ทำความรู้จักกับ TRON (TRX)
แพลตฟอร์มสื่อบันเทิงออนไลน์ที่อยู่บนเครือข่าย Blockchain
แพลตฟอร์มสื่อบันเทิงออนไลน์ที่อยู่บนเครือข่าย Blockchain
TRON เป็นแพลตฟอร์ม Blockchain ที่สร้างขึ้นเพื่อการเผยแพร่สื่อและความบันเทิงอย่างแพร่หลาย (เช่น บริการสตรีมมิ่ง ร้านค้า และแอพหรือเว็บไซต์เพลง เป็นต้น) โดยมีคริปโตประจำเครือข่ายประเภท “Utility Token” ที่ใช้ชื่อว่า “TRONix (TRX)” นอกจากนี้แพลตฟอร์มระบบกระจายอำนาจได้ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของเทคโนโลยี Blockchain เพื่อเพิ่มขีดจำกัดความสามารถให้กับ Creator ด้วยการเข้าถึงการกระจายรายได้ที่มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้แก่พ่อค้าคนกลางมากเกินไป จึงทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้โดยไม่ต้องจ่ายแพง รวมไปถึงการออกแบบแพลตฟอร์ม TRON Blockchain มาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Dapps) อีกทั้งยังใช้ทรัพยากรในการคำนวณสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชัน Dapps น้อยกว่าเครือข่าย Blockchain อื่น ๆ ที่เน้นส่งเสริมใน Dapps ในรูปแบบเดียวกัน
เครือข่าย TRON Blockchain ได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่สำคัญแล้วด้วยการเปรียบเทียบกับ Ethereum และบรรลุเป้าหมายมูลค่าตามราคาตลาดที่ 6 พันล้านดอลลาร์ (ณ เดือนสิงหาคม 2021) โดยแพลตฟอร์มนี้เปิดตัวในเดือนกันยายน 2017 ภายใต้ TRON Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่นำโดย Justin Sun โดยมีสำนักงานอยู่ในสิงคโปร์และแคลิฟอร์เนีย
TRON Blockchain มีโปรโตคอลที่ถูกสร้างแบบจำลองโดยใช้ระบบ Google Protobuf (Protocol Buffers) ที่เป็นวิธีการจัดลำดับข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นอนุกรม ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้แพลตฟอร์มและระบบสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันคุณสมบัติของ Google Protobuf ที่ถูกใช้งานบน TRON Blockchain นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการสื่อสารและช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถผสานรวมกับภาษาโปรแกรมที่ซับซ้อนมากมายได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้โครงสร้างของ TRON นั้นเป็นระบบโครงสร้างสามชั้นที่ประกอบไปด้วย ชั้นหลัก ชั้นจัดเก็บข้อมูล และชั้นแอพพลิเคชัน ซึ่งแต่ละชั้นนั้นก็จะได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับชุดฟังก์ชันเฉพาะบนเครือข่าย
ชั้นหลัก
ชั้นหลักทำงานพื้นฐานหลายอย่างที่ประกอบรวมกันเป็นรากฐานของโปรโตคอลพื้นฐานของ TRON Blockchain และภารกิจหลักประการหนึ่งคือ การขับเคลื่อนกระบวนการที่เป็นเอกฉันท์ในเชิงนวัตกรรมของ TRON ในการเพิ่มบล็อกใหม่ให้กับ Chain ซึ่งระบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมทางเทคนิคอันล้ำสมัยที่เรียกว่า “Delegated Proof of Stake (DPoS)” นอกจากนี้ชั้นหลักยังดูแลการจัดการบัญชีและ Smart Contract ที่ขับเคลื่อนระบบอีกด้วย
ภาษาโปรแกรม Solidity (ที่สร้างโดยเครือข่าย Ethereum) ได้รับเลือกให้เป็นภาษาพื้นฐานประจำเครือข่าย TRON Blockchain ที่ใช้สำหรับการสร้าง Smart Contract โดยในส่วนของเหตุผลที่ได้รับเลือกนั้น เป็นเพราะมีความเข้ากันได้กับเครือข่าย Ethereum ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและบำรุงรักษา Dapps อย่างมีประสิทธิภาพ
ชั้นการจัดเก็บข้อมูล
ชั้นนี้ได้ถูกปรับให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการให้สามารถจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ภายในระบบนิเวศของสถาปัตยกรรมทางเทคนิคในเครือข่าย TRON Blockchain และมีการพัฒนาให้เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจที่มีความเสถียรและความปลอดภัยในระดับสูงอีกด้วย
ชั้นแอพพลิเคชัน
ชั้นแอพพลิเคชันได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้วิศวกรซอฟต์แวร์สามารถโต้ตอบกับระบบนิเวศของ TRON ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครือข่าย TRON Blockchain มีระบบ Smart Contract ในตัว จึงทำให้มันมีศักยภาพที่แข็งแกร่งในการที่จะสนับสนุนแอพพลิเคชันใหม่ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม แม้กระทั่งตอนนี้ TRON Blockchain ได้มีการรองรับ Wallet และ Dapps เป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชัน DEX ที่โดดเด่นที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่ายคือ “JustSwap” ซึ่งถือเป็น Dapps ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 3 ในระบบนิเวศของ TRON นอกจากนี้ยังมีโครงการที่โดดเด่นอีกโครงการหนึ่ง ที่เรียกว่า “Sun” ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มในการนำระบบ DeFi เข้ามาในเครือข่าย โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำการ Staking โทเคน TRONix หรือ TRX ไว้สำหรับการขุดและรับโทเคนในระบบ TRC-20 เป็นการตอบแทนได้
และด้วยการใช้มาตรฐาน Google Protobuf จึงทำให้เครือข่าย TRON ถือเป็นเครือข่ายที่ส่งเสริมการบูรณาการที่เรียบง่ายและเป็นสากล ด้วยภาษาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงวิธีการออกแบบระบบภายในเครือข่ายส่วนใหญ่นั้นมีความพิถีพิถัน นอกจากนี้ระบบ Google Protobuf ยังช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของโปรโตคอล และความสามารถในการพัฒนาสำหรับการสร้างแอพพลิเคชันใหม่ได้อีกด้วย
TRON 4.0 ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2020 ซึ่งเป็นการอัปเดตโปรโตคอลล่าสุดสำหรับเครือข่าย TRON Blockchain ได้นำไปสู่การพัฒนาเป็นโปรโตคอลความเป็นส่วนที่ใช้ชื่อว่า “TRONZ” ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “zk-SNARKs” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานเป็นระบบพิสูจน์การเข้ารหัสที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า “ธุรกรรมที่มีการป้องกัน (Shielded Transaction)” เพื่อทำให้รายการธุรกรรมนั้นถูกยืนยันได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับใด ๆ
นอกจากนี้ TRON 4.0 ยังมีมาตรฐานโทเคน TRC-20 ที่ใช้ TRON Blockchain ในการพัฒนา (คล้ายกับมาตรฐานโทเคน ERC-20 บนเครือข่าย Ethereum) ซึ่งมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ TRONZ ที่อธิบายไว้ข้างต้น แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ TRC-20 จะเป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วย “ธุรกรรมที่มีการป้องกัน (Shielded Transaction)” 3 ประเภทที่แตกต่างกัน ด้วยอัตราค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำมากอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับเครือข่าย Ethereum นั้นมีแนวโน้มว่าเครือข่าย TRON มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนของการทำธุรกรรมที่มีการป้องกันน้อยกว่าเครือข่าย Ethereum ประมาณ 4 ถึง 600 เท่าด้วยกัน
“โทเคน TRX ที่เคยอยู่บน ERC-20 จะถูกเผาทำลายทั้งหมด ขณะนี้เผาไปแล้ว 99.19%”
TRON ได้ริเริ่มโครงการระดมทุนเสนอขายเหรียญเริ่มต้น ICO ในปี 2017 โดยกำหนดอุปทานสูงสุดไว้ทั้งหมดกว่า 1 แสนล้านโทเคน และในขณะนี้มีอุปทานที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดคริปโตกว่า 7.16 หมื่นล้านโทเคนด้วยกัน
ซึ่งในโครงการระดมทุน ICO ช่วงเริ่มต้นนั้น ได้มีการจัดสรร TRX จำนวน 1.57 หมื่นล้านโทเคนให้กับนักลงทุนภาคเอกชน, จัดสรรอีก 4 หมื่นล้านโทเคนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ICO, จัดสรรให้กับมูลนิธิ TRON Foundation จำนวน 3.4 หมื่นล้านโทเคน และจัดสรรอีกจำนวน 1 หมื่นล้านโทเคนให้กับบริษัทที่ Justin Sun เป็นเจ้าของอยู่ หมายความว่า 45% จากอุปทานสูงสุดของโทเคน TRX ได้ถูกจัดสรรให้กับผู้ก่อตั้งและตัวโครงการ โดยในส่วน 55% ที่เหลือนั้นถูกแจกจ่ายให้กับนักลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้บรรดานักวิจารณ์ได้กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวถือเป็นอัตราการแจกจ่ายที่สูงกว่าที่เคยเห็นในโครงการคริปโตอื่น ๆ ที่ผ่านมาอีกด้วย
นอกจากนี้นักลงทุนที่เป็นเจ้าของโทเคน TRX สามารถทำการ Staking โทเคนของตนเองเพื่อให้ได้รับสิ่งที่เรียกว่า “Tron Power” ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นพลังที่ขับเคลื่อนในการลงคะแนนให้กับ “ตัวแทนระดับสูง” ที่จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบบล็อกของรายการธุรกรรมได้ และผู้ตรวจสอบทุกคนก็จะได้รับรางวัลเป็นโทเคน TRX เพื่อแลกกับการทำงาน โดยรางวัลดังกล่าวก็จะถูกแจกจ่ายกลับไปสู่นักลงทุนที่ลงคะแนนให้กับพวกเขาอีกครั้งหนึ่งได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเป็นเจ้าของโทเคน TRX นั้นสามารถซื้อได้โดยตรงจากแพลตฟอร์มหลักอย่างเครือข่าย TRON และนอกจากนี้ยังสามารถซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนรองได้เช่นเดียวกันกับคริปโตตัวอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น Binance, Kraken, Bitfinex และ FTX เป็นต้น
ผู้ผลิตบล็อกบนเครือข่าย TRON จะถูกเรียกว่า “Super Representative”