สิ่งใดเป็นตัวกำหนดราคาของ 1 Bitcoin?
Bitcoin คริปโตยอดนิยมมีมูลค่าได้ด้วยหลายเหตุปัจจัย
Bitcoin คริปโตยอดนิยมมีมูลค่าได้ด้วยหลายเหตุปัจจัย
Bitcoin เป็นสกุลเงินเสมือนที่เรียกว่า “คริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency)” ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2009 โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้นามแฝงว่า “Satoshi Nakamoto” ซึ่งการทำธุรกรรมผ่าน Bitcoin นั้นจะถูกบันทึกลงบนเครือข่าย Blockchain แต่นอกเหนือจากการแสดงประวัติการทำธุรกรรมแล้วนั้น ยังสามารถใช้เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเป็นคริปโตที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดอีกด้วย ในขณะนี้ได้ถือครองส่วนแบ่งของตลาดโดยรวมไปกว่า 41.5% ด้วยกัน จึงถือเป็นคริปโตที่ได้รับความนิยมสูงสุด อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมคริปโตอีกด้วย
Bitcoin นั้นจะไม่เหมือนกับการลงทุนในสกุลเงินดั้งเดิมที่ออกโดยธนาคารกลางและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งการซื้อ Bitcoin มีความแตกต่างจากการซื้อหุ้นหรือพันธบัตรโดยสิ้นเชิง เพราะ Bitcoin ไม่ใช่บริษัทหรือนิติบุคคล ดังนั้นจึงไม่มีเอกสารงบดุลขององค์กรหรือแบบฟอร์ม 10-K* ให้ตรวจสอบ
แบบฟอร์ม 10-K* คือเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
เนื่องจาก Bitcoin ไม่ได้ออกโดยธนาคารกลาง หรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง ดังนั้นนโยบายทางการเงิน อัตราเงินเฟ้อ และการวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มักจะมีอิทธิพลต่อมูลค่าของสกุลเงิน จึงไม่มีผลกับตัว Bitcoin แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นราคาของ Bitcoin ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่อไปนี้
และหัวข้อถัดไปจากนี้ จะเป็นการขยายความว่าในแต่ละปัจจัยดังกล่าว มีรายละเอียดหรือที่มาที่สำคัญอย่างไร
ในประเทศที่ไม่สามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้คงที่ได้นั้น แต่ทำได้เพียงแค่ควบคุมสกุลเงินของตนเองว่าควรมีอุปทานหมุนเวียนเท่าใดจึงเหมาะสม โดยธนาคารกลางต้องทำการปรับลดนโยบายทางการเงิน ได้แก่ อัตราคิดลด (Discount Rate), เปลี่ยนแปลงการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) และการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations: OMOs) ซึ่งด้วยวิธีเหล่านี้ทางธนาคารกลางอาจสร้างผลกระทบต่อสกุลเงินของประเทศได้เช่นเดียวกัน
อุปทานของ Bitcoin ได้รับอิทธิพลในสองปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้
ปัจจัยแรก: โปรโตคอลของ Bitcoin นั้นอนุญาตให้การผลิต Bitcoin เหรียญใหม่อยู่ในอัตราคงที่ และจะนำเข้าสู่ตลาดเมื่อนักขุดทำการประมวลผลบล็อกของธุรกรรมเสร็จสิ้น ซึ่งต่อมาอัตราการผลิตเหรียญใหม่ได้รับการออกแบบให้ช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น การเติบโตได้ชะลอตัวจาก 6.9% (2016) เป็น 4.4% (2017) และเป็น 4.0% (2018) จากตัวเลขจะเห็นว่าสิ่งนี้สามารถสร้างสถานการณ์ที่ทำให้อัตราอุปสงค์เพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราอุปทาน และจะสามารถผลักดันราคาได้ด้วยการชะลอตัวของการเติบโตของ Bitcoin ใหม่ ที่เกิดจากการแจกจ่ายรางวัลในบล็อกให้แก่ผู้ขุดบนเครือข่ายนั้นจะลดลงครึ่งหนึ่งทุก 4 ปี (Halving) และถือได้ว่าเป็นการสร้างภาวะเงินเฟ้อเทียมสำหรับระบบนิเวศของ Bitcoin
ปัจจัยที่สอง: อุปทานที่อาจได้รับอิทธิพลจากจำนวน Bitcoin ที่ระบบอนุญาตให้มีอยู่เพียง 21 ล้านเหรียญ ซึ่งเมื่อถึงจำนวนนี้กิจกรรมการขุดจะไม่สร้าง Bitcoin ใหม่อีกต่อไป ตัวอย่างเช่น ในขณะนี้อุปทานหมุนเวียนของ Bitcoin สูงถึง 18.76 ล้านเหรียญแล้ว (เดือนกรกฎาคม ปี 2021) ซึ่งคิดเป็น 89% ของอุปทานทั้งหมดที่จำกัดไว้ และเมื่อ 21 ล้าน Bitcoin ได้ถูกขุดออกมาครบแล้ว (คาดว่าจะครบในปี 2140 หรือนานกว่านั้น) ราคาก็จะขึ้นอยู่กับว่ามันใช้งานได้จริงหรือไม่ (ความพร้อมใช้ในการทำธุรกรรม) มันถูกกฎหมายหรือไม่ และความต้องการในตลาดเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคริปโตสกุลอื่น ๆ
