ไฟเบอร์ออปติกคืออะไร
การติดตั้งอินเทอร์เน็ตนั้น ควรรู้รายละเอียดของสายให้ชัดเจน เพื่อจะไม่เกิดข้อผิดพลาด
การติดตั้งอินเทอร์เน็ตนั้น ควรรู้รายละเอียดของสายให้ชัดเจน เพื่อจะไม่เกิดข้อผิดพลาด
ไฟเบอร์ออปติก หรือ เส้นใยแก้วนำแสง คือสายนำสัญญาณข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถเดินสายได้ไกลหลายกิโลเมตรและรองรับความเร็วสูง(Bandwidth สูง) โดยมีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำมาก(ค่า loss)เมื่อเทียบกับนำสายสัญญาณแบบอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบันสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีความนิยมอย่างมากในงานเดินระบบใหญ่ ๆ หรืองานระบบที่ต้องการความเสถียรสูง
ชนิดของสายไฟเบอร์ออปติกนั้น มี 2 ประเภท มีดังต่อไปนี้
1. สายไฟเบอร์ออปติกแบบซิงเกิลโหมด – มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง(Core)อยู่ที่ 9 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กจึงทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกล มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2,500 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร โดยการใช้งานจริงจะสามารถส่งข้อมูลได้ไกล 100กิโลเมตร โดยความเร็วที่ได้นั้นจะไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิทต่อวินาที
2. สายไฟเบอร์ออปติกแบบมัลติโหมด – มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 50 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กจึงทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ใกล้และมีแบนวิทที่ต่ำกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 200 เมตร แต่สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมดนั้นจะผลิตง่ายกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด
ระบบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านระบบไฟเบอร์ออปติก เป็นการส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสง แตกต่างกับระบบการส่งสัญญาณแบบอื่น ๆ ที่มีการใช้สายทองแดงในการนำสัญญาณ ซึ่งความเร็วและความเสถียรของสัญญาณนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นความเร็วแสง เนื่องจากระบบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านระบบไฟเบอร์ออปติก เป็นการส่งสัญญาณให้แสงเดินทางผ่านเส้นใยแก้ว คุณสมบัติ ของสายไฟเบอร์ออปติก (Fiber Optic) เหมาะอย่างมากต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จำเป็นต้องพึ่งพาความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก
“โครงสร้างของสายไฟเบอร์ออปติก ส่วนที่แสงเดินทางผ่านเรียกว่า CORE และส่วนที่หุ้ม CORE อยู่เรียกว่า CLAD ซึ่งหมายถึงสารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น แก้ว พลาสติก”
เพราะข้อมูลที่โหลดด้วยไฟเบอร์ออปติกนั้นเป็นการส่งข้อมูลในรูปแบบแสง การรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กจึงไม่มีปัญหา ทำให้การโหลดข้อมูลหรือรับข้อมูลนั้นสายทองแดงจึงสู้ไฟเบอร์ออปติกไม่ได้ก็ตรงนี้เอง
สายไฟเบอร์ออปติกมีราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายระบบอื่น ๆ
ส่วนใหญ่ลักษณะงานที่นำสาย Fiber Optic มักจะใช้ติดตั้งตามอาคารสำนักงานต่างๆ แต่ถ้าจะใกล้ตัวผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปนั้นในปัจจุบันนี้ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างดีเลยกับสาย FTTH หรือ Fiber To The Home เป็นการเชื่อมโยงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสาย Fiber Optic เข้าไปยังบ้านพักอาศัย นอกจากระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานแล้ว สัญญาณที่ส่งมายังสามารถส่งระบบโทรศัพท์ หรือเคเบิลทีวีเข้ามาในเส้นใยนี้ด้วยเหมือนกัน และสายสัญญาณนี้ก็สามารถที่จะรองรับความเร็วได้แบบไม่จำกัด ติดตั้งไว้ครั้งเดียวอยากได้ความเร็วเท่าไหร่ก็ทำได้ ด้วยสายใยแก้วนำแสงเพียงแค่ 1 เส้นหรือ 1 core เท่านั้นโดยจะใช้เป็นสาย ซิงเกิลโหมด แบบพิเศษในเกรดของ G.657A2 ที่สามารถโค้งงอได้มากกว่าสายปกติทั่วไป แต่สัญญาณลดทอนต่ำมาก เพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้งานตามบ้านที่สายสัญญาณพวกนี้จะต้องถูกโค้งงอไปตามมุม เพราะเวลาเราติดตั้งตามบ้าน โอกาสที่จะต้องโค้งงอตามมุมต่าง ๆ ก็มีสูง
1. ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง แม้ระยะทางไกล – เพราะสายไฟเบอร์ออปติก หรือ เส้นใยแก้วนำแสงนั้นใช้ “ใยแก้วนำแสง” ในการนำสัญญาณโดยจะแตกต่างจากสายนำสัญญาณชนิดอื่นที่ใช้ สายแลน ในการนำสัญญาณ จึงทำให้สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านบิท (2.5 กิกะบิต) ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร
2. สามารถนำสัญญาณได้ไกล – สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นสามารถเดินได้ระยะทางสูงสุดถึง 20 กิโลเมตร โดยสามารถเดินได้ไกลกว่าสายแลนถึง 200 เท่า
3. มีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำ – สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีคุณสมบัติที่สามารถให้แสงวิ่งผ่านได้จึงทำให้ “ค่าลอส” ของสัญญาณที่ต่ำมากแม้จะเดินสายสัญญาณในระยะทางไกล โดยจะแตกต่างกับทองแดงซึ่งจะมีค่าลอสที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากเดินสายสัญญาณเกิน 100 เมตร
4. มีความปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูล – สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีลักษณะการทำงานคือ ส่งผ่านข้อมูลภายในเครือข่ายโดยใช้แสงเป็นตัวนำ จึงยากที่จะดักจับข้อมูลระหว่างทาง (การ TAB)
5. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน