สร้าง Passive Income จากคริปโตของคุณได้อย่างไร?
การสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมคริปโตมีหลายช่องทางให้เลือกพิจารณา
การสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมคริปโตมีหลายช่องทางให้เลือกพิจารณา
ในขณะที่อุตสาหกรรม Blockchain กำลังวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องนั้น ผู้ที่ถือครองคริปโตจำนวนมากก็กำลังมองหาวิธีสร้างรายได้แบบ Passive Income จากสินทรัพย์ของตนเอง ไม่ว่าจะได้รับจากโครงการที่สร้างโทเคนใหม่ที่สามารถขายทำกำไร หรือการเดิมพันโทเคนเพื่อรับรางวัลในฐานะผู้ตรวจสอบธุรกรรม หรือแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมกับโปรโตคอลในรูปแบบที่เรียกว่า “Yield Farming” ที่ให้บริการกู้ยืมทั้งแบบรวมศูนย์ (CeFi) และแบบกระจายศูนย์ (DeFi) รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อย่าง Crypto Credit Card ที่นำเสนอการแลกคะแนนหรือแลกเป็นเงินสดได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ต่างก็สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมแบบ Passive Income ได้ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแต่ละตัวเลือกเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดิมพัน (Staking) ที่มักจะต้องการให้สินทรัพย์รายการนั้นยังคงถูกล็อคเอาไว้ใน Smart Contract และไม่สามารถนำออกไปก่อนระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ได้ ถึงแม้ว่าราคาตลาดของสินทรัพย์รายการนั้นกำลังเคลื่อนตัวไปในเชิงลบ เป็นต้น และนอกจากนี้โปรโตลคอล “DeFi” ที่ทำงานผ่าน Smart Contract แบบอัตโนมัตินั้นอาจเกิดช่องโหว่ที่จะส่งผลต่อการคุกคามความปลอดภัยได้เช่นกัน
แนวคิดในการสร้างรายได้ด้วยดอกเบี้ยนั้นมีมาตั้งแต่การก่อตั้งธนาคารสมัยใหม่ ซึ่งดอกเบี้ยสามารถจูงใจให้บุคคลธรรมดาและธุรกิจเข้าร่วมกับธนาคาร เพื่อนำเงินที่ฝากไว้เฉย ๆ ให้สามารถสร้างผลตอบแทนด้วยการให้กู้ยืมได้ ซึ่งสำหรับผู้กู้นั้นดอกเบี้ยที่ต้องชำระจะถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินกู้ที่ได้รับจากผู้ให้กู้ โดยทั่วไปแล้วผู้กู้จะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยรายปี และดอกเบี้ยจำนวนนั้นสามารถนำไปใช้กับเงื่อนไขต่าง ๆ ได้นานหลายเดือนหรือหลายสิปปี นอกจากนี้บุคคลธรรมดาและธุรกิจสามารถรับดอกเบี้ยจากเงินส่วนเกินได้ด้วยการฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์หรือเครื่องมือการลงทุนต่าง ๆ เช่น พันธบัตร และใบรับประกันการลงทุน (GIC) เป็นต้น
แม้ว่าแนวคิดของระบบทางการเงินแบบดั้งเดิมส่วนมากจะถูกนำไปใช้กับระบบนิเวศของคริปโตก็ตาม แต่คุณสมบัติในการกระจายอำนาจของเทคโนโลยีนั้น ได้นำเสนอโอกาสในการสร้างรายได้ด้วยทางเลือกต่าง ๆ มากมาย เช่น การกู้ยืมและการฟาร์มผลตอบแทน (Yield Farming) เป็นต้น
แพลตฟอร์มการกู้ยืม
การให้กู้ยืมคริปโตนั้นมีให้บริการมากมายในปัจจุบัน แต่ทั้งหมดนี้ต่างก็มีหลักการเดียวกันที่เป็นรากฐานของตลาดกู้ยืมทั่วไป โดยผู้ที่ถือครองคริปโตจำนวนมากนั้น สามารถเลือกที่จะนำเอาบางส่วนไปให้กู้ยืมเพื่อที่จะรับดอกเบี้ยได้ ซึ่งในขณะที่การกู้ยืมในระบบการเงินดั้งเดิมนั้นจะเกิดขึ้นได้แค่ในตลาดแบบรวมศูนย์ แต่สำหรับการกู้ยืมในตลาดคริปโตนั้น ได้รับการสนับสนุนจากทั้งแพลตฟอร์มการเงินแบบรวมศูนย์ (CeFi) และแบบกระจายอำนาจ (DeFi)
“การเงินแบบ DeFi ถือเป็นบทบาทที่ค่อนข้างสำคัญต่ออุตสาหกรรมคริปโต”
การเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์ม DeFi ได้ทำให้นักลงทุนสามารถย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเองไปมาระหว่างโปรโตคอลต่าง ๆ ได้โดยถือเป็นการเปิดโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเรียกว่า “Yield Farming” หรือ “Liquidity Mining” เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ของตนเองไปมาระหว่างกลุ่ม Liquidity Pool บนแพลตฟอร์ม เช่น Uniswap, Sushiswap, Aave และ Compound เป็นต้น โดยกลุ่มสภาพคล่องหรือ Liquidity Pool คือ Smart Contract ของเครือข่าย Ethereum ที่ทำหน้าที่เป็นตลาดให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยน กู้ยืม หรือให้ยืมในรูปแบบคริปโตได้ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะใช้อัลกอริธึมแทนหนังสือสั่งซื้อ (Order Book) แบบดั้งเดิมเพื่อกำหนดราคาตลาดของคริปโต
กระบวนการในการทำ Yield Farming มักเกี่ยวข้องกับขั้นตอนต่อไปนี้:
1. นักลงทุนที่เพิ่มเงินทุนให้กับกลุ่มสภาพคล่อง จะกลายเป็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider: LP) ให้กับตลาดนั้น
2. นักลงทุนจะได้รับ “โทเคน” เป็นดอกเบี้ยจาก LP โดยโทเคนนั้นเปรียบเสมือนตัวแทนของการลงทุนแบบเดิมหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มสภาพคล่อง
3. นักลงทุนสามารถนำโทเคนของตนเองที่ได้รับจาก LP ไปลงทุนในกลุ่มสภาพคล่องแหล่งอื่นได้ เพื่อเป็นการขยายผลตอบแทน
Yield Farming นั้นให้ผลตอบแทนแตกต่างจากการเปิดสถานะ Long/Short ในการซื้อและขายคริปโต ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับโปรโตคอล DeFi ที่มีการกระจายอำนาจและเป็นแบบ Non-Custodial ถึงแม้ว่าการทำ Yield Farming จะwด้ผลตอบแทนที่สูงกว่าทางเลือกแบบเดิมมาก แต่แพลตฟอร์ม DeFi ส่วนใหญ่นั้นมีความซับซ้อนและคาดเดายาก นอกจากนี้การขาดการกำกับดูแลด้านกฎระเบียบและการป้องกันการฝากเงินในโปรโตคอล DeFi นั้นก็อาจทำให้ผู้ใช้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางกฎหมายและความปลอดภัย ซึ่งต้องใช้การตรวจสอบวิเคราะห์ที่เข้มงวดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการขาดหน่วยงานกลางที่จะเข้ามาควบคุมเรื่องกฎหมายนั้น หมายความว่าการเปิดใช้งาน Smart Contract จะสามารถกำหนดการจ่ายเงินและสามารถทำธุรกรรมได้โดยอัตโนมัติภายใต้เงื่อนไขที่ตั้งไว้ ซึ่งในหลายกรณีก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของคู่สัญญาได้เช่นกัน
การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง ควรศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ “อย่าลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ”
บุคคลที่เข้าร่วมในการรักษาความปลอดภัยของโปรโตคอลในเครือข่าย Blockchain แบบเฉพาะนั้นจะสามารถได้รับรางวัลที่เรียกว่า “Crypro Reward” สำหรับความพยายามของพวกเขาได้ ซึ่งกระบวนการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเรียกว่า “Crypto Mining” บนอัลกอริธึมที่เรียกว่า Proof-of-Work (PoW) และ Proof-of-Stake (PoS)
Crypto Mining: การขุดคริปโต เป็นกระบวนการของการใช้พลังในการคำนวณหรือประมวลผลผ่านอัลกอริธึม PoW เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมก่อนที่จะถูกเพิ่มลงใน Blockchain ซึ่งทุกครั้งที่นักขุดได้ตรวจสอบบล็อกธุรกรรมเสร็จสิ้นแล้ว เครือข่ายก็จะสร้างคริปโต “บริสุทธิ์” เป็นรางวัล และนักขุดสามารถถือรางวัลดังกล่าวไว้ หรือทำการแลกเปลี่ยนเป็นคริปโตสกุลอื่นหรือสกุลเงินดั้งเดิมก็ได้
Crypto Staking: การเดิมพันคริปโต เป็นกระบวนการที่ผู้ที่ถือคริปโตจะต้องล็อคสินทรัพย์ของตนเองไว้ใน Smart Contract ผ่านอัลกอริธึม PoS เพื่อรับรางวัลจากโปรโตคอล ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการนี้จะถูกเรียกว่าผู้ตรวจสอบเครือข่าย โดยทางเครือข่ายจะมอบรางวัลให้แก่ผู้ตรวจสอบสำหรับการเข้าร่วมในระบบนิเวศ ที่มีหน้าที่ช่วยสร้างบล็อกใหม่ให้ผู้ใช้รายอื่นเลือกที่จะเข้ามาเดิมพันได้โดยตรงบนโปรโตคอลดังกล่าว เช่น Cardano, Polkadot, Binance และ Kraken เป็นต้น หรือภายใน Wallet ก็ได้ เช่น Ledger เป็นต้น
Crypto Credit Card & Crypto Debit Card: ทำงานเหมือนกับบัตรรางวัลทั่วไป ที่จะรวมข้อเสนอ “Cashback” หรือ “Point” ให้กับผู้ถือ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้บัตรรางวัลบางส่วนได้มีการออกรางวัลเป็นคะแนนหรือการสะสมไมล์ ที่ไม่ใช่คริปโต แต่อย่างไรก็ตามยังมีบัตรรางวัลอีกที่นำเสนอรางวลัตอบแทนสูงถึง 100% สำหรับการชำระบริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ และบริการ Cashback 10% เช่น Crypto.com เป็นต้น
แพลตฟอร์มที่นำเสนอ Crypto Reward: เพื่อเพิ่มความสนใจต่อสาธารณะ แพลตฟอร์มจำนวนมากได้นำเสนอโปรแกรมอ้างอิงเข้ามาเพิ่มเติมเรียกว่า “Affiliate Program” เช่น Binance, Paxos และ Trezor เป็นต้น โดยรางวัลจะแลกผ่านการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มพันธมิตร ในรูปแบบของโบนัสเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งส่วนลดต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้จะต้องทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นจะสนับสนุนโครงการที่สร้างขึ้นจากปัจจัยที่มั่นคง
ถึงแม้จะมีหลากหลายช่องทางในการรับรางวัลและดอกเบี้ยจากคริปโต แต่สิ่งสำคัญคือผู้ใช้ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่เงินทุนสูญหายไปนั้น แพลตฟอร์มกระจายอำนาจ (DeFi) มักขาดการป้องกันเงินฝาก หมายความว่าบนแพลตฟอร์มที่ให้ผลตอบแทนสูงนั้น มักจะมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน
ผลตอบแทนที่หลอกลวง: แพลตฟอร์มให้กู้ยืมและกลุ่มสภาพคล่องบางแห่งที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนให้ซื้อคริปโตที่มีมูลค่าเล็กน้อย (ส่วนมากจะเป็นสกุลใหม่) แม้ว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนสูงในระยะสั้น แต่สินทรัพย์ดังกล่าวอาจมีความผันผวนสูง จึงทำให้คำสัญญานั้นไม่เป็นผล
การล็อคเงินทุน: แพลตฟอร์มให้กู้ยืมและการเดิมพัน (Staking) บางประเภทต้องการให้ผู้ใช้ทำการล็อคสินทรัพย์ของตนเองในช่วงเวลาที่กำหนด จึงส่งผลให้นักลงทุนขาดสภาพคล่องของตนเองที่อาจจะต้องเผชิญกับสภาวะตลาดในทางลบต่อมูลค่าของตนที่ถือครองอยู่ เช่น ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลง
ช่องโหว่ของ Smart Contract: ถึงแม้ว่าการทำงานส่วนใหญ่จะราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น แต่บางสัญญาก็มีช่องโหว่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นผลให้การล็อคโทเคนไว้ในโปรโตคอลการเดิมพันหรือกลุ่มสภาพคล่องจะทำให้เงินของนักลงทุนสูญหายหรือถูกขโมยได้
การเข้าถึง: ไม่ใช่นักลงทุนทุกคนที่จะเชี่ยวชาญในขอบเขตของสินทรัพย์คริปโต และอย่างน้อยในโลกที่ซับซ้อนของ DeFi ถือเป็นความท้าทายอย่างมากที่จะทำความเข้าใจด้านเทคนิคอย่างดี จึงจะถือว่าเข้าถึงได้อย่างแท้จริง
การสร้าง Passive Income จากคริปโตนั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เมื่อระบบนิเวศมีการพัฒนาและขยายขอบเขตออกไปในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมืออาชีพหรือนักลงทุนสมัครเล่น ต่างก็ควรพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในตัวเลือกการลงทุนต่าง ๆ ด้วย ถึงแม้ว่าผลตอบแทนที่สูงกว่าระบบการเงินดั้งเดิมจะเป็นการดึงดูดที่หอมหวาน แต่การดำเนินการตรวจสอบสถานะ (Due Diligence) มีความสำคัญอย่างยิ่งบนแพลตฟอร์มกระจายอำนาจหรือ DeFi