Bitcoin vs Bitcoin Cash: แตกต่างกันอย่างไร?
ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการแยกสาย Blockchain ออกมาเป็นคริปโตสกุลใหม่
ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการแยกสาย Blockchain ออกมาเป็นคริปโตสกุลใหม่
นับตั้งแต่ Bitcoin ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกดิจิทัล ก็ได้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับความสามารถของ Bitcoin ในการขยายตัวบล็อกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin นั้นจะได้รับการประมวลผล ตรวจสอบ และจัดเก็บในบัญชีแยกประเภทสาธารณะที่เรียกกันว่า “Blockchain” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาปฏิวัติวงการบันทึกธุรกรรมทางการเงินเลยก็ว่าได้ ด้วยหลักการทำงานที่ระบุอย่างชัดเจนว่าข้อกำหนดต่าง ๆ ในการประมวลผลธุรกรรมนั้น จะถูกดำเนินการโดยเครือข่ายขนาดใหญ่ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
ปัญหาหลักของเทคโนโลยี Blockchain ที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายของ Bitcoin นั้นคือมันดำเนินการช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมกับธนาคารผ่านบัตรเครดิต ตัวอย่างเช่น บริษัทบัตรเครดิตยอดนิยม Visa, Inc. ที่สามารถดำเนินการเกือบ 150 ล้านธุรกรรมต่อวัน หรือเฉลี่ยประมาณ 1,700 ธุรกรรมต่อวินาที แต่ความจริงนั้นบริษัทนั้นมีลิมิตสูงสุดอยู่ที่ 65,000 ธุรกรรมต่อวินาทีเลยทีเดียว
ในขณะที่เครือข่าย Bitcoin สามารถประมวลผลธุรกรรมโดยเฉลี่ยแล้วเพียง 7 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น โดยในความเป็นจริงรายการธุรกรรมของมันอาจใช้เวลาหลายนาที หรือมากกว่านั้นในการประมวลผล เนื่องจากผู้ใช้งาน Bitcoin นับวันก็ยิ่งขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนในบางครั้งก็ทำให้มีเวลารอคอยนานมากขึ้น เพราะมีธุรกรรมที่ต้องดำเนินการเป็นจำนวนมากเกินไป แต่ในทางกลับกันก็ไม่ได้มีการปรับปรุงหรือพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน ในการรับภาระตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
ด้วยกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเครือข่ายของ Bitcoin ที่มีปัญหาหลักในการขยายตัวบล็อกและเพิ่มความเร็วของกระบวนการตรวจสอบธุรกรรม จึงเป็นเหตุให้นักพัฒนาและนักขุด Bitcoin ได้ร่วมกันเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการด้วยกัน ได้แก่
และด้วยข้อเสนอ 2 ประการข้างต้นนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “Bitcoin Cash (BCH)” ที่ถูกพัฒนามาจากโซลูชั่นดังกล่าว โดยข้อมูลต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่า Bitcoin และ Bitcoin Cash มีความแตกต่างกันอย่างไร
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2017 กลุ่มการขุดและบริษัทต่าง ๆ ที่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% – 90% ของพลังประมวลผลบนเครือข่าย Bitcoin ได้ทำการลงมติให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “SegWit” หรือการตัดพยานออก (Segregated Witness) โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้จำนวนข้อมูลที่จำเป็นต้องตรวจสอบในแต่ละบล็อกนั้นมีขนาดที่เล็กลง ด้วยการลบข้อมูลที่เป็น Signature Data ซึ่งมันกินพื้นที่ของบล็อกไปกว่า 65% โดยไม่จำเป็น หากลบข้อมูลตรงนี้ออกไปก็จะช่วยในแง่ของการปรับปรุงความยืดหยุ่นภายในบล็อกของ Bitcoin ได้ ดังนั้นสิ่งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีนัยสำคัญ
หลังจากสรุปผลโหวตในการทำ SegWit แล้ว จึงส่งผลให้ในปี 2017 และ 2018 ขนาดบล็อกของ Bitcoin ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 1 MB ไปเป็น 2 MB และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 ขนาดบล็อกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.305 MB แต่อย่างไรก็ตามภายในเดือนมกราคม ปี 2020 ขนาดบล็อกได้ลดลงกลับไปเป็น 1 MB เท่าเดิม
ในท้ายที่สุดหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้มีงานวิจัยที่เผยแพร่จากแพลตฟอร์ม BitMex ที่กล่าวว่า สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้งาน SegWit นั้นช่วยเพิ่มขนาดบล็อกได้จริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ SegWit ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และท่ามกลางกระแสตอบรับในทางที่ดีจึงมีข้อเสนอขึ้นมาอีกว่า ให้เพิ่มขนาดบล็อกเป็น 2 เท่า ด้วยการใช้เทคโนโลยีเวอร์ชันใหม่ที่ชื่อว่า “SegWit2x”
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Bitcoin Cash มีจุดเริ่มต้นมาจากกลุ่มนักขุดและนักพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ที่มีความกังวลกับอนาคตของ Bitcoin ในฐานะของคริปโต และรวมไปถึงความสามารถในการขยายตัวบล็อกอีกด้วย อย่างไรก็ตามบุคคลเหล่านี้มีข้อกังขาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี SegWit และ SegWit2x เข้ามาใช้ โดยพวกเข้ารู้สึกเหมือนกับว่าเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ในแง่ของความสามารถในการขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยแม้แต่น้อย และอีกอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนงานขั้นต้นที่ระบุไว้ใน White Paper ของ Satoshi Nakamoto อีกด้วย
นอกจากนี้ข้อเสนอที่ต้องการนำ SegWit2x เข้ามาใช้แก้ปัญหานั้นกลับดูไม่โปร่งใส และมีความกังวลว่าข้อเสนอดังกล่าวจะบ่อนทำลายการกระจายอำนาจ รวมไปถึงความเป็นประชาธิปไตยของสกุลเงินอีกด้วย และด้วยเหตุนี้ทำให้ในเดือนสิงหาคม ปี 2017 นักขุดและนักพัฒนาบางส่วนได้เริ่มต้นสิ่งที่เรียกว่า “Hard Fork” ซึ่งเป็นการแยกตัวสกุลเงินใหม่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพคือ “Bitcoin Cash (BCH)”
Bitcoin Cash มีเครือข่าย Blockchain และข้อกำหนดเฉพาะของตัวเอง ซึ่งรวมไปถึงความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งจาก Bitcoin คือการขยายขนาดบล็อกได้อย่างยืดหยุ่น โดย Bitcoin Cash ได้ใช้ขนาดบล็อกที่เพิ่มขึ้นถึง 8 MB เพื่อเร่งกระบวนการตรวจสอบ พร้อมด้วยความสามารถในการปรับค่า Difficulty ในการขุดได้ เพื่อให้แน่ใจว่าสายโซ่ใหม่ที่แยกตัวออกมานี้จะมีอายุยืนกว่าสายโซ่เดิม และยังรวมไปถึงการเพิ่มขีดจำกัดความเร็ว ในการยืนยันธุรกรรมโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนนักขุดที่อยู่บนเครือข่ายอีกด้วย ซึ่งในปี 2018 ที่ผ่านมานี้ความสามารถในการขยายขนาดบล็อกสูงสุดของ Bitcoin Cash ได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า โดยมีขนาดสูงสุดถึง 32 MB แต่สำหรับค่าเฉลี่ยของขนาดบล็อกที่ใช้บนเครือข่ายในขณะนี้ก็ยังเป็นเพียงเศษเสี้ยวของขีดจำกัดเท่านั้น (8 MB จาก 32 MB)
Bitcoin Cash นั้นสามารถประมวลผลธุรกรรมได้เร็วกว่าเครือข่ายของ Bitcoin ซึ่งหมายความว่าระยะเวลาในการรอคอยจะสั้นลง และค่าธรรมเนียมในการดำเนินการธุรกรรมก็จะต่ำลงด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเครือข่ายสามารถจัดการธุรกรรมต่อวินาทีได้มากกว่าเครือข่ายเดิม แต่อย่างไรก็ตามด้วยเวลาการตรวจสอบธุรกรรมที่เร็วขึ้นนี้ก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน โดยปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับขนาดบล็อกที่ใหญ่กว่าคือเรื่องความปลอดภัย ที่มีโอกาสถูกบุกรุกได้มากกว่าเครือข่ายของ Bitcoin และปัญหาในเรื่องของสภาพคล่อง ยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้งานในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นก็ยังไม่สามารถสู้สายโซ่เดิมอย่าง Bitcoin ได้เลย
ย้อนกลับไปที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหัวข้อแรกที่ได้กล่าวถึงนั้น ก็ยังมีการดำเนินการ Hard Fork ที่นอกเหนือไปจากตัว Bitcoin Cash อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 บุคคลบางกลุ่มบนเครือข่ายของ Bitcoin Cash ที่ได้มีประสบการณ์ในการแยกตัวสายโซ่ เพื่อการสร้างเหรียญใหม่ออกมาจากเหรียญเดิม ก็ได้ทำการเริ่มต้นการแยกตัวของสายโซ่ใหม่อีกสายหนึ่งที่เรียกว่า “Bitcoin SV (BSV)” อีกด้วย
Bitcoin SV ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยความพยายามที่จะรักษาวิสัยทัศน์ดั้งเดิมของ Bitcoin ที่ Satoshi Nakamoto ได้อธิบายไว้ใน White Paper แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานบางส่วน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายตัวบล็อก และความเร็วในการทำธุรกรรมให้มากขึ้นกว่าสายโซ่เดิมด้วยเช่นเดียวกัน
“Bitcoin Cash ถูกแยกออกมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของ Bitcoin”