Connect with us

ความผันผวน (Volatility) ส่งผลอย่างไรต่อตลาด?

ความผันผวนเป็นเรื่องปกติของตลาดการเงิน แต่บางครั้งก็มีความรุนแรงเช่นกัน

ความผันผวน (Volatility) คืออะไร?

ความผันผวน (Volatility) ในตลาดการเงินนั้น หมายถึงการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ ซึ่งมันสามารถเป็นความผันผวนที่ดีได้หากราคาของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่องในสภาวะปกติทั่วไป แต่ทั้งนี้ก็สามารถเป็นความผันผวนที่รุนแรงได้เช่นกัน ด้วยการเคลื่อนไหวของราคาอย่างกะทันหันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยความผันผวนที่ดีมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่างภายในตลาด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสร้างโอกาสในการทำกำไร ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าซื้อในราคาต่ำ และปล่อยขายในราคาที่สูงได้ หรือแม้แต่การซื้อขายแบบ “Short” เป็นต้น นอกจากนี้ความผันผวนที่รุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

จุดเด่น

  • ความผันผวนมีตั้งแต่ระดับปกติไปจนถึงรุนแรง
  • ความผันผวนที่ดีสามารถสร้างโอกาสในการทำรายได้แก่นักลงทุนได้
  • ตลาดคริปโต ขึ้นชื่อเรื่องความผันผวนสูงกว่าตลาดการเงินทั่วไป

ความผันผวนมีความสำคัญอย่างไร?

ความผันผวนเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงในการลงทุน ดังนั้นการทำความเข้าใจในความผันผวนของตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดคริปโตที่ได้รับการขนานนามว่ามีความผันผวนเกินกว่าตลาดการเงินอื่น ๆ

ในฐานะสินทรัพย์ประเภทใหม่ที่มีอายุเพียงสิบกว่าปี คริปโตได้มีปรากฎการณ์ที่มูลค่าเพิ่มขึ้นที่สูงชันและการลดลงอย่างรวดเร็วตามมาในภายหลัง ซึ่งถือว่ามีความผันผวนมากกว่าตลาดหุ้นและตลาดการเงินอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการซื้อขาย Bitcoin ที่เพิ่มสูงขึ้น และภายหลังการมีส่วนร่วมของนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนั้น จึงทำให้เกิดความเชื่อว่าจะลดความผันผวนลงได้ แต่อย่างไรก็ตามคริปโตบางสกุลที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำ หรือคริปโตสกุลใหม่ (เช่น โทเคนของตลาด DeFi) ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนสูงอยู่ ซึ่งหากนักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้นั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการเสี่ยงเดิมพันในจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมสูญเสียได้คงจะเป็นการดีกว่า

ปัจจัยที่สามารถเพิ่มความผันผวนได้นั้น คงจะเป็นการรายงานข่าวเชิงบวกหรือเชิงลบ รวมไปถึงการรายงานรายได้ที่ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าที่คาดไว้ แต่อย่างไรก็ตามคำสั่งซื้อขายที่มีปริมาณสูงผิดปกติจะก่อให้เกิดความผันผวนได้ และความผันผวนที่สูงจะส่งผลให้มีปริมาณซื้อขายที่ลดต่ำลงเช่นเดียวกัน

ความผันผวนส่งผลต่อตลาดอย่างไร?

ความผันผวนที่รุนแรงมักมีความหมายเชิงลบ เนื่องจากความผันผวนมักจะเกี่ยวข้องกับความโกลาหลของตลาด ความไม่แน่นอน และการขาดทุน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ตลาดแกว่งไปมาระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด อาจส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่วางเดิมพันมากขึ้น ด้วยการทำนายการแกว่งของราคาอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งนี้จะทำให้ความผันผวนดำเนินต่อไปอีก ตัวอย่างเช่น ความผันผวนรุนแรงของตลาดที่เคยเกิดขึ้นช่วงวิกฤตการเงินในปี 2008 เมื่อเหล่าเทรดเดอร์ต่างกลัวการล่มสลายในตลาดการเงินโลก จึงส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ทรุดตัวลงมากกว่า 777 จุด ซึ่งถือเป็นหายนะครั้งยิ่งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นภายในวันเดียวเท่านั้น

ข่าวดีก็คือความผันผวนที่รุนแรงดังกล่าวนั้นหาได้ยาก โดยสิ่งที่เราเห็นในตลาดแต่ละวันคือความผันผวนระดับปานกลางหรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ และความผันผวนประเภทนี้เป็นการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นเนื่องจากนักลงทุนและเทรดเดอร์ตอบสนองต่อข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวกับบริษัท อุตสาหกรรม รวมไปถึงความรู้สึกต่อเศรษฐกิจมหภาคในวงกว้าง จากนั้นนักลงทุนและเทรดเดอร์จะประเมินสภาวะตลาดแล้วทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์ ด้วยการพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นว่าจะมันส่งผลต่อราคาไปในทิศทางใดได้บ้าง

ดัชนีความผันผวน (Volatility Index: VIX) หรือที่วอลล์สตรีทเรียกกันว่า “เกจแห่งความกลัว” โดยทางองค์กร Chicago Board Options Exchange (CBOE) ได้มีการกำหนดค่า VIX ที่ดีต่อตลาด จะเป็นค่าระหว่าง 12 (ต่ำ) ถึง 20 (สูง) หากความผันผวนของตลาดหุ้นตามที่คำนวณด้วย VIX อยู่เหนือค่าดังกล่าว แสดงว่าเป็นกรณีของความผันผวนที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น VIX แตะระดับสูงสุดที่ 36.47 ในปี 1990 เดือนสิงหาคม ซึ่งถือว่าอยู่ระหว่างสภาวะถดถอยของตลาด และต่อมาในปี 1991 เดือนมีนาคม ค่า VIX ได้เปลี่ยนกลับมาอยู่ที่ 16.49 โดยในทำนองเดียวกันนี้ VIX ของ CBOE เองก็เคยพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 35.12 ในปี 2001 ท่ามกลางสภาวะฟองสบู่แตกของธุรกิจไอที (Dot-Com Bubble) ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องมาจากการล่มสลายของการประเมินมูลค่าบริษัทหลายล้านดอลลาร์

แม้ว่าความผันผวนของตลาดหุ้นโดยรวมจะยังคงเหมือนเดิมไม่มากก็น้อย เมื่อสังเกตจากค่าเฉลี่ย VIX ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามความสุดโต่งของค่า VIX กลับรุนแรงขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าความผันผวนได้เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อก่อน ตัวอย่างเช่น VIX แตะระดับสูงสุดที่ 89.53 ในปี 2008 เดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของวิกฤติการณ์ทางการเงิน แต่หลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งปีก็ได้ลดลงมาอยู่ที่ 22.27

จากการศึกษาพฤติกรรมของตลาดในอดีตนั้น ได้มีการระบุปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการตอบสนองต่อความผันผวนของตลาดที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1980 ดังนี้

1. วัฏจักรของข่าวที่รวดเร็ว จะกระตุ้นให้นักเก็งกำไรย้ายเข้าและออกจากตลาดการเงินเร็วยิ่งขึ้น
2. การเข้ามาของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต่างก็สามารถทำธุรกรรมที่ขับเคลื่อนตลาดได้
3. การเกิดขึ้นของตลาดอนุพันธ์ (Derivative) ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดแบบ Spot ดั้งเดิม ถึงแม้ว่าจะเป็นคนละตลาดก็ตาม แต่ตลาดการเงินทั่วโลกต่างเชื่อมโยงกัน หมายความว่าเหตุการณ์ของตลาดแห่งหนึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของอีกตลาดหนึ่งได้ แน่นอนว่ามันมีส่วนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของค่า VIX ได้เช่นเดียวกัน

“สำหรับตลาดคริปโต ความผันผวนเกิน 20% เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง”

ความผันผวนในตลาดคริปโต

ผู้สังเกตการณ์ตลาดคริปโตส่วนใหญ่ยอมรับว่าความผันผวนของตลาดนี้อยู่ในระดับที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังไม่มีดัชนีสำหรับการวัดความผันผวนของราคาคริปโต แต่คุณเพียงแค่ต้องสังเกตพฤติกรรมของกราฟในอดีต เพื่อดูว่าจุดสูงสุดที่พุ่งขึ้นและจุดต่ำสุดที่ร่วงลงมานั้นมีร่องลึกและรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับราคาของสินทรัพย์ในตลาดการเงินดั้งเดิม ซึ่งในปี 2016 ราคาของ Bitcoin เพิ่มขึ้น 125% และในปี 2017 ราคาก็เพิ่มขึ้นอีกครั้งกว่า 2,000% ด้วยกัน รวมถึงในปี 2021 ราคาของ Bitcoin ก็ยังคงสร้างสถิติสูงสุดใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมากกว่าสามเท่าของราคาสูงสุดที่เคยทำได้ในช่วงตลาดกระทิงของปี 2017 อีกด้วย

