Connect with us

ประกันโรคร้ายแรงนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

เบี้ยประกันโรคร้ายแรงนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งของตัวเองและพ่อแม่ Tadoo พร้อมบอกเคล็ดลับและวิธีเตรียมตัวสำหรับการนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษี

ประกันโรคร้ายแรงนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

ประกันโรคร้ายแรงลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่เลือกซื้อแต่ส่วนใหญ่ประกันโรคร้ายแรงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งส่วนที่นำไปลดหย่อนนั้นคือเบี้ยประกันนั่นเอง เบี้ยประกันโรคร้ายแรงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุด 15,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขขึ้นอยู่กับกรมสรรพากร

จุดเด่น

  • ไม่ใช่ประกันโรคร้ายแรงทุกกรมธรรม์ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ควรศึกษาเงื่อนไขและข้อกำหนดก่อนตัดสินใจซื้อ
  • จำนวนเงินภาษีที่ลดหย่อนขึ้นอยู่กับกรมสรรพากร อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ใช้เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีอย่างไร

ข่าวดีสำหรับคนที่ทำประกันเพราะกรมสรรพากรได้ออกนโยบายให้นำเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถใช้สิทธิ์ได้ตามกรณีที่กำหนดไว้

เบี้ยประกันของตัวเอง

เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันโรคร้ายแรงบางกรมธรรม์ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องไม่เกิน 25,000 บาท ต่อปีเมื่อคิดจากรายจ่ายจริง และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันชีวิตควรคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และหากมีเงินคืนระหว่างช่วงเวลาคุ้มครอง ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันสะสม

“การทำประกันโรคร้ายแรงไม่ได้มีแต่รายจ่ายเสมอไป เบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือน และคนที่ต้องการวางแผนรายรับ-รายจ่ายเพื่อเก็บออม”

เบี้ยประกันของพ่อแม่

ใครที่ทำประกันโรคร้ายแรงให้พ่อแม่ เบี้ยประกันโรคร้ายแรงและเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกันโดยคิดจากรายจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี หรือก็คือ ลดหย่อนเบี้ยประกันของพ่อไม่เกิน 15,000 บาท และของแม่ไม่เกิน 15,000 บาท หากมีพี่น้องหลายคนช่วยกันจ่าย หารสิทธิ์ในการลดหย่อนแล้ว รวมกันต้องไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี

กรณีชำระเบี้ยประกันให้พ่อแม่ของคู่สมรสด้วย ผู้ยื่นภาษีสามารถนำรายจ่ายจริงจากเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องเป็นกรณีที่พี่น้องของคู่สมรสยังไม่ได้ใช้สิทธิ์นั้น หากต้องการใช้สิทธิ์ร่วมกันก็ต้องหารตามสัดส่วนที่ชำระเบี้ย

วิธีการยื่นลดหย่อนภาษี และข้อมูลที่ต้องใช้

ปัจจุบันเราสามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้แล้วผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th ซึ่งเราควรยื่นตามระยะเวลาที่กำหนดและมีเอกสารข้อมูลที่ต้องเตรียมดังนี้:

– ชื่อ นามสกุล และเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นภาษี
– หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
– เอกสารประกันสังคม
– ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทประกัน
– จำนวนเงินที่มีสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้
– จำนวนเบี้ยประกันสุขภาพ

หลังจากเตรียมเอกสารข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปเลือกยื่นภาษีในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เลยโดยเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนที่ระบุในหน้าเว็บไซต์ กรอกข้อมูลตามเอกสารที่เตรียมมา เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ข้อควรรู้

สำหรับผู้ที่จะนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีต้องแจ้งความประสงค์กับบริษัทประกันก่อนเพื่อที่บริษัทจะได้ส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันไปให้ทางกรมสรรพากร หากไม่แจ้งบริษัทประกัน จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง