ทำความรู้จักกับ Aave (AAVE)
แพลตฟอร์มสินเชื่อกู้ยืมที่มีโทเคน AAVE เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย
แพลตฟอร์มสินเชื่อกู้ยืมที่มีโทเคน AAVE เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย
Aave เป็นโปรโตคอลทางการเงินแบบกระจายอำนาจสำหรับการกู้ยืมสินเชื่อและให้ยืมสินเชื่อ ซึ่งมีบทบาททำหน้าที่คล้ายคลึงกับตลาดการการเงินในระบบการเงินดั้งเดิม นอกจากนี้ Aave ยังช่วยให้คุณสามารถฝากสินทรัพย์ดิจิทัลลงในกลุ่มสภาพคล่อง (Liquidity Pool) เพื่อรับดอกเบี้ยแบบเรียลไทม์ในรูปแบบของโทเคน AAVE รวมไปถึงการกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหลักประกันส่วนเกิน (Over-Collateralized) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ “Flash Loans” ที่เป็นกลไกการกู้ยืมระยะสั้นที่ไม่ต้องใช้หลักประกันใด ๆ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์ม Aave ถูกควบคุมในลักษณะการกระจายอำนาจด้วยระบบการกำกับดูแลแบบหายระดับ (Multi-level Governance) ผ่านผู้ถือโทเคน AAVE ที่จะรับประกันสภาพคล่อง รวมไปถึงความสามารถในการลงคะแนนเสียงในการจัดการแพลตฟอร์มได้อีกด้วย
โทเคน AAVE ถือเป็นจุดศูนย์กลางของการกำกับดูแลของโปรโตคอล Aave โดยสามารถใช้เพื่อลงคะแนนเสียงและตัดสินใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ของข้อเสนอการปรับปรุงของ Aave (Aave Improvement Proposals: AIPs) นอกจากนี้โทเคน AAVE สามารถใช้การ Staking ภายใน Safety Module เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาความปลอดภัย รวมไปถึงเป็นหลักประกันแก่โปรโตคอลและผู้ฝาก ซึ่งผู้ใช้ก็จะสามารถรับรางวัลได้จากการ Staking และได้รับค่าธรรมเนียมจากโปรโตคอลได้อีกด้วย
เป้าหมายหลักของ Aave Tokenomics หรือระบบเศรษฐศาสตร์ของโทเคน AAVE (Aavenomics) ที่นำเสนอผ่านแรงจูงใจและนโยบายคือ การสร้าง Shelling Point ที่เป็นการเติบโต ความยั่งยืน และความปลอดภัยของโปรโตคอล แน่นอนว่ามีความสำคัญเหนือตัวบุคคลที่มีวัตุประสงค์ในการรับผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว
ความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายไม่ว่าจะในระบบการกำกับดูแลแบบใดก็ตาม ต่างสามารถทำให้เป้าหมายที่วางไว้ไม่ชัดเจนและอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งการกำกับดูแลแบบหลายระดับ (Multi-level Governance) นั้นจะทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมในเครือข่ายจะต้องดำเนินงานภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานความเสี่ยงและนโยบายระดังสูงที่ตกลงร่วมกัน หมายความว่าผู้ที่ถือโทเคน AAVE ทุกคนต่างก็มีโอกาสที่จะเป็นความเสี่ยงต่อโปรโตคอล เนื่องจากหากทำการ Staking โทเคนแล้วก็จะสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลได้ โดยปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของการบูรณาการทางเทคนิค หรือการมีส่วนร่วมทางการเงิน ซึ่งทั้งสองตัวอย่างดังกล่าวต่างก็มีความคาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของพฤติกรรม ความปลอดภัย และฟังก์ชันการทำงาน
โปรโตคอลของ Aave ได้รวบรวมความไว้วางใจไว้ระหว่างผู้ที่เรียกว่า “Stakeholder” หรือ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เช่น ผู้ถือโทเคน, ผู้ได้รับมอบหมายจากการโหวต, ผู้จัดการตลาด, ผู้ให้บริการสภาพคล่อง และผู้รวมระบบ เป็นต้น และถึงแม้ว่าการดำเนินการกำกับดูแลแบบหลายชั้นจะไม่สามารถแก้ไขกับความเพิกเฉยต่อสิทธิ์ที่ผู้ใช้ได้รับได้ในทางปฏิบัติ (เช่น ลงคะแนนเสียง) แต่การกำกับดูแลแบบตามสภาพคล่อง (Liquidity-Based Governance) ของเครือข่ายได้สร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่ทำให้กลุ่มการลงคะแนนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น และด้วยการออกแบบสิ่งจูงใจที่เกิดจากระบบการกำกับดูแลแบบหลายระดับนั้นได้กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมต่างตระหนักถึงความเสี่ยงร่วมกัน เนื่องจากต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและโปรโตคอล ในขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นระหว่างผู้จัดการตลาดได้มากขึ้นอีกด้วย
ภายในระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจนั้น Aave ระบุว่า การกำกับดูแลคือหัวใจสำคัญที่ควรจะมีแนวคิดที่จับต้องได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบังคับทิศทางของเครือข่ายไปในรูปแบบใดก็ตาม แต่เครือข่าย Aave ก็ตระหนักดีว่าผู้คนมักยกย่องความซับซ้อนของการบังคับบัญชาในสังคมที่มีศูนย์กลาง และจากมุมมองดังกล่าว จึงส่งผลให้การกำกับดูแลของเครือข่ายต่าง ๆ ยังไม่โปรงใสมากพอ เนื่องจากถึงแม้ว่าจะใช้การลงคะแนนเสียงเพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย แต่ผลคะแนนเสียงกลับเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของกระบวนการกำกับดูแลเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Ethereum Blockchain ที่ระบุว่าเป็นการกำกับดูแลแบบ On-Chain ที่ทำงานด้วยความโปร่งใสเต็มรูปแบบ แต่การทำงานก็เป็นไปตามกระบวนการแบบ Off-Chain ที่เป็นการถ่ายทอดด้วยระบบ On-Chain เสียมากกว่า และผลที่ได้คือระบบที่ซึ่งอำนาจถูกประกอบขึ้นไปเป็นตัวแทน มากกว่าที่จะถูกนำคะแนนเสียงไปใช้โดยตรง ดังนั้นระบบกำกับดูแลของ Aave จึงตระหนักว่า “ทุกคนเป็นส่วนสำคัญของรูปแบบการกำกับดูแล”
อุปทานทั้งหมดของโทเคน AAVE อยู่ที่ 16 ล้านโทเคน โดยโทเคนจำนวน 3 ล้านโทเคนจะถูกจัดสรรให้กับ Aave Reserve และถูกควบคุมไว้โดยผู้ถือโทเคน AAVE เพื่อเป็นการจูงใจให้ระบบนิเวศของเครือข่าย Aave เติบโตและพัฒนาขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในจำนวนที่เหลืออีก 13 ล้านโทเคนนั้นจะสามารถแลกได้โดยผู้ถือโทเคน LEND โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ 100 LEND : 1 AAVE
จุดเริ่มต้นของโทเคน AAVE นั้นได้เริ่มขึ้นผ่านโครงการระดมทุนเสนอขายเหรียญเริ่มต้น ICO แต่ในขณะนั้นได้ใช้ชื่อโทเคนว่า “LEND” โดยจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 ซึ่งระดมทุนไปได้กว่า 16.2 ล้านดอลลาร์จากการขายโทเคนในจำนวน 1 พันล้านโทเคน ในราคา 0.0162 ดอลลาร์/โทเคน และในขณะนั้นจำนวน 23% ของโทเคนได้ถูกจัดสรรไว้สำหรับผู้ก่อตั้งและตัวโครงการ
จากนั้นในปี 2018 ได้มีการรีแบรนด์เกิดขึ้นโดยเปลี่ยนไปใช้ชื่อโทเคน “AAVE” แทน (เดิมเครือข่าย Aave ใช้ชื่อว่า ETHLend) และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ปี 2020 Aave ได้เปิดเผยว่าจะมีการชะลอการแลกเปลี่ยนโทเคน โดยโทเคนในชื่อเดิมว่า “LEND” ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดกว่า 1.3 พันล้านโทเคนนั้น จะถูกเปลี่ยนไปเป็นโทเคน AAVE ที่สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ด้วยการแลกเปลี่ยนในอัตรา 1:100 ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
นอกจากนี้โทเคน AAVE นั้นถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum ตามมาตรฐานโทเคน ERC-20 และได้รับการออกแบบมาให้เป็นโทเคนที่มีคุณสมบัติของภาวะเงินฝืด ซึ่งในกรณีที่โปรโตคอล DeFi ขาดแคลนโทเคน AAVE นั้น โทเคนที่ถูก Staking ไว้ก็จะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะถูกนำมาใช้เป็นหลักประกัน
“Aave มาจากภาษาฟินแลนด์ มีความหมายว่า ‘ผี’”
ในฐานะแพลตฟอร์มสินเชื่อกู้ยืม Aave นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ “Flash Loans” แล้วยังมีการกู้ยืมแบบหลักประกันส่วนเกิน (Over-Collateralized) หรือการกู้ยืมแบบวางหลักประกันที่มีมูลค่ามากกว่าเงินที่กู้ และด้วยสินเชื่อกู้ยืมประเภทนี้ ผู้กู้มีหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า มูลค่าหลักประกันของตนเองนั้นจะไม่ลดต่ำลงกว่าระดับต่ำที่สุด (Minimum Level) มากเกินไป มิฉะนั้นพวกเขาจะเสี่ยงต่อการถูกชำระบัญชี ซึ่งเป็นการที่ส่วนหนึ่งของหลักประกันจะถูกขายทอดตลาดออกไปโดยอัตโนมัติเพื่อชำระหนี้ รวมทั้งค่าปรับและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อีกด้วย
ถึงแม้จะเป็นวิธีที่ทำให้ผู้กู้เจ็บปวด แต่การชำระบัญชีทำให้แพลตฟอร์ม Aave มีความแข็งแกร่ง ด้วยการกำจัดเงินกู้ที่ไม่สามารถป้องกันออกไปจากระบบได้ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสภาพคล่องที่มีอยู่ในเครือข่ายจะเพียงพอสำหรับผู้ใช้รายอื่น และเป็นการรักษาสมดุลบนแพลตฟอร์มอีกทางหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีร้ายแรงที่แพลตฟอร์มไม่สามารถรักษาสภาพคล่องเอาไว้ได้นั้น โทเคน AAVE ที่ถูกล็อคเอาไว้ในโมดูลความปลอดภัย จะถูกประมูลในตลาดเปิดเพื่อคืนสภาพคล่องให้แก่แพลตฟอร์มอีกครั้ง
Aave มีตลาดที่ดำเนินการได้แก่ AAVE V1 & V2, AAVE Polygon และ AMM
ในกรณีของความสามารถในการปรับแต่งของระบบ DeFi ของเครือข่าย Aave ได้รวมเข้ากับแพลตฟอร์ม DEX อื่น ๆ เช่น Balancer เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และกลไกทางการเงินที่แปลกใหม่ โดยโมดูลความปลอดภัยของ Aave อยู่ในรูปแบบของกลุ่มสภาพคล่อง (Liquidity Pool) ที่ถูกกำหนดโดยแพลตฟอร์ม Balancer ซึ่งผู้ที่ถือโทเคน AAVE จะสามารถล็อคโทเคนของตนเองเพื่อรับโทเคน AAVE เพิ่มเติมได้ และสามารถลงคะแนนในการตัดสินใจต่อการปรับปรุงโปรโตคอลได้เช่นกัน นอกจากนี้โทเคน AAVE ที่ถูกล็อคในโมดูลความปลอดภัยจะได้รับค่าธรรมเนียมจากโปรโตคอลของ Aave ได้ เพื่อให้กลไกรักษาสภาพคล่องมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังกลายเป็นหลักประกันสุดท้ายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขาดดุล จากการใช้สินทรัพย์บน Aave มากเกินไปหรือแม้กระทั่งความเสี่ยงที่สภาพคล่องจะหมด
โดยการรักษาสภาพคล่องผ่านหลักประกันส่วนเกินนั้น เป็นหัวใจสำคัญของแพลตฟอร์ม Aave หากไม่มีสภาพคล่อง ก็จะไม่มีการกู้ยืมใหม่เกิดขึ้นได้ และในกรณีของเหตุการณ์ขาดดุลนั้น โทเคน AAVE ที่ล็อคอยู่ในโมดูลความปลอดภัยมากถึง 30% จากจำนวนอุปทานทั้งหมด จะถูกขายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับโปรโตคอลต่อไปได้
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเป็นเจ้าของโทเคน AAVE นั้นสามารถซื้อได้โดยตรงจากแพลตฟอร์มหลักอย่างเครือข่าย Aave และนอกจากนี้ยังสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนรองได้เช่นเดียวกันกับคริปโตเคอเรนซีตัวอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น Binance, Kraken, Bitfinex และ FTX เป็นต้น