablecoin ที่มีการค้ำประกันโดยสกุลเงินดั้งเดิม (Fiat Currency) เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ไว้เป็นหลักประกันในการออกคริปโตเคอเรนซีเป็นจำนวนที่เหมาะสม โดยยังมีหลักประกันประเภทอื่น ๆ อีกอาจรวมถึงโลหะมีค่า เช่น ทองคำหรือเงิน ซึ่งมีคริปโตเคอเรนซีที่ใช้มันเป็นหลักประกันสำรองเช่นกัน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน เป็นต้น แต่เหรียญ Stablecoin ที่มีหลักประกันโดยสกุลเงินดั้งเดิมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เงินสำรองในสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก
ซึ่งเงินสำรองดังกล่าวได้รับการดูแลโดยผู้ดูแลอิสระเท่านั้น และจะได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จำเป็น เช่น ความโปร่งใสและการคงเสถียรภาพทางราคาเอาไว้ เป็นต้น โดย Stablecoin ประเภทนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบันและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น Tether (USDT) และ TrueUSD เป็นต้น ซึ่งทั้งสองสกุลนี้มีมูลค่าเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วยการผูกตรึงมูลค่าโดยตรง และสำรองเงินหลักประกันในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ด้วยเช่นกัน
Crypto-Collateralized Stablecoin
“Stablecoin ที่มีหลักประกันส่วนเกิน” เป็นการค้ำประกันด้วยเงินสำรองจากมูลค่าของคริปโตเคอเรนซีที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากคริปโตเคอเรนซีดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะเกิดการผันผวนที่สูงขึ้น ก็อาจทำให้ Stablecoin สกุลดังกล่าวมีมูลค่าของเงินสำรองที่มากจนเกินไป หมายความว่าเมื่อมูลค่าของเงินสำรองที่เป็นหลักประกันมีจำนวนที่เกินออกมานั้น ก็จะถูกเก็บไว้เป็นเงินสำรองอีกทอดหนึ่งสำหรับการออกเหรียญ Stablecoin ที่มีเสถียรภาพน้อยกว่าต่อไปในอนาคตได้
ตัวอย่างเช่น ETH ที่มีมูลค่า $2,000 ได้ถูกเก็บไว้เป็นทุนสำรองสำหรับการออกเหรียญ Stablecoin สกุลหนึ่งที่มีมูลค่าโดยรวม $1,000 ซึ่งนั่นหมายความว่าได้มีการรองรับความผันผวนของสกุลเงินสำรอง ETH มากถึง 50% โดยหากมีการตรวจสอบและติดตามที่บ่อยครั้งขึ้นจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของราคาได้อีกด้วย และอีกตัวอย่างคือเหรียญ DAI ของบริษัทผู้สร้างที่ชื่อ MakerDAO ได้ผูกตรึงมูลค่าเหรียญไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ใช้มูลค่าของคริปโตเคอเรนซีเป็นเงินสำรองหลักประกัน เป็นต้น
Non-Collateralized (algorithmic) Stablecoin
เป็น Stablecoin ที่ไม่มีหลักประกันและไม่ได้ใช้เงินสำรองใด ๆ แต่ใช้กลไกการทำงานเช่นเดียวกับธนาคารกลาง เพื่อรักษาราคาให้คงที่ ตัวอย่างเช่น Basecoin ที่ตรึงมูลค่าไว้กับดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้กลไกของอัลกอริธึมเพื่อเพิ่มหรือลดอุปทานของเหรียญนี้ตามความจำเป็น เป็นต้น
โดยกลไกการทำงานดังกล่าว จะคล้ายคลึงกับการควบคุมจำนวนการพิมพ์ธนบัตรของธนาคารกลางเพื่อรักษามูลค่าของสกุลเงินดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่ง Stablecoin ประเภทนี้สามารถสร้างได้โดยการใช้โปรโตคอล Smart Contract บนแพลตฟอร์มการกระจายศูนย์อำนาจ หรือ DEX ที่สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องการการพึ่งพาคนหมู่มากในการสร้างเหรียญได้อีกด้วย
“Stablecoin เชื่อมโยงจุดเด่นของสกุลเงินทั้งสองโลกไว้ด้วยกัน”
ในขณะที่ Bitcoin เป็นคริปโตเคอเรนซีที่ใหญ่ที่สุดตามมูลค่ารวมของตลาด (มูลค่าต่อหน่วยคูณด้วยอุปทานหมุนเวียนในระบบ) ดังนั้น Tether (USDT) ก็ถือเป็นคริปโตเคอเรนซีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฐานะ Stablecoin เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีสกุลอื่น ๆ อีกหลายสกุลด้วยกัน ซึ่งแต่ละสกุลก็จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ดังนี้
Tether (USDT)
เป็น Stablecoin ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด โดยมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด และมูลค่าของสกุลนี้ถูกตรึงไว้ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วยอัตราส่วน 1 : 1 ซึ่งอยู่ในความดูแลของ Tether Ltd. ในเรื่องของเงินทุนสำรอง
USD Coin (USDC)
เป็นคริปโตเคอเรนซีที่มีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนอกจากนี้ USDC ถูกสร้างขึ้นโดยโปรโตคอลของ Ethereum หรือระบบ ERC-20 โดยได้รับการสนับสนุนจากสองบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจในโลกการเงินดิจิทัล คือ Circle และ Coinbase ซึ่งมีการ Back-up ไว้ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในอัตราส่วน 1 : 1 เช่นกัน
PAXOS
เป็น Stablecoin ที่ได้รับการ Back-up จากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน และถูกควบคุมโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า New York State Department of Financial Services (NYDFS) ซึ่ง PAXOS ก็ถูกสร้างขึ้นบนโปรโตคอล ERC-20 เช่นเดียวกับ Stablecoin ส่วนใหญ่ แต่การทำงานนั้นจะอยู่บนแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์อำนาจ (DEX) เป็นหลัก
TrueUSD
เป็น Stablecoin ที่ได้รับการ Back-up จากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในอัตราส่วน 1 : 1 โดยบริษัทที่ดูแลเรื่องเงินทุนสำรองและการทำงาน คือ TrustToken และถือว่าสกุลดิจิทัลตัวนี้เป็น Stablecoin ตัวแรกที่ถูกควบคุมการทำงานโดยตรง ซึ่งจะเน้นหลักการทำงานไปที่การตรวจสอบความโปร่งใสเป็นหลัก
MakerDAO (DAI)
ถือเป็นอีก Stablecoin ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน โดยมีอัตราส่วนต่อดอลลาร์สหรัฐคือ 1 : 1 และถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องการทำงานของ Tether (USDT) ซึ่ง DAI มีข้อแตกต่างไปจาก Stablecoin ทั่วไปคือมันจะถูกควบคุมการใช้งานโดยระบบ Smart Contract จากผู้ที่ถือคริปโตเคอเรนซีที่ชื่อว่า MKR อีกทีหนึ่ง และบริษัท MakerDAO จะมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเหรียญ DAI ไม่ให้มีมากเกินไปจนเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้
Stablecoin มอบประสบการณ์การใช้จ่ายที่เหมือนการใช้สกุลเงินดั้งเดิม