Connect with us

ปิดหนี้นอกระบบด้วยการกู้เงินจากสถาบันการเงิน

การนำหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดปัญหาดอกเบี้ยพุ่งสูงจนเกินกำลังการชำระคืน

เปรียบเทียบความแตกต่างของดอกเบี้ยนอกระบบและในระบบ

กรณีบัตรกดเงินสด 20,000 บาท

หนี้ในระบบ:
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี (แบบลดต้นลดดอก)
ดอกเบี้ยต่อวัน 20000*28% 1 ÷ 365 ประมาณ 15 บาท ต่อ วัน
ดอกเบี้ยทั้งหมดต่อปี 5,475 บาท
เงินต้นรวมดอกเบี้ย 25,475 บาท

หนี้นอกระบบ:
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 20% ต่อปี (แบบลดต้นลดดอก)
ดอกเบี้ยต่อวัน 20000*20% x 12 x 1 ÷ 365 ประมาณ 131 บาท ต่อ วัน
ดอกเบี้ยทั้งหมดต่อปี 47,815 บาท
เงินต้นรวมดอกเบี้ย 67,815 บาท

จุดเด่น

  • หนี้นอกระบบดอกเบี้ยไม่คงที่
  • หนี้ในระบบมีอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  • หนี้ในระบบมียอดชำระต่ำกว่าหนี้นอกระบบ

แนวทางการกู้เงินจากสถาบันการเงินมาปิดหนี้นอกระบบ

แนวทางในการกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาปิดหนี้นอกระบบอันดับแรก ให้ตรวจเช็คทรัพย์สินฟุ่มเฟือยที่สามารถขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่น เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้าแบรนด์เนม นาฬิกา จากนั้นลองขอคำปรึกษาจากธนาคาร โดยในปัจจุบันธนาคารหลายแห่งมีแนวทางช่วยเหลือผู้เป็นหนี้นอกระบบออกมาอยู่เรื่อยๆ ให้เข้าไปสอบถามธนาคารดูว่าจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง โดยแนวทางที่มักเลือกใช้กัน เช่น การกู้สินเชื่อส่วนบุคคล การใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้เพื่อเพิ่มโอกาสในการลดดอกเบี้ย

การขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal loans)

ขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคล สามารถทำได้กรณีที่เรายังมีเครดิตที่ดีกับสถาบันการเงินอยู่บ้าง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลจะสูงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าดอกเบี้ยของเงินกู้นอกระบบ และการเป็นหนี้ในระบบยังไงก็ดีกว่าเป็นหนี้นอกระบบแน่นอน แม้ว่าข้อดีของสินเชื่อส่วนบุคคล คือ ได้เงินง่าย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ถ้าคุณยังพอมีบ้าน หรือที่ดิน อาจจะลองใช้วิธีกู้เงินแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ช่วยให้ภาระต่างๆ เบาลงได้เยอะทีเดียว

“คิดให้ดีก่อนจะกู้หนี้นอกระบบถึงแม้จะเป็นทางเลือกที่ง่าย และได้เงินใช้ทันใจแต่อย่าลืมว่าในระยะยาวแล้วคุณต้องเจอกับดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

ประเภทของสินเชื่อส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

สินเชื่อส่วนบุคคลที่สามารถขอกู้เพื่อปิดหนี้นอกระบบได้ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้

1. สินเชื่อเงินสด – สัญญาเงินกู้ที่เป็นก้อนใหญ่และทยอยชำระหนี้เป็นงวด ๆ เท่ากัน ตามระยะเวลากำหนด ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดจ่าย ตั้งแต่ 1 ปี 3ปี หรือ 5 ปี เป็นต้นไป

2. บัตรกดเงินสด – บัตรกดเงินสด เป็นสินเชื่อที่ดอกเบี้ยจะเริ่มเดินทุกวันนับตั้งแต่วันที่กดเงินสดมาใช้ และต้องชำระเป็นงวดรายเดือน และสามารถจ่ายขั้นต่ำได้

3. บัตรเครดิต – บัตรเครดิตเป็นการซื้อสินค้าและบริการแทนเงินสด โดยเหมือนเป็นการยืมเงินจากอนาคตมาใช้ เมื่อครบกำหนดชำระจะต้องจ่ายค่าบริการที่ใช้ไป แต่ต่างจากบัตรกดเงินสดตรงที่ถ้าจ่ายเต็มจำนวนจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย

ปัจจุบันได้มีนโยบายของรัฐที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีหนี้ระบบเพื่อให้หนี้กลับเข้ามาสู่ในระบบในวงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ

การอนุมัติวงเงินในการขอสินเชื่อส่วนบุคคล

การพิจารณาการอนุมัติการขอสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้ขอกู้สินเชื่อ ณ ปัจจุบัน และการพิจารณาของผู้ให้กู้สินเชื่อ โดยทั่วไปจะสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือนของผู้ขอกู้สินเชื่อ แต่เพดานสูงสุดจะไม่เกิน 1,000,000 บาท, 1,500,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท แล้วแต่สถาบันการเงินจะกำหนด โดยยึดตามการชำระหนี้ในอดีตของผู้ขอกู้ที่จะถูกบันทึกเอาไว้ในเครดิตบูโร หากคุณเป็นลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงตามนัดชำระมาโดยตลอด ไม่เคยขาดไม่เคยล่าช้าแม้แต่งวดเดียว รวมไปถึงภาระหนี้ต่อเดือนในปัจจุบันของคุณยังไม่เกินกว่า 60% ของรายได้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะได้สินเชื่อในวงเงินสูงสุดตามที่คุณขอกู้ไว้

สินเชื่อตามนโยบายรัฐโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ

ปัจจุบันได้มีนโยบายรัฐที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่มีหนี้นอกระบบสามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สามารถกู้ตามมูลหนี้นอกระบบจริง และตามความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาทอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 1 ต่อเดือน ค่าธรรมเนียม100 บาท ต่อสัญญา ชำระคืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยมีรายละเอียดการสมัครดังนี้

1. รายละเอียดการสมัคร – คุณสมบัติ
– เป็นผู้ที่มีการประกอบอาชีพ มีรายได้
– สัญชาติไทย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อรวมอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 65 ปี
– มีถิ่นที่อยู่แน่นอน มีสถานที่ประกอบอาชีพ สามารถติดต่อได้
– เป็นผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ (นร.1) สามารถลงทะเบียนได้ในวันที่ขอกู้จากธนาคาร

2. หลักประกันเงินกู้
– ใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันเงินกู้

3. เอกสารประกอบการขอกู้
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน
– เอกสารแสดงรายได้ในการประกอบอาชีพ สมุดบัญชีเงินฝาก สลิปเงินเดือน (ถ้ามี)
– เอกสารรายรับ/รายจ่าย (ถ้ามี)
– รูปถ่ายสถานที่ประกอบอาชีพ
– กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน นำสำเนาหลักทรัพย์ที่จะค้ำประกันไปด้วย

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับการเงิน