Connect with us

KYC มีความสำคัญอย่างไรต่อ Crypto?

กระบวนการที่มีความสำคัญมาก ต่อความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม

KYC คืออะไร?

KYC ย่อมาจาก “Know Your Customer” หมายถึงกระบวนการตรวจสอบตัวตนของลูกค้า ที่เป็นมาตรฐานสำคัญของระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการต่อต้านการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering: AML) ของรัฐบาลกลางที่บังคับใช้กับสถาบันการเงินทุกแห่ง อีกทั้งยังเป็นแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับสินทรัพย์ทุกประเภทและสถาบันการเงินทั่วโลก รวมไปถึงการเป็นข้อกำหนดสำหรับองค์กรที่ดำเนินการอยู่บนเครือข่าย Blockchain ด้วยเช่นเดียวกัน

KYC เป็นประโยชน์อย่างมากต่อตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency Exchange) ที่จะระบุข้อกำหนดต่อลูกค้าเพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย รวมไปถึงการลดความเสี่ยง การปรับปรุงระบบความปลอดภัย และอื่น ๆ อีกมากมาย

จุดเด่น

  • KYC แบบเบื้องต้นนั้นไม่ยุ่งยาก เปรียบเสมือนการกรอกประวัติส่วนตัวทั่วไป
  • KYC เป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลดีต่อทั้งแพลตฟอร์ม และตัวคุณเอง
  • แพลตฟอร์มที่ดีควรมีกระบวนการ KYC หลายระดับ

KYC มีวัตถุประสงค์อย่างไร?

เป้าหมายที่ครอบคลุมข้อกำหนด KYC คือการตรวจสอบเพื่อความไว้วางใจระดับสูงว่าลูกค้าของพวกเขาเป็นใคร และข้อมูลที่ลูกค้ายื่นส่งมานั้นต้องเป็นความจริง อีกทั้งกระบวนการ KYC ยังช่วยในการระบุและป้องกันการฟอกเงิน การจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้าย และการฉ้อโกงได้อีกด้วย โดยจะประสานการทำงานกับระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการต่อต้านการฟอกเงิน (Anti-Money Laundering: AML)

KYC สำคัญอย่างไร?

KYC และข้อบังคับ AML ที่เกี่ยวข้องจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสถาบันการเงินและลูกค้าของพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยง ปรับปรุงความปลอดภัย คุ้มครองความมั่นของของสถาบัน และคัดกรองการกระทำที่น่าสงสัยออกไปจากระบบ ในทางเดียวกันก็ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลพึงพอใจ รวมไปถึงลูกค้าก็รู้สึกมั่นใจและไว้วางใจในบริษัทที่พวกเขาร่วมลงทุนมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้หากใช้ KYC อย่างมีประสิทธิภาพก็จะสามารถเข้ามาแทนที่ระบบตรวจสอบที่ล้าสมัย หรือการดำเนินการที่ไม่จำเป็น เช่น การคัดครองและการลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่ เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถทำให้แน่ใจว่าการทำธุรกรรมที่มีรายละเอียดสูงนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดอย่างสมบูรณ์

“KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะการเปิดบัญชีธนาคารต้องผ่านกระบวนการ CDD”

จุดเริ่มต้นของ KYC

เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีกฎระเบียบที่ขอให้บริษัทที่ให้บริการทางการเงินช่วยตรวจจับและป้องกันอาชญากรรมทางการเงิน โดยในปี 2001 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ KYC เฉพาะบริษัทที่ให้บริการทางการเงิน และต่อมาในปี 2016 กระทรวงการคลังก็ได้ออกมาประกาศเพิ่มเติมว่าให้นำข้อบังคับเหล่านี้ไปใช้กับภาค FinTech ด้วยเช่นกัน

ในปี 2013 เครือข่ายปราบปรามอาชญากรรมทางทางการเงินแห่งสหรัฐฯ (Financial Crimes Enforcement Network: FinCEN) ได้มีการเผยแพร่แนวทางการตีความฉบับ FIN-2013-G001 ซึ่งมีใจความประกาศว่าผู้ดูแลระบบหรือตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินเสมือนนั้น ได้ถูกตีความให้เป็นธุรกิจบริการด้านการเงินภายใต้พระราชบัญญัติความลับของธนาคารและระเบียบข้อบังคับของ FinCEN ซึ่งหมายความว่าธุรกิจบริการด้านการเงินทั้งหมดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด AML และ KYC ในพระราชบัญญัติความลับของธนาคาร

สำหรับอุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซีในประเทศไทยนั้น ได้มีประกาศแบบรวมศูนย์จากทาง ก.ล.ต. ที่เผยแพร่เมื่อ 18 กันยายน 2563 ในเรื่องของหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) ซึ่งมีประกาศหลายฉบับด้วยกัน จึงได้ทำการรวบรวมหลักเกณฑ์ KYC ไว้ด้วยกันแบบรวมศูนย์เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้ที่ศึกษารายละเอียด โดยมีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่องมาตรฐานการประกอบธุรกิจว่าด้วยโครงสร้างบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน 2556 (ประกาศฉบับนี้ยังไม่มีเรื่องหลักเกณฑ์ KYC)
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 (ประกาศฉบับนี้ยังไม่มีเรื่องหลักเกณฑ์ KYC)
  • ประกาศแนวปฏิบัติ เรื่องแนวทางปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำความรู้จักลูกค้า ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2562 (ประกาศแนวปฏิบัติหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า e-KYC)

KYC ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยจะเป็นการอาศัยข้อมูลชีวมิติ (Biometric)

องค์ประกอบพื้นฐานของ KYC

ข้อกำหนด AML จะไม่ได้ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการ KYC โดยตรง แต่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแล โดยหน่วยงานจะใช้การพิจารณาตามความเสี่ยงว่าองค์ประกอบใดที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในกระบวนการ ซึ่งโปรแกรม KYC โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้:

Customer Identification Program (CIP): โปรแกรมระบุตัวตนลูกค้า
บริษัทที่ใช้กระบวนการ KYC แบบ CIP นั้นจะทำการระบุตัวตนและยืนยันตัวตนของลูกค้าผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยข้อมูลที่มีคุณลักษณะเฉพาะและเอกสารที่ต้องตรวจสอบแตกต่างกันไปตามอำนาจศาลของแต่ละภูมิภาค โดยทั่วไปบริษัทเหล่านี้จะทำการรวบรวมชื่อ วันเกิด และที่อยู่ของลูกค้า รวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ หมายเลขประกันสังคม ใบขับขี่ และหนังสือเดินทาง แต่ก็มีบริษัทบางแห่งกำหนดให้มี “วิดีโอหรือภาพเซลฟี่” เป็นส่วนหนึ่งของการยืนยันตัวตนอีกด้วย

Customer Due Diligence (CDD): การตรวจสอบสถานะลูกค้า
การตรวจสอบสถานะประเภทนี้โดยพื้นฐานแล้วเป็นการตรวจสอบประวัติโดยละเอียด ซึ่งประบวนการ CDD จะมีความเข้าใจความเสี่ยงใด ๆ ที่ลูกค้าใหม่อาจนำมาสู่ธุรกิจได้ รวมไปถึงสามารถเปิดเผยพฤติกรรมฉ้อโกงหากได้รับการยืนยันสถานะแล้ว แต่ในขณะเดียวกันบางบริษัทก็ใช้กระบวนการที่คล้ายกันชื่อว่า “การตรวจสอบสถานะลูกค้าอย่างเข้มข้น (Enhanced Due Diligence: EDD)” โดยเป็นการลงลึกในการประเมินระดับความเสี่ยงของลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งขั้นตอนของ EDD มักจะเป็นการดำเนินการด้วยบุคคลโดยเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ได้รับการฝึกอบรมและอาจมีระดับความเข้มงวดมากน้อยขึ้นอยู่กับบุคคลที่ได้รับการตรวจสอบ หรือขึ้นอยู่กับความต้องการของสถาบันการเงินที่อาจมีข้อสงสัยในตัวลูกค้า

การตรวจสอบและการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
บางครั้งทางบริษัทก็แยกการตรวจสอบและการจัดการความเสี่ยงออกจากกัน แต่โดยพื้นฐานแล้วก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือเพื่อขัดขวางพฤติกรรมอันน่าสงสัย ซึ่งบริษัทที่ให้บริการทางการเงินจะต้องดูแลลูกค้ารวมถึงธุรกรรมของลูกค้าอย่างละเอียดและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการธุรกรรมขนาดใหญ่หรือผิดปกติ

KYC & Cryptocurrency

เนื่องจากอุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซีนั้นยังค่อนข้างใหม่ในเรื่องของกฎระเบียบ อีกทั้งในแง่ความครอบคลุมของที่มาและวิธีการใช้งานก็ยังคงต้องพัฒนาอีกไกล โดยการดำเนินการต่าง ๆ ของกระบวนการ KYC ในแพลตฟอร์มตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีนั้นขึ้นอยู่กับภูมิภาค หลักการทางธุรกิจ และระบบการอนุญาต ซึ่งบางแห่งก็อนุญาตให้ผู้ใช้ลงทะเบียนบัญชีได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน KYC อย่างละเอียดทั้งที่โปรแกรม KYC บางประเภทมีขั้นตอนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นแพลตฟอร์มประเภทดังกล่าวจึงมีความเสี่ยงเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ แต่อย่างไรก็ตามยังมีแพลตฟอร์มอีกหลายแห่งที่อนุญาตให้ลูกค้าเริ่มต้นลงทะเบียนด้วยภาพถ่ายบัตรประจำตัวเท่านั้น แต่จะจำกัดการฝากและถอนเงินในวงเงินเพียงเล็กน้อย และในขณะเดียวกันแพลตฟอร์มที่ต้องการรายการฝาก ถอน และการรับส่งคริปโตเคอเรนซีจำนวนมากนั้นก็จะมีข้อบังคับว่า ลูกค้าต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ KYC อย่างครอบคลุมมากขึ้นก่อนจะได้รับการอนุมัติสมาชิกอีกด้วยเช่นกัน

ประเภทของประกันรถยนต์

ประกันชั้น 1

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 2+

เพิ่มเติม

ประกันชั้น 3+

เพิ่มเติม

พ.ร.บ.รถยนต์

เพื่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

วิธีคำนวนเบี้ยประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ทำอย่างไรให้ได้เบี้ยประกันลดลง

เพิ่มเติม

ประกันที่เหมาะกับมือใหม่

เพิ่มเติม

หลังเกิดอุบัติเหตุรถชน ควรทำอย่างไร

เพิ่มเติม

เมาแล้วขับ

เพิ่มเติม

ไม่เคลม รับส่วนลดเบี้ยประกัน

เพิ่มเติม

รถมีประกันหรือเปล่า

เพิ่มเติม

ทิปดีๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์คุ้มครองส่วนต่างของมูลค่ารถ (Motor Gap Insurance)

เพิ่มเติม

ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมสำหรับประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

งานของคุณมีผลต่อประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ความคุ้มครองเพิ่มเติม ประกันรถยนต์

เพิ่มเติม

ต่อประกันรถยนต์อัตโนมัติ

เพิ่มเติม