Connect with us

เกิดอุบัติเหตุ เบิกเคลมอย่างไรกรณีเสียชีวิต

อุบัติเหตุไม่มีใครอยากให้เกิด หากร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตจะเบิกเคลมอย่างไรได้บ้าง

เบิกเคลมกรณีเสียชีวิตได้จากไหนบ้าง

เนื้อหุ้มเหล็กอย่างการขี่รถจักรยานยนต์มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง ซึ่งสามารถสร้างความสูญเสียถึงขั้นเสียชีวิตได้ การเบิกเคลมจากการเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิต สามารถเบิกเคลมได้จาก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำ และหากทำประกันรถจักรยานยนต์เอาไว้ ก็สามารถทำเรื่องเบิกเคลมจากประกันรถจักรยานยนต์ได้อีกด้วย ทั้งนี้ค่าชดเชยที่พ.ร.บ.และประกันรถจักรยานยนต์ดูแล ก็เพื่อเยียวยาแบ่งเบาภาระค่าเสียหายของผู้เกี่ยวข้องกับผู้ประสบภัย และคนในครอบครัวได้นั่นเอง

จุดเด่น

  • เบิกเคลมกรณีเสียชีวิตได้จาก พ.ร.บ.และประกันรถจักรยานยนต์
  • รู้เอกสารและขั้นตอนเคลม พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กรณีเสียชีวิต
  • รู้เอกสารและขั้นตอนเคลม ประกันรถจักรยานยนต์ กรณีเสียชีวิต

เอกสารเบิกเคลมกรณีเสียชีวิตจาก พ.ร.บ.มีอะไรบ้าง

สำหรับประกันภัยแรกในการเบิกเคลมคือประกันภัยภาคบังคับหรือ พ.ร.บ ซึ่งบุคคลที่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จะต้องเป็นทายาทตามกฎหมายของผู้เสียชีวิตเท่านั้น โดยต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกเคลม ดังนี้

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
– ใบมรณบัตร
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท และบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
– สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ชีวิตเพราะประสบภัยจากรถ

ขั้นตอนเบิกเคลมกรณีเสียชีวิตจาก พ.ร.บ.ทำอย่างไร

สำหรับขั้นตอนในการเบิกเคลม พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์กรณีเสียชีวิต มีขั้นตอนที่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายควรปฏิบัติ ดังนี้

1. โทรติดต่อที่เบอร์บริษัทประกันในเอกสาร พ.ร.บ. ซึ่งสามารถดูเอกสารในกรมธรรม์ได้ หากไม่ทราบหรือหาเอกสารไม่เจอ สามารถโทรสอบถามที่เบอร์ 1186 ได้ ซึ่งเป็นเบอร์ของ คปภ. จะมีข้อมูลของ พ.ร.บ. ทั่วประเทศ

2. เตรียมเอกสารให้พร้อมตามที่บริษัทประกันภัย พ.ร.บ.ร้องขอ

3. ยื่นคำร้อง โดยการกรอกข้อมูลตามจริงในเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายโดยทายาทโดยธรรมเป็นผู้ร้องขอ(แบบ บต.3) ซึ่งจะมีรายละเอียดของผู้ประสบภัยว่าเป็นผู้ยื่นคำร้องเป็นใคร และรายละเอียดของรถคันเอาประกันภัย รวมทั้งระบุการเกิดอุบัติเหตุ

4. การรับเงิน ยื่นใบนัดรับเงิน แสดงบัตรประชาชน ลงชื่อในเอกสารรับเงิน บริษัทจะทำการจ่ายค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

“ผู้ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จะต้องเป็นทายาทตามกฎหมายเท่านั้น”

เอกสารเบิกเคลมกรณีเสียชีวิตจากประกันรถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง

เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์หรือทายาทตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัย ต้องแจ้งให้บริษัทประกันรถจักรยานยนต์ทราบ และต้องเตรียมเอกสารดังนี้

– สำเนาใบมรณบัตร
– แบบฟอร์มถ้อยคำแพทย์ผู้ทำการรักษา
– สำเนาบัตรประชาชนของ “ผู้เอาประกันภัย” และ “ผู้รับประโยชน์ทุกคน” (กรณีผู้เยาว์ที่ไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
– สำเนาทะเบียนบ้านของ “ผู้เอาประกันภัย” และ “ผู้รับประโยชน์ทุกคน”
– แบบฟอร์มใบเรียกร้องสินไหมมรณกรรมและถ้อยคำผู้รับประโยชน์
– กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับจริง หรือหนังสือแจ้งความกรณีสูญหาย
– กรณีชื่อ-นามสกุลของผู้เอาประกันภัย และ/หรือ ผู้รับประโยชน์ ไม่ตรงกับที่ระบุในกรมธรรม์ ให้ส่งหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลของทางราชการ
– สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ ฆ่าตัวตาย ถูกฆาตกรรม อุบัติเหตุ)
– สำเนาใบชันสูตรพลิกศพ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ ฆ่าตัวตาย ถูกฆาตกรรม อุบัติเหตุ)
– รายงานการตรวจศพ (กรณีผ่าศพพิสูจน์)
– เอกสารยืนยันหรืออ้างอิง เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร เป็นต้น (ถ้ามี)

กรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ มีโทษทั้งจำและปรับ

ขั้นตอนเบิกเคลมกรณีเสียชีวิตจากประกันรถจักรยานยนต์ทำอย่างไร

สำหรับขั้นตอนในการเบิกเคลมประกันรถจักรยานยนต์ก็มีความเหมือนกับขั้นตอนการเบิกเคลม พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ โดยมีรูปแบบขั้นตอนเช่นเดียวกัน ดังนี้

– โทรติดต่อที่เบอร์บริษัทประกัน
– เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม
– ยื่นคำร้อง
– การรับเงิน

ข้อเน้นย้ำ ในการกรอกเอกสารในใบยื่นคำร้องไม่ว่าจะเคลม พ.ร.บ.หรือประกันรถจักรยานยนต์ คือ ต้องกรอกข้อมูลตามจริง ห้ามกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ เพราะอาจมีโทษจำคุกถึง 5 ปี และปรับ 100,000 บาท

การจ่ายค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตเป็นอย่างไร

การจ่ายค่าชดเชยของ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ค่าชดเชยเบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถูกผิด ผู้เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต 35,000 บาท/คน สามารถเบิกเคลมได้ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร หากเสียชีวิตหลังการรักษาพยาบาล พ.ร.บ.จะจ่ายค่ารักษาให้ตามจริง โดยรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน

2. ค่าชดเชยเพิ่มเติม หากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ.จะชดเชยค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต เพื่อจัดการศพเป็นเงิน 500,000 บาทต่อคน สามารถเบิกเคลมได้ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ ค่าชดเชยรักษาตัว จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันแล้ว ไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน

ในส่วนของการจ่ายค่าชดเชยของประกันรถจักรยานยนต์หากซื้อผ่าน tadoo.co บริษัทประกันจะจ่ายค่าชดเชยสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั้งต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ โดยจะจ่ายชดเชยสูงสุด 50,000 บาท/คน

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์