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินดั้งเดิม ก็เป็นปัจจัยเดียวกับตลาดคริปโตด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฏจักรของข่าวสารและการเก็งกำไร ต่างก็มีส่วนทำให้เกิดการแกว่งของราคาในตลาดคริปโตทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงผลกระทบเหล่านั้นอาจรุนแรงกว่าหลายเท่า เนื่องจากตลาดคริปโตมีสภาพคล่องน้อยกว่าตลาดการเงินดั้งเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดคริปโตขาดระบบนิเวศที่แข็งแกร่งจากนักลงทุนสถาบันและบริษัทการค้าขนาดใหญ่ ด้วยความผันผวนที่เพิ่มขึ้นและการขาดสภาพคล่องที่เพียงพอนั้นมันสามารถรวมกันแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อตลาดได้ ซึ่งนอกเหนือจาก Bitcoin แล้วนั้นคริปโตสกุลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดอนุพันธ์ รวมไปถึงการยอมรับในวงกว้างอีกด้วย แต่ในบางครั้งราคาคริปโตก็แสดงความผันผวนที่ดีประเภทเดียวกับในตลาดการเงินดั้งเดิม ภายใต้อิทธิพลจากเทรดเดอร์รายวันและนักเก็งกำไรเช่นเดียวกันด้วย

แต่อย่างไรก็ตามมีสัญญาณว่าความผันผวนในตลาดคริปโตนั้นกำลังพลิกผันไปจากเดิม เนื่องจากนักลงทุนสถาบันและบริษัทการค้าส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความมั่นใจที่มากขึ้น อีกทั้งตลาดอนุพันธ์ (Derivative) ของคริปโตก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา และการขยายตัวของระบบนิเวศของตลาดคริปโตออกไปในวงกว้างได้อีกด้วย

ความผันผวนของตลาดคริปโตในท้ายที่สุดแล้ว จะเลียนแบบรูปแบบความผันผวนที่มีอยู่ในสินทรัพย์ของตลาดการเงินดั้งเดิมหรือไม่นั้นก็ยังคงต้องรอดูกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตามสินทรัพย์ประเภทนี้มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะยังคงแสดงความผันผวนที่เกินปกติต่อไป จนกว่าระบบนิเวศของตลาดจะเติบโตอย่างเต็มที่ในอนาคตอันใกล้นี้

ในบางกรณีความผันผวนรุนแรงของตลาดคริปโตก็ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาได้

มีวิธีลดความผันผวนของคริปโตหรือไม่?

ในความเป็นจริงนั้นสำหรับนักลงทุนในตลาดคริปโตบางคนแล้ว ความผันผวนสูงถือเป็นข้อดีสำหรับพวกเขา เนื่องจากมันสามารถสร้างผลตอบแทนในอัตราสูงได้จากการซื้อขายแบบ “Short” (ส่วนใหญ่ความผันผวนของตลาดนี้มักจะเคลื่อนไหวเป็นเปอร์เซ็นต์ 2 หลักในสัปดาห์เดียว)

แต่สำหรับนักลงทุนบางส่วนที่ไม่ประสงค์ที่จะเสี่ยงกับความผันผวนเช่นนี้ ก็ยังสามารถลงทุนในคริปโตที่ออกแบบมาโดยเฉพาะให้มีความผันผวนต่ำที่เรียกว่า “Stablecoin” ซึ่งมีการผูกตรึงมูลค่าไว้กับสินทรัพย์สำรอง (เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ได้เช่นเดียวกัน

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

เพิ่มเติม

อยากมีรถเก่าคลาสสิค ต้องรู้อะไรบ้าง

เพิ่มเติม

ประกันกลุ่มรถยนต์

เพิ่มเติม

การเคลมความเสียหายจากรถตกหลุมบ่อ

เพิ่มเติม