ข่าว

ทวิตเตอร์เดือด แฮชแท็ก #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ปะทะ #จะไม่ทนธรรมศาสตร์

ทวิตเตอร์เดือด แฮชแท็ก #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ปะทะ #จะไม่ทนธรรมศาสตร์ หลังการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ รังสิต วานนี้ กลุ่มคนไม่เห็นด้วยจึงตั้งแฮชแท็กในทวิตเตอร์ #จะไม่ทนธรรมศาสตร์ เพื่อตอบโต้กลุ่มผู้เห็นด้วยกับการชุมนุม

ดูเหมือนว่าการต่อสู้ของมวลชนครั้งนี้ไม่ได้มาในรูปแบบของการชุมนุมหรือนัดรวมพลเท่านั้น แต่วิธีการเรียกร้องและการแสดงออกของคนยุคปัจจุบันต้องรู้จักใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ด้วย โดยวานนี้ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรมชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ และหยุดคุกคามเสรีภาพของประชาชน พร้อมยื่น 10 ข้อเสนอที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้กับรัฐบาล

การชุมนุมครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั้งสื่อและคนทั่วไปเนื่องจากกิจกรรมนี้ถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนนับหมื่นคน อีกทั้งยังมีทนายอานนท์ นำภา และไมค์ ภานุพงศ์ จาดนอก สองนักกิจกรรมทางการเมืองที่เพิ่งถูกดำเนินคดีจนเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันก่อน ขึ้นร่วมปราศรัยด้วย

นอกจากนี้ยังมีคลิปส่งตรงจาก อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ที่เรียกเสียงฮือฮาพร้อมฝากข้อความถึงผู้ร่วมชุมนุม จนทำให้แฮชแท็ก #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ซึ่งเป็นชื่อกิจกรรมการชุมนุมครั้งนี้และเป็นที่กระจายข่าวสารในทวิตเตอร์มีผู้เข้าร่วมทวิตกว่า 2 ล้านทวิตในขณะมีการชุมนุม จนถึงตอนนี้ยังมีผู้เข้าร่วมทวิตในแท็กเกือบแสน

จะไม่ทนธรรมศาสตร์

 

 

 

 

ภายในแท็กมีข้อความวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยอย่างดุเดือด รวมไปถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เมื่อแฮชแท็กนี้ได้รับความสนใจและมีการเผยแพร่มากขึ้น ก็มีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมการชุมนุมครั้งนี้ ทั้งยังไม่เห็นด้วยกับการวิจารณ์การเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์จึงตั้งแฮชแท็ก #จะไม่ทนธรรมศาสตร์ ขึ้นมาในทวิตเตอร์เพื่อตอบโต้ #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน

 

หลังแฮชแท็ก #จะไม่ทนธรรมศาสตร์ เริ่มติดเทรนด์ทวิตเตอร์ (ได้รับความสนใจในทวิตเตอร์) ด้วยความเห็นที่ตำหนิพฤติกรรมของกลุ่มนักศึกษาที่จัดกิจกรรมชุมนุม ล่าสุด กลุ่มที่สนับสนุน #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ก็ดูเหมือนจะเข้ามายึดแท็กตอบโต้นี้แล้วโดยเข้ามาแสดงความเห็นชี้แจงและตอบโต้ความคิดเห็นสนับสนุนเผด็จการ

 

จะเห็นได้ว่า การตื่นตัวทางการเมืองครั้งนี้ มีกลุ่มนิสิตนักศึกษาและกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญ หลายครั้งที่การลุกขึ้นสู้เกิดมาจากการรวมพลังกันของคนกลุ่มนี้ และตามสไตล์ของเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้จัดเพียงกิจกรรมชุมนุมอย่างเดียวแต่กลับเลือกใช้โซเชียลมีเดียเผยแพร่อุดมการณ์ รวมทั้งแสดงจุดยืนของตน อย่างที่เห็นกันว่า การนัดหมายชุมนุมในปัจจุบันอาศัยเพียงโพสต์ในโซเชียลมีเดียเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การตอบโต้โดยการตั้งแฮชแท็กในทวิตเตอร์ครั้งนี้ แม้จะไม่ใช่การปะทะกันโดยตรงแต่ก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในวงกว้างจนทำให้หลาย ๆ คนมาสนใจประเด็นนี้มากขึ้น

kamon w.

จบสายภาษาแต่หนีไปทำงานด้านบริการเกือบ 2 ปี ตอนนี้กลับมาขีด ๆ เขียน ๆ อีกครั้ง พร้อมแพสชั่นในงานข่าวที่เต็มเปี่ยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button