Connect with us

ทำความรู้จักกับ Ethereum Classic (ETC)

ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และจริยธรรมที่ก่อให้เกิดการแยกสายคริปโตขึ้น

Fast Fact: Ethereum Classic (ETC)

Ethereum Classic (ETC) | ข่าวโดย Tadoo

Ethereum Classic (ETC) ถือกำเนิดขึ้นมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์และจริยธรรมในชุมชน Ethereum โดยความขัดแย้งดังกล่าวมีสาเหตุเนื่องมาจากในปี 2016 ได้มีการแฮ็กครั้งใหญ่ในฟังก์ชัน Third-Party Application ที่ทำงานอยู่บนเครือข่าย Ethereum Blockchain ซึ่งเป็นเหตุให้มีการขโมย Ether หรือ ETH มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ Ethereum Blockchain ได้รับการ Hard Fork เพื่อเป็นการคืนค่าการแฮ็กจากบัญชีแยกประเภทที่สมบูรณ์แล้วและส่งคืน ETH ที่ถูกขโมยไปยังเจ้าของเดิม

ในทางตรงกันข้าม อีก Chain หนึ่งของการ Hard Fork ครั้งนี้ยังคงเก็บบัญชีแยกประเภทที่สมบูรณ์ ที่รวมการถูกแฮ็กในครั้งนั้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาความเป็นบัญชีแยกประเภทที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและคืนค่าได้ 100% กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผลลัพธ์ของ Blockchain ทั้งสองนั้นแตกต่างกันเพียงสิ่งเดียวคือ Chain หนึ่งยังคงมีบันทึกของการแฮ็กและ ETH ที่ถูกโจรกรรมออกไป ในขณะที่อีก Chain หนึ่งได้ย้อนเวลากลับไปราวกับว่าการแฮ็กนั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเครือข่าย Blockchain ที่ได้ทำการแก้ไขการแฮ็กได้รักษาชื่อดั้งเดิม “Ethereum (ETH)” เอาไว้ แต่ในขณะเดียวกันเครือข่าย Blockchain ดั้งเดิมที่ไร้การเปลี่ยนแปลงนั้น ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Ethereum Classic (ETC)”

จุดเด่น

  • Ethereum Classic เป็น Blockchain สายดั้งเดิมแต่อยู่ภายใต้ชื่อใหม่
  • Ethereum Classic เป็นชุมชนที่ยึดถืออุดมการณ์เดิมอย่างแน่วแน่
  • Ethereum Classic กำลังอยู่ในช่วงอัปเกรดโปรโตคอลเพื่อให้ทำงานเข้ากันกับ Ethereum ได้

จุดเริ่มต้นของ Ethereum Classic

มีหลายเหตุปัจจัยด้วยกันที่ทำให้ Blockchain ได้รับการ Hard Fork เพื่อแบ่งตัวเองแยกออกไปจาก Chain เดิม ในบางครั้งการ Fork ก็เป็นเหตุมากจากการอัปเดตเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นผลมาจากความขัดแย้งในเชิงลึกของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลได้อีกด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลดังกล่าว อาจเกิดขึ้นจากการมองการณ์ไกลเพื่อปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดจากข้อบกพร่องและการแฮ็ก ซึ่งตัวอย่างหลังนั้นได้ส่งผลให้เกิด Ethereum Fork หรือการ Hard Fork ที่นำไปสู่การสร้าง Blockchain สายใหม่คือ “Ethereum Classic (ETC)”

ในปี 2016 เกิดเหตุการณ์แฮ็กแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนเครือข่าย Blockchain ที่รู้จักกันในชื่อ “The DAO” ที่นำไปสู่การโจรกรรม Ether (ETH) ประมาณ 3.6 ล้าน ETH ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ในปีนั้น (หากเทียบราคา ETH ในปี 2021 ตีเป็นมูลค่ากว่าแสนล้านดอลลาร์) โดยหากสงสัยว่าการแฮ็กครั้งนั้นมีความรุนแรงขนาดไหน ต้องทราบก่อนว่าในขณะนั้นมีอุปทานหมุนเวียนทั้งหมดประมาณ 72 ล้าน ETH หมายความว่าแฮ็กเกอร์ได้โจรกรรมไปกว่า 5% จากอุปทานทั้งหมดของ ETH เลยทีเดียว

ในการตอบสนองต่อการแฮ็กครั้งนั้น เป็นการคืนค่ารายการธุรกรรมและทำการคืน ETH ให้แก่เจ้าของเดิมที่ดำเนินการโดยนักพัฒนาหลักของ Ethereum ซึ่งพวกเขาได้เลือกที่จะใช้การ Hard Fork เพื่อสร้างบัญชีแยกประเภทขึ้นใหม่ และการแยกออกมาครั้งนี้ได้ทำให้มันกลายเป็น Blockchain หลักของ Ethereum และเวอร์ชันดั้งเดิมของบัญชีแยกประเภทนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “Ethereum Classic (ETC)” ซึ่งเป็นเครือข่ายคู่ขนานที่เข้ากันไม่ได้อีกแล้วกับเครือข่ายหลักแห่งใหม่และผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการแฮ็กในครั้งนั้น แน่นอนว่าพวกเขาต้องพึงพอใจในเวอร์ชันใหม่ของ Ethereum ที่ลบการแฮ็กออกไปทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้บางคนกลับมองว่า การไม่คืนค่าหรือการไม่ย้อนกลับรายการธุรกรรมนั้นเป็นจริยธรรมชุมชนที่สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และพวกเขาเลือกที่จะยังคงซื่อสัตย์ต่อบัญชีแยกประเภทดั้งเดิมภายใต้ชื่อใหม่อย่าง “Ethereum Classic (ETC)”

