ทำความรู้จักกับ “Altcoin” คริปโตทางเลือก
นอกจาก Bitcoin แล้วยังมีคริปโตอีกมากมายให้คุณได้ทำความรู้จัก
นอกจาก Bitcoin แล้วยังมีคริปโตอีกมากมายให้คุณได้ทำความรู้จัก
Altcoin เป็นคำที่ใช้เรียกคริปโตทั้งหมดที่ไม่ใช่ Bitcoin ซึ่งมาจากการรวมกันระหว่างคำว่า “Alternative” ที่แปลว่าทางเลือก กับคำว่า “Coin” ที่แปลว่าเหรียญ โดยอาจแปลได้อย่างง่ายว่า “เหรียญทางเลือก” ที่พวกมันจะมีลักษณะเฉพาะบางส่วนคล้ายกับ Bitcoin แต่ก็มีความแตกต่างกันในบางปัจจัย ตัวอย่างเช่น Altcoin บางตัวใช้อัลกอริธึมที่แตกต่างกัน (Bitcoin ใช้อัลกอริธึม SHA-256) เพื่อสร้างบล็อกและตรวจสอบธุรกรรม หรือบางตัวที่สร้างความแตกต่างจาก Bitcoin อย่างชัดเจน ด้วยการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ขึ้นมา เช่น Smart Contract หรือการลดความผันผวนของราคา เป็นต้น
ในเดือนกันยายน ปี 2021 นี้มีจำนวนคริปโตกว่า 11,500 สกุลด้วยกัน ซึ่งตามมูลค่าตลาดโดยรวมแล้วสำหรับ Altcoin นั้นคิดเป็นกว่า 58.5% ของมูลค่าทั้งหมด (Bitcoin ครองมูลค่าตลาดไว้ 41.5% อ้างอิงจาก CoinMarketCap) นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของราคา Altcoin นั้นมักจะเลียนแบบวิถีของราคา Bitcoin อยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า “การเติบโตของระบบนิเวศการลงทุนในตลาดคริปโต และการพัฒนาของตลาดสำหรับสกุลเงินเหล่านี้จะทำให้การเคลื่อนไหวของราคา Altcoin ในอนาคตจะเป็นอิสระจากวิถีของ Bitcoin ได้อย่างแน่นอน”
“Altcoin” ที่เป็นการรวมคำกันระหว่าง “Alt” กับ “Coin” ซึ่งหมายถึงเหรียญทางเลือกทั้งหมดที่นอกเหนือไปจาก Bitcoin แต่อย่างไรก็ตามรากฐานสำคัญของ Bitcoin และ Altcoin ก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่ ในเรื่องของการแบ่งปัน Code ภายใน และฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นระบบ Peer-to-Peer หรือการเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถประมวลผลข้อมูล และธุรกรรมจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน แต่ในบางกรณีแล้ว Altcoin บางตัวนั้นก็ปราถนาที่จะเป็น Bitcoin ตัวต่อไป ด้วยการเป็นวิธีการชำระเงินทางดิจิทัลที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ แต่อย่างไรก็ตามมันยังคงมีความแตกต่างหลายประการในเรื่องของเอกลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะตัว ดังนี้
Bitcoin: เป็นอันดับหนึ่งในคริปโตที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอ ในเรื่องหลักการทำงานและการออกแบบของมันที่ได้สร้างมาตรฐานสำหรับการพัฒนาสกุลเงินอื่น ๆ แต่ในทางกลับกันนั้นเรื่องของการใช้งานก็ยังมีข้อบกพร่องหลายประการด้วยกัน ตัวอย่างเช่น กลไกการทำงาน Proof-of-Work (PoW) ที่ใช้สร้างบล็อกกลับใช้พลังงานมากและใช้เวลานาน รวมไปถึงความสามารถในการทำ Smart Contract ของ Bitcoin ก็มีจำกัดเช่นเดียวกัน
Altcoin: มีการปรับปรุงตามข้อจำกัดของ Bitcoin เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่ง Altcoin จำนวนมากนั้นใช้กลไกการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) เพื่อลดการใช้พลังงานและลดเวลาที่จำเป็นในการสร้างบล็อกเพื่อตรวจสอบธุรกรรมใหม่
ยกตัวอย่าง Altcoin ตัวหนึ่งคือ Ether (ETH) ที่เป็นคริปโตที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกตามมูลค่าราคาตลาด ซึ่งใช้ ETH Gas เป็นการชำระค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมหรือการสร้าง Smart Contract หรืออีกตัวอย่างคือ Stablecoin ที่ไม่แสดงความผันผวนของราคาเหมือนอย่าง Bitcoin ซึ่งมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการใช้ทำธุรกรรมรายวัน ด้วยการแยกความแตกต่างที่ชัดเจนออกมาจากลักษณะของ Bitcoin นั้นจึงทำให้ Altcoin สามารถตีตลาดสำหรับตัวเองได้น่าสนใจอย่างยิ่ง
การจัดหมวดหมู่จะขึ้นอยู่กับฟังก์ชันและกลไกการทำงานเป็นหลัก โดย Altcoin บางตัวอาจถูกจัดให้อยู่มากกว่าหนึ่งหมวดหมู่ได้เช่นเดียวกัน
Mining-Based
Altcoin ที่ใช้การขุดนั้นมีอยู่จริงตามชื่อของการจัดหมวดหมู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กลไกการทำงานแบบ Proof-of-Work (PoW) ที่เป็นระบบการผลิตเหรียญใหม่ด้วยการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยจะมีความยากง่ายเฉพาะตัวเพื่อนำไปสู่การสร้างบล็อกใหม่ ตัวอย่างของ Altcoin ที่อยู่ในหมวดหมู่นี้ ได้แก่ Litecoin, Monero และ Zcash เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีการขุด Altcoin แบบ Pre-Mine หรือเหรียญที่ขุดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเหรียญที่ใช้วิธีดังกล่าวจะไม่ได้ถูกผลิตขึ้นโดยอัลกอริธึมทางคณิตศาสตร์ แต่จะเป็นการแจกจ่ายออกไปก่อนที่จะมีรายชื่ออยู่ในตลาดคริปโต ตัวอย่างของ Altcoin แบบ Pre-Mine คือ XRP ของ Ripple
Stablecoin
การซื้อขายและการใช้งานคริปโตได้ถูกปักธงทำเครื่องหมายเอาไว้ ในเรื่องความผันผวนตั้งแต่ที่ได้มีการเปิดตัวออกมา ซึ่งการออกแบบ Stablecoin นั้นตั้งเป้าที่จะลดความผันผวนโดยรวมนี้ ด้วยการผูกตรึงตัวมันไว้กับมูลค่าของกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกัน เช่น สกุลเงินดั้งเดิม โลหะมีค่า หรือคริปโตด้วยกันเอง เป็นต้น โดยการผูกตรึงนี้มีไว้เพื่อให้มันทำหน้าที่เป็นตัวสำรองในการไถ่ถอนการถือครองได้หากคริปโตสกุลนั้นล้มเหลวหรือประสบปัญหาใด ๆ ก็ตาม ซึ่งความผันผวนเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับราคาของ Stablecoin นั้นจะไม่มีทางเกินขอบเขตของมูลค่าที่ได้ทำการผูกตรึงไว้ ตัวอย่างของ Stablecoin ที่ผูกตรึงมูลค่าไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ USDT, USDC และ MarkerDAO เป็นต้น
Security Token
Security Token หรือโทเคนรักษาความปลอดภัย เป็น Altcoin ที่คล้ายกับหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่ซื้อขายกันในตลาดหุ้น แต่ต่างกันเพียงแค่สิ่งนี้มีที่มาจากโลกดิจิทัล โดย Security Token นี้จะคล้ายกับหุ้นแบบดั้งเดิมในรูปแบบการเป็นเจ้าของร่วม หรือการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือครอง ซึ่งโอกาสที่ราคาจะสูงขึ้นของโทเคนดังกล่าว จะเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญต่อนักลงทุนที่จะนำเงินไปลงทุนด้วย โดยทั่วไปแล้วมักจะมีการเสนอ Security Token ให้กับนักลงทุนผ่านการระดมทุนแบบ ICO
Utility Token
Utility Token ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บริการภายในเครือข่ายของผู้พัฒนาโทเคน ตัวอย่างเช่น อาจถูกใช้เพื่อซื้อบริการหรือแลกของรางวัล เป็นต้น ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก Security Token ตรงที่จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล หรือเป็นส่วนหนึ่งที่มีสัดส่วนในการถือหุ้น
“Altcoin หลายสกุลมีกรณีใช้งานที่โดดเด่นมากกว่า Bitcoin”
ในขณะนี้จำนวน Altcoin ในตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และมันได้ดึงดูดนักลงทุนรายย่อยหน้าใหม่จำนวนมากเข้ามาในตลาด โดยเน้นไปที่การเดิมพันการเคลื่อนไหวของราคา เพื่อสะสมผลกำไรระยะสั้น แต่เหล่านักลงทุนดังกล่าวก็ไม่ได้มีเงินทุนมากพอที่จำเป็นในการสร้างสภาพคล่องให้แก่ตลาด Altcoin ได้ ซึ่งบางตลาดนั้นก็ไม่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดและรัดกุมมากพอ จึงทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากในการประเมินมูลค่าของ Altcoin บางส่วน
พิจารณาจากกรณีของ Ether ที่เคยได้แตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 44,000 บาทเมื่อกลางเดือนมกราคม ปี 2018 ซึ่งหลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งเดือนราคาก็ได้ร่วงลงไปที่ 11,000 บาท และภายในสิ้นปีนั้นราคาของ Ether ก็ได้ตกฮวบลงไปที่ 2,000 บาทด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม Altcoin ตัวนี้ที่ชื่อว่า Ether ก็ได้พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราคา 129,000 บาทในอีก 2 ปีต่อมา (กลางเดือนพฤษภาคม ปี 2021) ซึ่งถ้าหากนักลงทุนคนใดที่ได้ถือครองระยะยาวมาตั้งแต่ปลายปี 2018 แล้วได้นำมาปล่อยขายในช่วงที่เรียกว่า All Time High นี้ก็คงได้รับผลกำไรไปอย่างมหาศาลเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามปัญหายังคงมีอยู่เพราะตลาดคริปโตนั้นยังไม่ถือว่าเติบโตเต็มที่ ถึงแม้จะมีความพยายามอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังไม่มีเกณฑ์การลงทุนที่จะเข้ามากำหนด หรือแม้แต่ตัวชี้วัดเพื่อประเมินมูลค่าของคริปโต โดยส่วนใหญ่แล้วตลาด Altcoin นั้นถูกขับเคลื่อนด้วยการเก็งกำไรเป็นหลัก และมีหลายกรณีด้วยกันที่สกุลเงินเหล่านี้ค่อย ๆ ตายไปจากตลาด เนื่องมาจากผลประโยชน์ที่ได้มานั้นไม่มากพอที่จะฉุดรั้งตัวสกุลเงินเอาไว้ในตลาดต่อไปได้ หรือบางกรณีที่สกุลเงินหายไปจากรายชื่อหลังจากที่ได้สั่งสมเงินของเหล่านักลงทุนที่ได้ลงทุนเอาไว้
ดังนั้นแล้วตลาด Altcoin จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่เต็มใจรับความเสี่ยงจากพฤติกรรมของตลาด ที่ไม่มีการควบคุมและพวกสกุลเงินใหม่จะมีแนวโน้มความผันผวนพอสมควร ซึ่งนักลงทุนควรที่จะสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดจากความผันผวนของราคาให้ได้ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้หากคุณทำได้ ตลาดคริปโตจะให้ผลตอบแทนที่ดีกับคุณอย่างแน่นอน
Altcoin แต่ละสกุลถูกสร้างมาด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน
ข้อดี
ข้อเสีย
Altcoin ยุคแรกที่โดดเด่นที่สุดอย่าง Namecoin นั้นใช้ Code-Based ของ Bitcoin และมีการใช้งานอัลกอริธึมกลไกการทำงานแบบ Proof-of-Work เหมือนกัน อีกทั้งยังรวมไปถึงการจำกัดอุปทานหมุนเวียนไว้ที่จำนวน 21 ล้านเหรียญเช่นเดียวกันกับ Bitcoin อีกด้วย
Namecoin เปิดตัวในเดือนเมษายน ปี 2011 โดยมีความแตกต่างสำคัญตรงที่ทำให้โดเมนของผู้ใช้ถูกมองเห็นได้น้อยลงกว่าของ Bitcoin ซึ่ง Namecoin อนุญาตให้ผู้ใช้ลงทะเบียนและขุดได้ด้วยการใช้โดเมน .bit ของตนเอง ที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการปกปิดตัวตนและต่อต้านการแทรกแซงของอำนาจรัฐ
ในขณะที่ Bitcoin ถูกเรียกว่า “Digital Gold” ก็มีอีกสกุลหนึ่งที่ถูกเรียกว่า “Digital Siver” นั่นก็คือ Litecoin ที่ถือว่าเป็น Altcoin ในยุคบุกเบิกเลยก็ว่าได้ ซึ่งมันเปิดตัวในเดือนตุลาคม ปี 2011 ถึงแม้ว่า Code-Based และฟังก์ชันการทำงานจะคล้ายคลึงกันโดยพื้นฐานเมื่อเทียบกับ Bitcoin แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการ ตัวอย่างเช่น Litecoin สามารถอนุมัติธุรกรรมได้เร็วกว่า Bitcoin และนอกจากนี้ยังกำหนดอุปทานหมุนเวียนอยู่ที่ 84 ล้านเหรียญด้วยกัน ซึ่งนับเป็น 4 เท่าของขีดจำกัด 21 ล้านเหรียญของ Bitcoin
พิจารณาจากเหตุการณ์ที่นำไปสู่ปัญหาของเงินดอลลาร์สหรัฐที่ออกโดยรัฐบาลกลางในศตวรรษที่ 19 ย้อนกลับไปในสมัยนั้นมีสกุลเงินท้องถิ่นหลายรูปแบบ และหลายประเภทที่หมุนเวียนในสหรัฐอเมริกา โดยในแต่ละอย่างนั้นมีลักษณะเฉพาะ และได้รับการสนับสนุนด้วยตราสารที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ตั๋วทองคำ ที่ได้รับการสนับสนุนจากการฝากทองคำที่กระทรวงการคลัง และธนบัตรของสหรัฐฯ ที่ใช้เป็นเงินทุนสำหรับสงครามกลางเมืองนั้นได้รับการสนันสนุนจากรัฐบาลกลาง เป็นต้น
ธนาคารท้องถิ่นในสมัยนั้นก็สามารถออกสกุลเงินของตนเองได้เช่นกัน ในบางกรณีก็ได้รับการสนับสนุนจากเงินสำรองที่ไม่มีอยู่จริง แต่ในเวลาต่อมาก็ทำการยุติระบบนี้ทั้งหมด และได้ทำการรื้อระบบสกุลเงินใหม่มาใช้ดอลลาร์สหรัฐเหมือนกันทั้งประเทศ ซึ่งความหลากหลายของสกุลเงินและเครื่องมือทางการเงินนั้น มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในตลาด Altcoin ซึ่งมีจำนวนหลายพันสกุลในตลาด โดยแต่ละเหรียญก็อ้างถึงบริการตามวัตถุประสงค์และมีแหล่งเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป
ในสถานการณ์ปัจจุบันตลาด Altcoin นั้นไม่น่าจะมีเหตุการณ์ที่จะมีการรวมกันของหลายสกุลเงินให้เป็นสกุลเงินเดียวแบบเหตุการณ์ของสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 19 แต่มีแนวโน้มว่า Altcoin กว่า 2,000 รายการในตลาดคริปโตส่วนใหญ่อาจจะไม่รอด โดยเหล่า Altcoin ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีความสามารถและกรณีใช้งานที่เยี่ยมยอดนั้น อาจทำให้ Altcoin เหล่านี้อยู่รอดในตลาดและอาจครองตลาดได้เช่นเดียวกัน
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในตลาดคริปโตนั้น Altcoin ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีราคาไม่แพง ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนที่มักจะเป็นทวีคูณของ Bitcoin อีกด้วยเช่นเดียวกัน
Altcoin เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนในตลาดคริปโตที่ต้องการกระจายพอร์ตการลงทุน ในขณะที่ Altcoin หลายตัวก็มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักแล้ว แต่ก็ยังมี Altcoin อีกมากกว่า 10,000 สกุลที่มีความต้องการจะสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไม่ว่าจะในเรื่องของการปรับปรุงเพื่ออุดช่องโหว่ของ Bitcoin หรือกรณีใช้งานใดก็ตาม ซึ่งสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรทราบคือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Altcoin นั้นอาจคล้ายคลึงกันกับ Bitcoin แต่ในบางครั้งก็มีความเสี่ยงที่มากกว่าหลายเท่าตัว ดังนั้นนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างดีก่อนตัดสินใจลงทุน