Connect with us

Yield Farming คืออะไร?

การทำฟาร์มและเก็บเกี่ยวผลผลิตในโลกดิจิทัลด้วยคริปโตเคอเรนซี

การทำฟาร์มบนโลกการเงินดิจิทัล

Yield Farming มีความหมายเดียวกับคำว่า Liquidity Mining ที่หมายถึงว่า “การให้สภาพคล่อง” ซึ่งการลงทุนประเภทนี้จะคล้ายกันกับการฝากเงินในธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ย (เงินสด) เป็นผลตอบแทน เพียงแต่การทำ Yield Farming นั้นผู้ลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นรูปแบบของคริปโตแทน โดยสถานที่ที่คุณจะเข้าไปทำ Yield Farming ได้นั้นเรียกว่า “DeFi Platform” หรือ Decentralized Exchange (DEX) เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีคนกลางคอยดูแล หมายความว่า การดำเนินการทุกอย่างนั้นจะทำผ่านระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า “Automated Market Maker (AMM)

จุดเด่น

  • ผลตอบแทนสูงที่ได้รับจากส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมและ Governance Token
  • ดำเนินการบนแพลตฟอร์มกระจายอำนาจ (DEX) ที่ไร้คนกลาง
  • ผลตอบแทนสูงมักจะมาพร้อมความเสี่ยงสูง ดังนั้นควรศึกษาก่อนลงทุน

Yield Farming ทำงานอย่างไร?

การที่ผู้ลงทุนนำเอาสินทรัพย์ของตนเองไปทำ Yield Farming นั้น ทางแพลตฟอร์มก็จะนำเอาสินทรัพย์ดังกล่าวไปให้ผู้ลงทุนรายอื่นบนแพลตฟอร์มได้เข้ามาซื้อ แลกเปลี่ยน หรือแม้แต่การกู้ยืมได้เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการทำ Yield Farming ถึงเกี่ยวข้องกับคำว่าสภาพคล่องโดยตรง เนื่องจากเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่แพลตฟอร์ม นอกจากนี้ทางแพลตฟอร์มก็จะจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบของส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม และโทเคนประจำแพลตฟอร์มที่โดยทั่วไปจะเรียกว่า “Governance Token” และในขณะเดียวกันผู้ลงทุนก็สามารถนำผลตอบแทนที่ได้นั้นไปทำ Yield Farming หมุนวนไปเรื่อย ๆ ซึ่งอาจจะแบ่งไปทำในหลาย ๆ แพลตฟอร์มก็ได้เช่นกันเพื่อรับผลตอบแทนเพิ่มเติมทวีคูณ

ผลตอบแทนอยู่ในรูปแบบใด?

1. ผู้ลงทุน (Yield Farmer) นำสินทรัพย์ไปฝากไว้ในแพลตฟอร์มใดก็ได้ เมื่อได้รับโทเคน (Governance Token) เป็นผลตอบแทนแล้ว ก็นำโทเคนนั้นกลับเข้าไปฝากเพิ่มอีกครั้ง หมายถึงเป็นการนำเอากำไรไปทำเป็นเงินทุนต่ออีกทอดหนึ่ง (ผลตอบแทน = โทเคน + ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม)

2. หรือเมื่อผู้ลงทุนได้รับโทเคนจากแพลตฟอร์มในข้อ 1 แล้วก็ให้นำโทเคนนั้นออกมาเพื่อเอาไปฝากในแพลตฟอร์มอื่น เพื่อเป็นการทวีผลตอบแทน (กรณีนี้ก็จะได้รับโทเคนจากแพลตฟอร์มที่ 2 เช่นเดียวกัน)

3. นำโทเคนจากแพลตฟอร์มที่ 2 ไปลงทุนในแพลตฟอร์มอื่น ต่อไปเรื่อย ๆ

ซึ่งการลงทุนรูปแบบดังกล่าวนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยไม่ต้องหั่นแบ่งผลตอบแทนกับใคร ซึ่งผลตอบแทนนั้นอาจได้รับตั้งแต่ 10% และอาจสูงสุดถึง 500% ต่อปีก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกแพลตฟอร์มก็เป็นสิ่งสำคัญต่อผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่รูปแบบการจ่ายผลตอบแทนไปจนถึงระบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในระยะยาว

“เป็นชาวนาในโลกดิจิทัลด้วยการทำ Yield Farming”

Yield Farming vs การลงทุนรูปแบบอื่น ๆ

Yield Farming vs Crypto Mining (การทำฟาร์มและการขุดคริปโต)
Yield Farming นั้นใช้หลักการทำงานบนเครือข่าย Ethereum โดยเป็นการเงินระบบ DeFi ที่จะอยู่บนแพลตฟอร์ม DEX หรือแพลตฟอร์มกระจายอำนาจ แต่ในทางกลับกัน Crypto Mining นั้นเป็นวิธีการสร้างรายได้แบบเก่าที่ทำงานอยู่บนอัลกอริธึม Proof of Work

Yield Farming vs Liquidity Mining (การทำฟาร์มและการขุดสภาพคล่อง)
การลงทุนทั้งสองประเภทนั้นดำเนินการในรูปแบบ DeFi เป็นหลัก ซึ่งมีกระบวนการเดียวกันคือการให้สภาพคล่องและเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามวิธีการให้สภาพคล่องของทั้งคู่นั้นมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย โดยทุกครั้งที่คุณให้สภาพคล่องแก่แพลตฟอร์มใดก็ตามเพื่อรับโทเคนนั้นจะเรียกว่า “Yield Farming” แต่ในขณะเดียวกันสำหรับ “Liquidity Mining” นั้นจะหมายถึงการให้สภาพคล่องแก่แพลตฟอร์ม DeFi ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่เพื่อรับผลตอบแทนเป็นโทเคนที่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นเหตุผลที่เรียกว่าการขุดสภาพคล่อง เนื่องจากเป็นการริเริ่มการทำงานของแพลตฟอร์มใหม่

Yield Farming vs Staking (การทำฟาร์มและการเดิมพัน)
Yield Farming มีความซับซ้อนกว่ามากเมื่อเทียบกับการ Staking โดยการ Staking นั้นทำงานอยู่บนอัลกอริธึม Proof of Stake ที่มีหลักการทำงานคือผู้ตรวจสอบจะสร้างบล็อกผ่านกระบวนการสุ่มเลือกและรับรางวัลที่จ่ายโดยนักลงทุนของแพลตฟอร์ม ยิ่งเงินเดิมพันสูง ผลตอบแทนจากการ Staking ก็ยิ่งมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน Yield Farming จะให้ผลตอบแทนจากการใช้ฟังก์ชันของระบบ DeFi เป็นหลัก
โดยทั่วไปการ Staking มักจะเกี่ยวข้องกับเงินทุนที่มีจำนวนมากและอาจใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะครบกำหนดในการรับเงินทุนกลับคืน แต่ในขณะเดียวกันสำหรับ Yield Farming จะสามารถรับ Governance Token หลายรายการ จากหลายแพลตฟอร์มที่เข้าไปลงทุน และสามารถแลกเป็นผลตอบแทนได้ทันที

บริหารการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ดี แต่คุณต้องศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน

ความเสี่ยงที่ควรรู้ก่อนเริ่มทำ Yield Farming

Impermanent Loss
Yield Farming จะลงทุนแบบคู่เหรียญ (Cryptocurrency Pair) ที่ต้องการแลกเปลี่ยนใน Liquidity Pool ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ทำให้มีมูลค่าต่ำกว่าตอนที่เรานำมาฝาก อาจทำให้สัดส่วนของคู่เหรียญเปลี่ยนไป และหากถอนออกมาจะทำให้ขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นการลงทุนคู่เหรียญที่แนะนำคือการจับคู่ระหว่าง Stablecoin ด้วยกันหรือกับคริปโตสกุลใดสกุลหนึ่งจึงเป็นวิธีที่ค่อนข้างรัดกุมกว่า เนื่องจาก Stablecoin มีมูลค่าคงที่อยู่แล้ว ส่วนอีกเหรียญอาจจะมีการขึ้นหรือลงก็ได้

ความเสี่ยงจากการโดนแฮ็ก
เนื่องจากการ Yield Farming ทำผ่านระบบ DeFi จึงจะไม่มีทางรู้เลยว่าใครเป็นคนแฮ็ก ซึ่งในปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์ม DeFi ที่หลากหลาย และในจำนวนนี้ก็ถูกแฮ็กมาแล้วไม่น้อย ดังนั้นจึงควรพิจารณาความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์มให้ดี

ความผันผวนของราคา Governance Token
ในแต่ละแพลตฟอร์ม DeFi ก็จะมีโทเคนเป็นของตนเองเพื่อใช้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นจากเดิม แต่หากราคาในตลาดมีความผันผวน สัดส่วนผลตอบแทนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดต่ำลงได้เช่นกัน

ค่าธรรมเนียม
หรือที่เรียกกันในวงการ DeFi ว่าค่า Gas ซึ่งแพลตฟอร์ม DeFi ส่วนมากทำงานอยู่บน Blockchain ของ Ethereum ที่ชื่อว่า ERC-20 หากวงการ DeFi แพร่หลายหรือเป็นที่นิยมมากเท่าไหร่ รายการธุรกรรมก็จะยิ่งแออัดขึ้นเท่านั้น และบนเครือข่าย ERC-20 ก็คงจะมีรายการธุรกรรมที่ต้องตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ดังนั้นส่งผลให้ค่าธรรมเนียมอาจแพงขึ้นและอาจใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้งานมากขึ้นนั่นเอง

สรุปแล้ว Yield Farming ดีหรือไม่?

Yield Farming เป็นทางเลือกการลงทุนรูปแบบหนึ่งของระบบการเงินบนแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องคริปโตระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนที่เลือกใช้ Yield Farming มักจะลงเงินทุนก้อนใหญ่อย่างน้อยก็หลักแสน เพราะรูปแบบของการได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ และสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อย ๆ ซึ่งแทบจะเห็นตัวเลขของผลตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกชั่วโมง

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมสำหรับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ความคุ้มครอง ประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

มูลค่ารถมีผลต่อประกันรถยนต์อย่างไร

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

เพิ่มเติม

การคุ้มครองค่าใช้จ่ายทางกฎหมายของประกันรถยนต์

เพิ่มเติม