“ราคาสูงสุดหรือ All Time High ของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท”
ถึงแม้ว่า Bitcoin อาจเป็นคริปโตที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ก็ยังมีคริปโตอื่น ๆ อีกนับร้อยที่กำลังแย่งชิงตำแหน่งความนิยมจากกลุ่มผู้ใช้งาน ซึ่งในขณะที่ Bitcoin นั้นยังคงเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นเกี่ยวกับมูลค่ารวมตามราคาตลาด แต่ยังมี Altcoin ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน เช่น Ethereum (ETH), Tether (USDT), Binance Coin (BNB), Cardano (ADA) และ Polkadot (DOT) เป็นต้น สกุลเหล่านี้ก็ต่างเป็นหนึ่งในคู่แข่งที่ใกล้ชิดที่สุดในปี 2021 นี้
และนอกจากนี้การระดมทุน ICO ใหม่ ๆ ยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างดี เนื่องจากมีอุปสรรคเข้ามาค่อนข้างน้อยเพราะตลาดมีการแข่งขันกันในวงกว้าง ซึ่งมันจะส่งผลให้เหรียญใหม่แข่งกันขายในราคาที่ต่ำและเป็นผลดีต่อนักลงทุนในการเข้าซื้อ โดยถือเป็นความโชคดีสำหรับ Bitcoin ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลาดกาลอยู่แล้วจึงทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งอื่น ๆ
Bitcoin มีต้นทุนในการขุด ดังนั้นจึงไม่มีวันที่ราคาจะเป็น 0
ถึงแม้ว่า Bitcoin จะเป็นเพียงแค่สกุลเงินเสมือนที่จับต้องไม่ได้ แต่มันก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิตขึ้น และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด โดยในปัจจุบันการขุด Bitcoin เป็นที่รู้กันว่าต้องอาศัยการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์การเข้ารหัสที่ซับซ้อน ซึ่งนักขุดทุกคนแข่งขันกันเพื่อจะแก้โจทย์ให้สำเร็จ โดยนักขุดคนแรกที่ทำสำเร็จนั้นจะได้รับรางวัลเป็นบล็อกของ Bitcoin ที่เพิ่งสร้างใหม่ และค่าธรรมเนียมธุรกรรมใด ๆ ที่สะสมตั้งแต่บล็อกล่าสุดถูกค้นพบ
และสิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับการผลิต Bitcoin ก็คือมันจะไม่เหมือนกับการผลิตสินค้าอื่น ๆ โดยอัลกอริธึมจะถูกอนุญาตให้พบ Bitcoin หนึ่งบล็อกเฉลี่ยทุก ๆ 10 นาทีเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่าหากนักขุดที่เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีจำนวนที่มากขึ้น ก็จะมีผลทำให้โจทย์นั้นยากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นอีกด้วย จึงต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อรักษาช่วงเวลา 10 นาทีนั้นไว้จนกว่าจะแก้ไขโจทย์ได้สำเร็จ
การวิจัยพบว่าราคาตลาดของ Bitcoin นั้นมีความสัมพันธ์กับต้นทุนการผลิตส่วนเพิ่ม (Marginal Cost: MC) หรือก็คือต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลผลิต (ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง)
พิจารณาในกรณีนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ซื้อขายหุ้นรวมไปถึงดัชนีบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น NYSE, Nasdaq และ FTSE เป็นต้น ในกรณีเดียวกันนี้นักลงทุนในตลาดคริปโตที่จะซื้อขายคริปโตกันบนแพลตฟอร์ม เช่น Coinbase, Binance, Bitkub และอื่น ๆ แต่แพลตฟอร์มเหล่านี้ก็เปิดให้บริการแลกเปลี่ยนคู่สกุลเงินดั้งเดิม/คริปโต (เช่น BTC/USD) ด้วยเช่นเดียวกัน
ยิ่งแพลตฟอร์มตลาดแลกเปลี่ยนเป็นที่นิยมมากเท่าใด ก็ยิ่งสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมเข้ามาได้มากเท่านั้น เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายโยงใยออกไปเป็นวงกว้างได้ง่ายยิ่งขึ้น และด้วยการใช้ประโยชน์จากอิทธิพลของตลาด จึงอาจมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ควบคุมวิธีการเพิ่มสกุลเงินอื่น ๆ เข้ามา ตัวอย่างเช่น การเปิดตัวกรอบข้อตกลงอย่างง่ายสำหรับโทเคนในอนาคต (Simple Agreement for Future Tokens: SAFT) ที่พยายามจะกำหนดว่า ICO สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านหลักทรัพย์อย่างไร แต่ด้วยการปรากฎตัวของ Bitcoin ในแพลตฟอร์มตลาดแลกเปลี่ยนเหล่านี้ที่แสดงถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ โดยอาจลืมคำนึงถึงการอยู่นอกกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่เป็นหัวใจหลักของการเป็นคริปโต
ความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ Bitcoin และคริปโตอื่น ๆ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลได้มีการถกเถียงกันถึงวิธีการจัดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ถึงแม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ได้จัดประเภทคริปโตให้เป็น “หลักทรัพย์” แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าของสหรัฐอเมริกา (CFTC) นั้นถือว่า Bitcoin เป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความสับสนว่าหน่วยงานกำกับดูแลใดจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับคริปโต และทำให้เกิดความคลุมเครือของการจัดประเภทของมันถึงแม้ว่ามูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดจะพุ่งสูงขึ้นก็ตาม
นอกจากนี้ตลาดได้ปรากฎให้เห็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่ใช้ Bitcoin เป็นสินทรัพย์อ้างอิง เช่น กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (Exchange-Traded Funds: ETFs), Future และอนุพันธ์ (Derivative) ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถมีอิทธิพลต่อราคาได้สองเหตุผลด้วยกัน ได้แก่
– เหตุผลแรก: มันทำให้นักลงทุนบางส่วนที่ไม่สามารถซื้อ Bitcoin จริงได้นั้นก็สามารถเข้าถึงการเป็นเจ้าของ Bitcoin ได้เช่นเดียวกัน และแน่นอนว่ามันทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น
– เหตุผลที่สอง: ความสามารถในการลดความผันผวนของราคา โดยสถาบันลงทุน (Institutional Investor) ที่เชื่อว่า Bitcoin มีมูลค่าสูงเกินไปหรือถูกตีราคาต่ำเกินไป สามารถใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการเดิมพันว่าราคาของ Bitcoin จะเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม สิ่งนี้จึงช่วยชะลอราคาไม่ให้ผันผวนจนเกินไป
เนื่องจาก Bitcoin ไม่ได้ถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจส่วนกลาง แต่ดำเนินการโดยนักพัฒนาและนักขุดในการประมวลผลธุรกรรม รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย Blockchain อีกด้วย โดยหากมีความต้องการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ใด ๆ ก็จะต้องเป็นไปตามมติเอกฉันท์เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ชุมชน Bitcoin บางส่วนรู้สึกสิ้นหวังกับการแก้ไขปัญหาบางประการบนเครือข่าย เนื่องจากมันจะใช้เวลาที่นานเกินความจำเป็นกว่าที่จะรวบรวมมติให้เป็นไปอย่างเอกฉันท์ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องความสามารถในการปรับขยายบล็อกนั้นมีปัญหาเป็นพิเศษ โดยจำนวนธุรกรรมที่สามารถดำเนินการได้จะขึ้นอยู่กับขนาดของบล็อก และขณะนี้ซอฟต์แวร์ Bitcoin สามารถดำเนินการได้ประมาณ 3 – 7 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น ซึ่งหลายคนกังวลว่าความเร็วในการทำธุรกรรมที่ช้านั้นจะผลักดันนักลงทุนออกไปสู่คริปโตสกุลอื่นที่เป็นคู่แข่งแทน
ชุมชนมีวิธีการแบ่งแยกตามมติที่ดีที่สุดในเรื่องการเพิ่มจำนวนธุรกรรม และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลที่ควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐาน ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า “Fork” แต่จะมีแบ่งย่อยไปอีก 2 ประเภท ได้แก่ “Soft Fork” จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลที่ไม่ส่งผลให้มีการสร้างสกุลเงินใหม่แยกออกมา แต่ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์โดยการ “Hard Fork” นั้นจะส่งผลให้เกิดการสร้างสกุลเงินใหม่แยกออกมา โดย Bitcoin ได้มีการทำ Hard Fork มาแล้วหลายครั้งจนเกิดสกุลเงินแยกออกมาใหม่ เช่น Bitcoin Cash และ Bitcoin Gold เป็นต้น
Q: Bitcoin เพิ่มมูลค่าได้อย่างไร?