Ethereum vs Ethereum Classic

ความขัดแย้งระหว่าง Ethereum และ Ethereum Classic ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันในเชิงลึก ซึ่งมีสองทางเลือกที่แตกต่างกัน ดังนี้:

  • Blockchain ที่มีการแก้ไขบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ลบล้างการโจรกรรมที่ประสบความสำเร็จ
  • Blockchain ที่ไม่เปลี่ยนรูปอย่างแท้จริง พร้อมบันทึกประวัติธุรกรรมทั้งหมดของเครือข่ายอย่างถาวร รวมไปถึงการโจรกรรมที่ประสบความสำเร็จ

Ethereum ที่ได้รับความนิยมมากกว่านั้นกลับเป็น Ethereum สายใหม่ ซึ่งบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าชุมชนคริปโตส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับข้อถกเถียงดังกล่าวในทิศทางใด นอกจากนี้ Ethereum สายใหม่ยังได้รับการสนับสนุนจาก Vitalik Buterin ผู้สร้างหลักของโครงการ Ethereum ที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมากที่สุดในชุมชน Ethereum และอุตสาหกรรม Blockchain ทั้งหมดอีกด้วย

อย่างไรก็ตามบรรดาผู้ที่เสนอ Ethereum Classic ได้ให้เหตุผลว่าการ Hard Fork นั้นเป็นการใช้งานที่เปรียบเสมือนพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอก เนื่องจากเทคโนโลยี Blockchain มีไว้เพื่อขัดขวางการจัดการหรือการเข้ามายุ่งเกี่ยวใด ๆ โดยมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เหล่าบุคคลที่ยึดมั่นในอุดมการณ์นี้จึงยืนหยัดเคียงข้าง Ethereum Classic และคริปโตหลักของเครือข่ายอย่าง “ETC” ถึงแม้ว่าการแยกสายใหม่ของ ETH นั้นมีจุดประสงค์ที่ดีก็ตาม แต่บรรดาผู้เสนอ Ethereum Classic ก็ปฏิเสธเหตุผลที่จะนำไปสู่การ Hard Fork อย่างเด็ดขาด เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อบัญชีแยกประเภทสาธารณะบนเครือข่าย Blockchain (ถึงแม้จะมีเจตนาที่ดี) นั้นเป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมที่กล่าวไว้ว่า “Code is King” โดยมันเป็นแนวคิดหลักที่หลายคนในเครือข่าย Blockchain ได้ยึดถือไว้อย่างมุ่งมั่นในตอนแรก

บรรดาผู้เสนอ Ethereum Classic โต้แย้งว่ารายการธุรกรรมที่ไม่เปลี่ยนรูปและไม่สามารถคืนค่าได้นั้น เป็นหลักจริยธรรมที่หักล้างไม่ได้ของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งทำให้มีความแตกต่างจากการจัดการในระบบการเงินดั้งเดิม เนื่องจากการแก้ไขด้วยการ Hard Fork เช่นนี้ไม่สามารถทำได้ในระบบการเงินของโลกจริง โดยพวกเขายืนยันว่าการคืนค่าหรือย้อนกลับรายการธุรกรรมไม่ควรประนีประนอมในทุกบริบท ไม่ว่าจะเป็นระบบการเงินในโลกใดก็ตาม

นอกจากนี้ Ethereum Classic กลายเป็นเครือข่ายที่ไม่ได้กลับสู่ Chain หลัก และนักพัฒนาได้ระบุว่า Ethereum Classic ไม่มีทีมพัฒนาอย่างเป็นทางการ แต่จะขับเคลื่อนโดยชุมชนการพัฒนาระดับโลกที่เรียกว่า “do-oracy” ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตก็สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาได้ ทั้งนี้ Ethereum Classic ก็ไม่มีแผนที่จะเปลี่ยนอัลกอริธึมจาก PoW ไปเป็น PoS อย่างที่โครงการ Ethereum 2.0 กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้อีกด้วย

คริปโตสกุลอื่น ๆ รวมถึง Bitcoin ก็เคยประสบกับความขัดแย้งที่คล้ายกันในปี 2017 ที่ได้เกิด Bitcoin Cash (BCH) โดยเป็นการ Hard Fork ออกมาจากตัว Bitcoin ที่มีข้อถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิงไม่แพ้กันกับ ETH และ ETC นอกจากนี้ในปี 2019 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โจรกรรม Bitcoin ไปมากกว่า 7,000 BTC (มูลค่าประมาณ 41 ล้านดอลลาร์ในขณะนั้น) จากแพลตฟอร์มตลาดแลกเปลี่ยนที่ชื่อว่า “Binance” ด้วยเหตุนี้ทำให้ Changpeng Zhao ผู้ก่อตั้ง Binance ได้เสนอต่อชุมชน Bitcoin ว่าให้ทำการคืนค่า Bitcoin Blockchain เหมือนกับที่ Ethereum ได้ทำในปี 2016 แต่อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ ก็ไม่ได้ถูกดำเนินการขึ้นจริง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ Satoshi Nakamoto นามแฝงของผู้ก่อตั้ง Bitcoin ได้ยุติการมีส่วนร่วมต่อชุมชนในโครงการไปแล้วตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งยังไม่มีใครทราบถึงตัวตนจริงของเขาหรือเธอ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เนื่องจากการไม่มีอยู่ของ Satoshi นั้นทำให้ Bitcoin มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจาก Ethereum ที่ยังคงมี Vitalik Buterin ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจนั้นด้วย

“อุปทานหมุนเวียนขณะนี้คิดเป็น 61% จากอุปทานสูงสุดที่ 2.107 ร้อยล้านโทเคน”

โครงสร้างของ Ethereum Classic

โปรโตคอลของ Ethereum Classic นั้นเป็นโคลนนิ่งจาก Ethereum ดั้งเดิม หมายความว่าทั้ง Ethereum และ Ethereum Classic ต่างก็เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา Smart Contract ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ได้สร้างแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจได้ (Dapps) บนเครือข่ายตามเดิม และยังคงมีความคล้ายคลึงกันในมุมมองการทำงาน โดยข้อมูลบน Chain เดิมที่เคยมีร่วมกันนั้นจะเหมือนกันจนถึงบล็อกที่ 1,920,000 (บล็อกที่ถูกโจมตี) และหลังจากบล็อกดังกล่าวเป็นต้นไปก็จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ทำให้การอัปเดตที่สำคัญของโปรโตคอล Ethereum หลังจากนี้เป็นต้นไป (รวมถึง Ethereum 2.0) จะไม่มีการแสดงให้เห็นบนเครือข่ายของ Ethereum Classic และในทางกลับกันการอัปเดตโปรโตคอลของ Ethereum Classic ก็จะไม่แสดงให้เห็นบนเครือข่าย Ethereum หลักและ Ethereum 2.0 ด้วยเช่นเดียวกัน

มูลค่ารวมตามราคาตลาดอยู่ที่ 2.33 แสนล้านบาท จัดอยู่อันดับที่ 27

อนาคตของ Ethereum Classic

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Ethereum Classic เพิ่งได้รับการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลหลาย ๆ ตัว โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้โปรโตคอลสามารถทำงานร่วมกันกับโปรโตคอลของ Ethereum หลักได้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหัวใจสำคัญของ Ethereum Classic เลยทีเดียว

การอัปเดตโปรโตคอล Ethereum Classic ล่าสุดทำมาแล้ว 2 ครั้ง เรียกว่า “Atlantis” (ในปี 2019) และ “Agharta” (ในปี 2020) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีถึงความตั้งใจของชุมชน Ethereum Classic ในการสร้างสะพานทางเทคโนโลยีที่เชื่อมระหว่าง Ethereum Classic (ETC) และ Ethereum (ETH) ซึ่งการอัปเดตดังกล่าวถูกดำเนินการผ่านการ Hard Fork ที่เป็นภาคบังคับ โดยกำหนดให้ผู้ใช้งานของ Ethereum Classic ต้องทำการอัปเกรดซอฟต์แวร์ของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎที่อัปเดตใหม่ขึ้นของ Ethereum Classic และการอัปเดตดังกล่าวบ่งบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่นำไปสู่การทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างเครือข่าย Blockchain คู่ขนานทั้งสองสายนี้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีบางคนที่คัดค้านการ Split และ Fork ต่าง ๆ ภายในระบบนิเวศของ Ethereum โดยรวมอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายคนด้วยกันที่เชื่อว่า “Fork is Freedom” หมายความว่าพวกเขาถือว่ามันคือเสรีภาพในการที่จะอนุญาตให้เครือข่าย Blockchain ทั้งสองสามารถพัฒนาตามระบอบประชาธิปไตยตามที่ชุมชนของตนเห็นสมควร

อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเป็นเจ้าของ ETC ซึ่งสามารถซื้อและขายเป็นสกุลเงินดั้งเดิมหรือแปลงเป็นคริปโตสกุลอื่นได้ โดยสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนทั่วไปได้เช่นเดียวกันกับคริปโตตัวอื่น ๆ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Bitkub, Binance, Kraken, Bitfinex และ FTX เป็นต้น

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์สำหรับผู้พิการ

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์แบบระบุชื่อคนขับ 2 คน

เพิ่มเติม

ความคุ้มครองเติมน้ำมันผิดประเภท

เพิ่มเติม

ส่วนลดประวัติดี

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่

เพิ่มเติม