ทำความรู้จักกับ Tezos (XTZ)
เครือข่ายที่เน้นความปลอดภัย อัพเกรดได้ และมีความทนทาน
เครือข่ายที่เน้นความปลอดภัย อัพเกรดได้ และมีความทนทาน
Tezos เป็นเครือข่าย Blockchain ที่สามารถอัพเกรดตัวเองได้ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่า จะมีความปลอดภัยและยืดหยุ่นในการเปิดใช้งาน Smart Contract และแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Dapps) นอกจากนี้กลไกการกำกับดูแลเป็นแบบ On-Chain ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Tezor จะช่วยให้เครือข่าย Blockchain สามารถนำไปใช้ได้จริงและปรับคุณสมบัติใหม่โดยอัติโนมัติจากผู้ถือครองโทเคนประจำเครือข่ายที่ชื่อว่า “Tez” หรือสัญลักษณ์ย่อว่า “XTZ”
เครือข่าย Trezor ใช้ภาษาโปรแกรมแบบ Open Source เชิงฟังก์ชัน (Open-source Functional Programming) ที่ภูมิใจนำเสนอนั้นมีข้อได้เปรียบทางเทคนิคที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งมันได้สร้างระบบที่มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาษาโปรแกรมแบบ Open Source มักจะช่วยลดอุปสรรคต่อนักพัฒนาในการเข้าถึงเครือข่าย อีกทั้งภาษาโปรแกรมและนักพัฒนายังสามารถเติบโตไปพร้อมกันได้ ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนนักพัฒนาโดยรวมอีกด้วย และสิ่งนี้ได้นำไปสู่การเติบโตและวิวัฒนาการของเครือข่าย Tezor Blockchain ที่ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ความปลอดภัยของเครือข่ายแข็งแกร่งมากขึ้นตามไปด้วย
ระบบนี้สร้างขึ้นในขั้นต้นด้วยภาษาโปรแกรม 2 ภาษา ได้แก่ OCaml และ Michelson ที่ทั้งสองนี้เป็นภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (Functional Programming) และมีข้อได้เปรียบโดยธรรมชาติมากกว่าภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่ง (Imperative Programming) ที่ใช้ในเครือข่าย Ethereum อีกด้วย ทั้งนี้ภาษาโปรแกรมที่ชื่อว่า “Michelson” นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดใช้งาน Smart Contract โดยมีเป้าหมายเพื่อความชัดเจน ความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถตรวจสอบทางคณิตศาสตร์ในฟังก์ชันการทำงานของโค้ดใหม่ได้ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงช่วยให้มีความสอดคล้องในการทำงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของโค้ดที่แข็งแกร่งกว่าเครือข่าย Blockchain อื่น ๆ อีกด้วย
คริปโตประจำเครือข่าย Trezor ที่ชื่อว่า “Tez” หรือสัญลักษณ์ย่อว่า “XTZ” นั้นมีกระบวนการกำกับดูแลแบบ On-Chain ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยป้องกันการ Hard Fork จากข้อขัดแย้ง ทั้งนี้ข้อได้เปรียบของกลไกการทำงานภายในเครือข่าย Trezor นั้นเกิดจากการให้อำนาจผู้ถือโทเคน XTZ ทุกคนจะสามารถลงคะแนนเสียงได้ ตลอดจนกำหนดการอัปเกรดระบบการลงคะแนนเสียงได้อีกด้วย
เจ้าของโทเคน XTZ ทุกคนจะได้รับสิทธิในการออกเสียงด้วยการ Staking โทเคนของตนเอง โดยในเครือข่าย Tezor จะเรียกกระบวนการลงคะแนน และการตรวจสอบสำหรับการเพิ่มบล็อกใหม่ลงในเครือข่าย Tezor Blockchain ว่า “Baking” ที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้ทำการวางโทเคนของตนเองไม่ว่าจะเป็นจำนวนน้อยหรือมากก็ตาม
ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกจะถูกเรียกว่า “Baker” ที่จะได้รับรางวัลสำหรับความเชี่ยวชาญและการสละเวลาให้กับระบบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เรียกผู้ที่แนะนำการอัปเกรดระบบใด ๆ ที่เป็นไปได้ให้กับเครือข่าย Tezor ได้อีกด้วย ซึ่งระบบอัปเกรดและการลงคะแนนเสียงจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้:
กระบวนการ 4 ขั้นตอนข้างต้นนี้ จะใช้เวลาในการดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดประมาณ 23 วันด้วยกัน และข้อเสนอที่ได้รับการลงคะแนนเสียงจากผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะถูกนำไปทดสอบบนเครือข่ายเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
“อุปทานทั้งหมดของโทเคน XTZ อยู่ที่ 888 ล้านโทเคน”
ข้อดีโดยเนื้อแท้ของ Trezor มาจากวิธีการที่สร้างด้วยการใช้ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (Functional Programming) โดยเป็นภาษาที่ใช้เขียนโค้ดที่สามารถสร้างโปรแกรมได้ด้วยการใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความแตกต่างจากภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่ง (Imperative Programming) ที่นักพัฒนาจะต้องเขียนคำแนะนำเฉพาะเจาะจงแบบ Step-by-Step
เนื่องจากความสามารถที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความเร็วให้มากขึ้นนั้น ทำให้ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันจึงเป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อภารกิจ เช่น วิทยาศาสตร์การบิน พลังงานนิวเคลียร์ และบริการทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งภารกิจดังกล่าวต่างก็มีต้นทุนความผิดพลาดสูง ดังนั้นจึงต้องมีความแม่นยำทางคณิตศาสตร์ของภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเข้ามาช่วย
การเขียนโค้ดด้วยภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ช่วยให้ Smart Contract ทั้งหมดบน Trezor Blockchain จะได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเรียกว่า “การตรวจสอบอย่างเป็นทางการ” เป็นการรับประกันทางคณิตศาสตร์ในความเที่ยงตรงของโปรแกรม ที่จะช่วยเสริมความปลอดภัยและเพิ่มความเร็วในการทำงานของ Smart Contract ได้อีกด้วย
Tezos นิยามตัวเองว่า “Security focused, Upgradeable and Built to last.”
Baking คือกระบวนการการลงคะแนนเสียงและการเผยแพร่บล็อกไปยัง Trezor Blockchain และจะถูกดำเนินการโดยผู้ใช้ที่มีจำนวนโทเคน XTZ ขั้นต่ำ 8,000 โทเคน (หรือเรียกว่า “1 Roll”) เท่านั้นจึงจะมีคุณสมบัติเป็น “Baker” ทั้งนี้สำหรับผู้ที่เป็น Baker นั้นจะต้องมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมด้วย เพื่อที่พวกเขาจะทำหน้าที่เป็นนักพัฒนาที่มีการกระจายอำนาจในเครือข่ายของ Trezor อีกทั้งยังมีการทำงานร่วมกับทีมพัฒนาส่วนหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาใด ๆ ของโค้ดในระบบ นอกจากนี้เพื่อให้ครบคุณสมบัติของการเป็น Baker นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการวางเงินประกันเอาไว้ด้วย ซึ่งหาก Baker มีพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณต่อเครือข่ายนั้นเงินประกันก็จะถูกริบทันที และเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของ Baker ก็จะได้รับรางวัลเป็นโทเคน XTZ หรือที่เรียกว่า “Baking Reward” ซึ่งกระบวนการนี้ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจให้กับ Baker ในการทำงานให้กับ Tezor Baking ต่อไปได้อีกด้วย
Tezor มีอัลกอริธึมการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรียกว่า “Liquid Proof of Stake (LPoS)” ซึ่งผู้ใช้ที่ไม่ผ่านการรับรอง ที่ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีโทเคนหรือความชำนาญไม่เพียงพอที่จะเป็นนักพัฒนานั้น แต่ยังสามารถมอบโทเคนให้ของตนเองให้กับ Baker ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเป็นตัวแทนได้เช่นกัน โดยวิธีดังกล่าวจะทำผ่านการ Staking โทเคนในจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ ต่างก็สามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับโทเคนของตนเองให้กับ Baker ได้ผ่าน Smart Contract และในขณะเดียวกัน Baker ก็จะแบ่งปันผลตอบแทนที่ได้รับให้แก่เจ้าของโทเคนที่ให้เขาเป็นตัวแทนได้เช่นกัน นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าว ช่วยให้ผู้ที่ถือโทเคน XTZ สามารถสมัครเข้าร่วมในกลไกการกำกับดูแลของโปรโตคอลได้อีกด้วย
ณ เดือนสิงหาคม 2021 มีอุปทานหมุนเวียนของโทเคน XTZ อยู่ที่ 856,885,130.46 โทเคน หรือประมาณ 800 ล้านโทเคน
การริเริ่มของโครงการ Tezor นั้นมาจากการระดมทุนเสนอขายเหรียญเริ่มต้น ICO ตั้งแต่ปี 2017 โดยมีการระดมทุนด้วยเงินใน 2 สกุล ได้แก่ BTC และ ETH ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนจำนวน 65,681 BTC และ 361,122 ETH หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกันในขณะนั้นประมาณ 232 ล้านดอลลาร์ด้วยกัน ซึ่งถือเป็นการระดมทุน ICO ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากนี้จำนวน 80% ของอุปทานเริ่มต้นนั้นได้แจกจ่ายไปสู่นักลงทุน และอีก 20% ที่เหลือจะถูกจัดสรรในสัดส่วนที่เท่ากันให้กับ Tezos Foundation และ Dynamic Ledger Solutions
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเป็นเจ้าของโทเคน XTZ นั้นสามารถซื้อได้โดยตรงจากแพลตฟอร์มหลักอย่างเครือข่าย Tezos และนอกจากนี้ยังสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนรองได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Binance, Kraken, Bitfinex และ Crypto.com เป็นต้น