ข้อโต้แย้งใน Smart Contract มีทางออกอย่างไร?
การดำเนินการสัญญาทางดิจิทัลที่ยังคงมีปัญหาให้แก้ไข
การดำเนินการสัญญาทางดิจิทัลที่ยังคงมีปัญหาให้แก้ไข
การดำเนินการโดยใช้ Smart Contract ในวงการธุรกิจนั้นเป็นการใช้งานเพื่อเร่งการทำธุรกรรม และการเปิดใช้งานเพื่อแปลงสินทรัพย์ทางกายภาพให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น น้ำมันและทองคำ เป็นต้น แต่ในเรื่องของรากฐานทางกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ภายใน Smart Contract นั้นยังคงมีความสั่นคลอน และยังเต็มไปด้วยปัญหาภายในตัวมันเองเช่นกัน
ก่อนจะเจาะลึกไปที่เรื่องของการอธิบายเกี่ยวกับการระงับข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ Smart Contract นั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Smart Contract คือสัญญาที่มีโครงสร้างและหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับคู่สัญญาออฟไลน์ ที่จะระบุในสัญญาว่าจะมีการบริการเพื่อแลกกับเงิน แต่ใน Smart Contract จะแลกเป็นสกุลเงินดิจิทัลเท่านั้น ดังนั้นเงื่อนไขภายในสัญญาก็จะถูกกระตุ้นให้ดำเนินการขั้นต่อไปทันทีเมื่อการทำงานตรงตามชุดคำสั่ง (Code) หรือข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ระบุไว้ภายในตัวสัญญาแล้ว ตัวอย่างเช่น สัญญาเช่าบ้านที่ดำเนินการผ่าน Smart Contract โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าจะได้รับกุญแจบ้านก็ต่อเมื่อชำระค่าเช่าบ้านให้กับเจ้าของแล้วเท่านั้น
เงื่อนไขต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการทำธุรกรรมทางธุรกิจ และขอบเขตในการสร้าง Code ที่จะระบุภายในสัญญา โดย Smart Contract สามารถแบ่งได้ด้วยปัจจัย 4 ประเภท ได้แก่
ตามทฤษฎีแล้ว Smart Contract นั้นฟังดูมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีปัญหาหลายประการด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้งานต่าง ๆ
สำหรับผู้เริ่มต้นนั้น Smart Contract จะถือว่ามีบทบาทในอุดมคติในเรื่องของ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจและการปรับใช้ภายใต้กฎหมายอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยในตัวอย่างข้างต้นเรื่องสัญญาการเช่าบ้านนั้น บ้านอาจจะไม่เป็นไปตามโฆษณาและอาจส่งผลให้ผู้เช่าต้องการเงินคืน โดยปัญหาทางกฎหมายจะเกิดขึ้นกับเจ้าของบ้านทันทีถ้ามีการปฏิเสธที่จะคืนเงินให้ ซึ่งในขณะเดียวกันหากผู้เช่าได้รับเงินคืนแล้ว แต่ได้ทิ้งขยะมากมายไว้ภายในบ้านก่อนจะย้ายออกไป และสิ่งนี้ก็จะเป็นปัญหาสำหรับเจ้าของบ้านเช่นเดียวกัน ซึ่งเจ้าของบ้านจะไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมายใด ๆ ได้เลย
Smart Contract นั้นสามารถดำเนินการโดยไม่ต้องมีการพบปะกันอย่างซึ่งหน้าก็ได้ จึงอาจเป็นโอกาสในการฉ้อโกงหรือการบิดเบือนความจริงสูง และนอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Smart Contract อีกมากมายหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งมันได้สะท้อนถึงความวิตกกังวลทั่วไปเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ หาก Code เกิดข้อผิดพลาด หรือหากมีเหตุการณ์ที่ระบบได้ทำงานผิดพลาดอันเนื่องมาจากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขบางประการ
“Smart Contract เป็นอีกกระบวนการที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมคริปโต”
ปัญหาประการแรกในเรื่องของการบังคับใช้นั้นจะเกี่ยวข้องกับการมอบอำนาจให้แก่บุคคลที่สาม ในการเข้ามาเป็นคนกลางเพื่อระงับข้อโต้แย้งระหว่างคู่กรณีจากการใช้งาน Smart Contract โดยทั่วไปแล้วเครือข่าย Blockchain ส่วนใหญ่ที่ใช้งานกันอยู่นั้นจะเป็นรูปแบบของ Public Blockchain แต่สำหรับบุคลที่สามที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาระงับข้อโต้แย้งจะมีข้อบังคับชัดเจนว่ากลุ่มบุคคลนั้นต้องใช้เครือข่าย Private Blockchain เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มบุคคลที่มีเครือข่าย Private Blockchain เป็นของตนเองนั้นส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรเอกชน
หากพูดถึงปัญหาประการแรกที่เกี่ยวกับ Blockchain นั้นสิ่งที่ทำให้เกิดข้อกังวลคือเครือข่าย Blockchain ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ Smart Contract โดยหากเกิดเกิดข้อโต้แย้งระหว่างสองฝ่ายที่ตกลงกันไม่ได้นั้น ซึ่งโดยทั่วไป Blockchain ที่ได้รับอนุญาตให้มีอำนาจในการแก้ไขข้อโต้แย้งนั้นจะต้องเป็น Private Blockchain เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain ที่ใช้งานกันส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของ Public Blockchain ซึ่งสิ่งนี้จึงทำให้ข้อโต้แย้งยังคงอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที เนื่องจากผู้ที่ใช้ Private Blockchain นั้นมีน้อยมาก ๆ
และในส่วนของปัญหาประการที่สองในเรื่องของอำนาจศาลว่าด้วยเรื่อง ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ Smart Contract สำหรับการธุรกรรมระหว่างประเทศที่ครอบคลุมหลายภูมิภาคจะได้รับการแก้ไขได้อย่างไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขอบเขตอำนาจศาลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องประสานงานกันเพื่อร่วมกันตัดสินหรือแก้ไขข้อโต้แย้งหรือไม่? ซึ่งคำตอบของคำถามเหล่านี้อาจนำไปสู่ความซับซ้อนยิ่งขึ้น เนื่องจากเมื่อคุณได้พิจารณาสถานะทางกฎหมายของ Blockchain ในประเทศต่าง ๆ นั้นจะพบว่า บางประเทศอาจมีผู้นำที่มีความรู้เรื่อง Smart Contract เป็นอย่างดี แต่ในขณะที่บางประเทศนั้นอาจมีความเข้าใจเพียงแค่เทคโนโลยีพื้นฐานที่ประยุกต์ใช้ได้กับสังคมของพวกเขาเท่านั้น โดยปัญหาในการตีความข้อกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ Blockchain และ Smart Contract นั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาอันใหญ่หลวงให้กับตัวมันเองได้
ทุกปัญหามีทางออกเสมอ แม้แต่ปัญหาของ Smart Contract
ในบาถึงแม้ว่าในความซับซ้อนของปัญหาข้างต้นนั้นจะมีกลุ่มสตาร์ทอัพ Blockchain คอยจัดการปัญหาบางส่วนอยู่แล้ว แต่นอกเหนือจากนี้ยังมีการนำเอาแนวคิดหนึ่งมาประยุกต์ใช้ในการร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Crowdsourcing” หรือแปลอย่างเข้าใจง่ายได้ว่า “หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว” โดยเป็นแนวคิดจากสำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียง ที่กระบวนการนี้จะมีสมาชิกจากคณะลูกขุนทั่วโลกรวมตัวกันเพื่อระดมความคิดเห็นที่หลากหลาย และรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ในการใช้แนวคิด “Crowdsourcing” มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบน Smart Contract นั้นคือการระบุอำนาจชี้ขาดลงบน Smart Contract ซึ่งจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ ที่คู่กรณีตกลงกันแล้วว่าให้เป็นตัวกลางในการชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น โดยเหล่าบุคคลที่จะทำหน้าที่นี้ได้นั้นมีอยู่ทั่วโลก และแน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการใช้วิธีนี้
นอกเหนือจากแนวคิด “Crowdsourcing” แล้วนั้นก็ยังมีการใช้อีกแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า Electronic Data Interchange (EDI) หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น การส่งข้อมูลไปมาระหว่างเขตอำนาจศาลต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นต้น โดยแนวทางนี้อาจใช้ได้ผลสำหรับ Smart Contract ที่กระจายความรับผิดชอบในตัวสัญญาระหว่างมนุษย์และ Code (หมายถึงสัญญาที่ใช้ทั้งภาษาธรรมชาติและ Code ร่วมกัน) ซึ่งหากความรับผิดชอบอยู่บน Code เพียงอย่างเดียวจะทำให้การรับส่งข้อมูลยากกว่าสัญญาที่มีภาษาธรรมชาติรวมอยู่ด้วย
EDI ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี 1960 ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันกับ Smart Contract ในเรื่องการเปิดใช้งานธุรกรรมที่ราบรื่นแบบไร้พรมแดน