A: เมื่อจำนวนอุปทานของ Bitcoin ใกล้ถึงขีดจำกัดสูงสุด ส่งผลให้ความต้องการก็ยิ่งมีสูงขึ้น โดยทั้งสองสิ่งนี้ก็จะผลักดันราคา Bitcoin ให้สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้สถาบันต่าง ๆ จำนวนมากได้เข้ามาลงทุนใน Bitcoin อีกทั้งยังยอมรับให้เป็นรูปแบบการชำระเงินอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการเพิ่มประโยชน์การใช้สอย และทำให้ความมุ่งมั่นที่จะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในชีวิตประจำวันก็ใกล้ความจริงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
Q: ทำเงินกับ Bitcoin ได้อย่างไร?
A: Bitcoin นั้นไม่เหมือนหุ้น ซึ่งการเป็นเจ้าของนั้นไม่ได้หมายถึงการเป็นหุ้นส่วนบริษัทหรือนิติบุคคล แต่การเป็นเจ้าของ Bitcoin ก็คือการเป็นเจ้าของสกุลเงินเสมือนหรือคริปโต เช่นเดียวกับการเป็นเจ้าของเงิน $1 ที่เป็นสกุลเงินดั้งเดิมหรือสกุลเงินกระดาษ และเจ้าของ Bitcoin จะสามารถทำเงินได้ก็ต่อเมื่อราคาต่อเหรียญเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ Bitcoin จำนวน 100 เหรียญ ที่ราคา 2,090 บาท (100 x 2,090 = 209,000) ในวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 2013 ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในประวัติการณ์ของ Bitcoin และคุณได้ถือไว้จนถึงระดับสูงสุดในประวัติการณ์ที่ราคา 2,000,490 บาท เมื่อวันที่ 13 เมษายน ปี 2021 ที่ผ่านมานี้ เท่ากับว่ามูลค่าที่คุณจะทำเงินได้เท่ากับ 100 x 2,000,490 = 200 ล้านบาทด้วยกัน
Q: ทำไม Bitcoin ถึงมีค่ามาก?
A: อุปสงค์ Bitcoin เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่อุปทานใหม่กำลังหดตัวลง โดยจำนวน Bitcoin ที่เกิดขึ้นในบล็อกจะลดจำนวนลงครึ่งหนึ่งโดยเฉลี่ยทุก ๆ 4 ปี และ Bitcoin สุดท้ายที่จะถูกขุดขึ้นมาจากที่ไหนสักแห่งในปี 2140 แต่ในความจริงแล้ว Bitcoin นั้นไม่เหมือนกับสินค้าส่วนใหญ่โดยสิ้นเชิง เพราะอุปทานใหม่ของ Bitcoin จะไม่สามารถเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการได้อีกแล้ว ซึ่งด้วยความไม่สมดุลกันของอุปสงค์และอุปทาน จึงส่งผลให้ราคาของ Bitcoin ถูกผลักดันให้สูงขึ้น
Q: สิ่งใดที่ทำให้ราคาของ Bitcoin ขึ้นลง?
A: ราคาของ Bitcoin ผันผวนจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไร ความพร้อมใช้งาน และครอบคลุมไปถึงสื่อข่าว ด้วยข่าวเชิงลบอาจทำให้เจ้าของ Bitcoin บางคนตื่นตระหนกจึงขายสินทรัพย์ออกไป และส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ แต่ในทางกลับกันด้วยข่าวเชิงบวกก็ส่งผลให้ราคาขยับขึ้นได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีสถาบันลงทุนขนาดใหญ่ที่ได้เข้าลงทุนกับ Bitcoin และมีบางสถาบันก็อนุญาตให้ใช้ Bitcoin เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งด้วยสิ่งเหล่านี้ต่างล้วนทำให้ราคาของ Bitcoin สูงขึ้นได้อีกด้วย
นอกจากนี้ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากได้ถูกบั่นทอนความเชื่อมั่นของสกุลเงินดั้งเดิมในประเทศตนเอง และแสวงหาแหล่งอื่นเพื่อเก็บเงินของพวกเขา เนื่องจาก Bitcoin มีการกระจายอำนาจและไม่มีการควบคุม จึงถือเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้ก็ทำให้ราคาขยับขึ้นไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน