Bitcoin vs Ethereum: แตกต่างกันอย่างไร?
คริปโตสองสกุลยอดนิยม ที่มีทั้งความเหมือนและความต่าง
คริปโตสองสกุลยอดนิยม ที่มีทั้งความเหมือนและความต่าง
Ether (ETH) เป็นคริปโตประจำเครือข่าย Ethereum และถือเป็นโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุดรองจาก Bitcoin (BTC) โดยยังรวมไปถึงการมีมูลค่าทางตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในฐานะคริปโตอีกด้วย ซึ่งการเปรียบเทียบกันระหว่างอันดับหนึ่งและอันดับสองในหลาย ๆ วงการนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่ในวงการคริปโตที่จะเกิดการเปรียบเทียบระหว่างสองความยิ่งใหญ่อย่าง Ether และ Bitcoin ก็เป็นเรื่องที่ผู้คนยังคงให้ความสนใจอยู่ทุกช่วงเวลา
โดยหากพูดถึงความคล้ายคลึงกันของ Ether และ Bitcoin ก็มีอยู่หลายด้านด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
แต่อย่างไรก็ตามทั้ง Ether และ Bitcoin ก็ยังมีความแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการ นอกเหนือไปจากระดับความนิยมและมูลค่าสูงสุดตามตลาด โดยข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นการพิจารณาความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่าง Ether และ Bitcoin อย่างละเอียดยิ่งขึ้น
Bitcoin ได้มีการเปิดตัวในเดือนมกราคมของปี 2009 โดยมีแนวคิดและข้อกำหนดต่าง ๆ ระบุไว้ใน White Paper ที่เผยแพร่โดยบุคคลลึกลับที่ใช้นามแฝงว่า “Satoshi Nakamoto” ซึ่งแนวคิดบางส่วนระบุว่า Bitcoin เป็นสกุลเงินออนไลน์หรือสกุลเงินเสมือนที่มีความปลอดภัยสูง โดยไม่ต้องมีอำนาจใดเข้ามาเกี่ยวข้อง และแน่นอนว่ามันมีความแตกต่างจากสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง ในแง่ของการเป็นสกุลเงินที่จับต้องไม่ได้ แต่จะแสดงเพียงยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทสาธารณะที่มีการเข้ารหัสลับเท่านั้น และถึงแม้ว่า Bitcoin จะไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกในการสร้างสกุลเงินออนไลน์ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นสกุลเงินออนไลน์แรกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อีกทั้งยังได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะผู้บุกเบิกของคริปโตเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น แนวคิดของสกุลเงินแบบกระจายอำนาจนี้เริ่มได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานของรัฐบ้างแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ใช่สื่อกลางในการชำระเงินหรือการจัดเก็บมูลค่า (Store of Value) ที่ได้รับการยอมรับและถูกต้องตามกฎหมายอย่างเป็นทางการก็ตามที แต่ก็เป็นสกุลเงินที่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะของตัวเองได้ และยังคงอยู่ร่วมกับระบบการเงินได้อีกด้วย
*เหตุการณ์สำคัญ: ในช่วงเริ่มต้นของการเติบโตอย่างรวดเร็วในวงการคริปโตเมื่อปี 2017 มูลค่ารวมทางตลาดของ Bitcoin คิดเป็นเกือบ 87% ของมูลค่ารวมทั้งหมดในตลาด
ในปี 2015 ได้มีการเปิดตัว Ethereum อย่างเป็นทางการ โดยมีการนำเสนอการใช้งานเทคโนโลยี Blockchain ที่นอกเหนือไปจากการเป็นคริปโตในการชำระเงิน ซึ่งสิ่งที่ Ethereum นำเสนอคือการตั้งตัวเองเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์กระจายอำนาจแบบ Open Source ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด
Ethereum ได้เปิดให้ปรับใช้ Smart Contract และ Dapps เพื่อสามารถสร้างและรันการทำงานได้โดยไม่มีการหยุดพัก ไร้ซึ่งการฉ้อโกง และไม่มีการควบคุมหรือการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม นอกจากนี้ Ethereum ก็มาพร้อมกับภาษาการเขียนโปรแกรมของตนเองชื่อว่า “Solidity” ที่ทำงานอยู่บน Blockchain และด้วยสิ่งนี้จึงทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างและรัน Dapps ได้อย่างง่ายดาย
Dapps ที่มีประสิทธิภาพบนเครือข่าย Ethereum นั้นมีหลากหลายมาก ซึ่งมันขับเคลื่อนโดยการใช้งานโทเคนดิจิทัลประจำเครือข่ายอย่าง Ether (ETH) โดยเมื่อปี 2014 นั้นทาง Ethereum ได้เปิดโครงการระดมทุน ICO สำหรับโปรเจ็ค Ether และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม โดย Ether นั้นเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับการรัน Code บนแพลตฟอร์ม Ethereum อีกทั้งยังถูกใช้โดยนักพัฒนาในการสร้างและรัน Dapps อีกด้วยเช่นเดียวกัน
Ether (ETH) นั้นถูกใช้เพื่อวัตุประสงค์หลัก 2 ประการด้วยกัน ดังนี้
“ผู้สร้าง Ethereum เคยเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาของ Bitcoin มาก่อน”
ถึงแม้ว่าทั้งเครือข่ายของ Ethereum และ Bitcoin นั้นจะขับเคลื่อนด้วยหลักการของบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจและการเข้ารหัส แต่ทั้งสองก็มีความแตกต่างกันทางเทคนิคในหลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น ธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum นั้นมี Code บางส่วนที่เปิดให้เข้าร่วมในการใช้งานได้ แต่ในขณะที่ Code ของ Bitcoin นั้นมีไว้เพื่อการจัดเก็บบันทึกธุรกรรมเพียงอย่างเดียว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างอื่น ๆ ได้แก่ เวลากำเนิดบล็อก (Ethereum อยู่ในหลักวินาที แต่ Bitcoin อยู่ในหลักนาที) และอัลกอริธึมที่ใช้ในการรันการทำงานบนเครือข่าย Blockchain (Ethereum ใช้อัลกอริธึม ethash ในขณะที่ Bitcoin ใช้ SHA-256)
และที่สำคัญไปกว่านั้น เครือข่ายของ Ethereum และ Bitcoin ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมายโดยรวม ในขณะที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับสกุลเงินดั้งเดิมในหลายภูมิภาค และปราถนาที่จะได้รับการยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการจัดเก็บมูลค่าอีกด้วย แต่ในทางกลับกัน Ethereum นั้นมีความตั้งใจจะเป็นแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกในการสร้างสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ ซึ่งวลีที่ใช้อธิบายเครือข่ายของ Ethereum ว่าเปรียบเสมือน “คอมพิวเตอร์ของโลกดิจิทัล” นั้นก็ไม่เกินความจริงเท่าใดนัก
Bitcoin และ Ether เป็นคริปโตทั้งคู่ก็จริง แต่จุดประสงค์หลักของ Ether นั้นไม่ใช่เพื่อการสร้างตัวเองให้เป็นเพียงระบบการเงินทางเลือกเพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก และสามารถสร้างรายได้จากการดำเนินงานของ Smart Contract และ Dapps บนเครือข่าย Ethereum ได้ด้วยเช่นกัน
หากพูดถึงในทางทฤษฎีแล้ว Ethereum ก็ยังไม่สามารถเอาชนะ Bitcoin ได้ในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามความนิยมของ Ether ก็ได้ผลักดันให้คริปโตสกุลอื่นแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองของนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ว่า ในอนาคตอาจมีสกุลใดสกุลหนึ่งที่จะเข้ามาแทนที่อันดับสองอย่าง Ether ก็เป็นได้ และหากย้อนไปในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่นับตั้งแต่การเปิดตัวเมื่อกลางปี 2015 เป็นต้นมานั้น Ether ก็รั้งอันดับอยู่หลัง Bitcoin มาตลอด แต่ในขณะเดียวกันเหล่าคริปโตสกุลใหม่ ที่ได้กำเนิดขึ้นกลับตีตื้นขึ้นมาเพื่อหวังจะโค่นล้ม Ether ให้ได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของมูลค่ารวมตามตลาด หรือแม้แต่ความพยายามในการพัฒนาระบบการทำงานให้เหนือกว่าคริปโตทั้ง 2 อันดับแรกอยู่เสมอ
แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรระลึกคือ ระบบนิเวศของ Ether นั้นยังมีขนาดเล็กกว่า Bitcoin อยู่มากเช่นเดียวกัน โดยในขณะนี้มูลค่ารวมของตลาดคริปโตอยู่ที่ประมาณ 73 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนแบ่งตามตลาดจะเป็นของ Bitcoin ไปแล้วกว่า 41.5% และเป็นของ Ether 20.2% (อ้างอิงจาก CoinMarketCap 6/9/64) จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Ether นั้นยังอยู่ห่างไกลจาก Bitcoin อีกมากพอสมควร
และถึงแม้ว่าในความเป็นจริง Ether ก็ไม่ได้ต้องการจะเอาชนะในเรื่องของส่วนแบ่งมูลค่ารวมตามราคาตลาดอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรสิ่งนี้ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า Bitcoin ยังคงได้รับความนิยมมากกว่าหลายเท่าตัว อาจเนื่องมาจากเรื่องของอุปทานหมุนเวียนที่จำกัด และระบบการทำงานที่พัฒนาให้การได้มาซึ่งตัวโทเคนนั้นมีความยากขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดย Bitcoin มีอุปทานหมุนเวียนในระบบทั้งหมด 21 ล้าน Bitcoin (อยู่ในตลาดแล้วกว่า 18 ล้าน Bitcoin) แต่ในขณะที่ Ether นั้นมีจำนวนอุปทานที่ไม่จำกัด ซึ่งตอนนี้หมุนเวียนอยู่ในตลาดแล้วกว่า 100 ล้าน Ether ด้วยกัน แต่หากมองไปถึงเรื่องของระบบการทำงานที่ใช้ศักยภาพของ Blockchain ได้อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพแล้วนั้น แน่นอนว่าตัว Ethereum ก็ได้ทิ้งห่าง Bitcoin ไปมากพอสมควรด้วยเช่นเดียวกัน
Bitcoin ถือไพ่เหนือกว่าในแง่ของการเป็นคริปโตตัวแรก แต่สำหรับ Ethereum นั้นมีความเหนือกว่าด้านเทคโนโลยี