DHCP คืออะไร
มารู้จักกับการทำงานของ DHCP และประโยชน์จากการใช้งานว่ามีความเกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไร
มารู้จักกับการทำงานของ DHCP และประโยชน์จากการใช้งานว่ามีความเกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไร
DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol : DHCP) คือ การกำหนดการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้มีการจัดการที่รวดเร็ว จากส่วนกลางในการกระจาย ip address ของเครือข่ายภายใน หรือ พูดง่ายๆ คือระบบการจัดการการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการเชื่อมต่อกันในหลายๆ อุปกรณ์ ภายในองค์กรหรือร้านค้าต่างๆ DHCP จะทำหน้าที่ในการแจก IP Address เพื่อให้คอมฯ และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเข้ากันได้อย่างไม่มีปัญหาและสามารถติดต่อกันได้โดยไม่สับสน IP Address ก็เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ ถ้าหมายเลขบ้านซ้ำกัน ก็คงมีปัญหาในเรื่องของการสื่อสารอย่างแน่นอน นอกจากนี้ CHCP ยังสามารถช่วยจัดการการใช้อินเทอร์เน็ตด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่นการกำหนดว่าลูกค้าในร้านสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้นานแค่ไหน เชื่อมต่อได้พร้อมกันกี่เครื่อง เป็นต้น
DHCP Server ใช้ในการแจกจ่าย IP Address ที่ไม่ซ้ำกันและกำหนดค่าอื่น ๆ ของข้อมูลเครือข่าย โดยอัตโนมัติ ในบ้านและธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ เราเตอร์จะทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ DHCP หรือในเครือข่ายขนาดใหญ่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวอาจทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ DHCP
เซิร์ฟเวอร์ DHCP มีวิธีการจ่ายหมายเลขไอพี 3 วิธี ดังนี้
1. กำหนดด้วยตนเอง ผู้บริหารระบบเครือข่ายเป็นผู้กำหนดหมายเลขไอพีที่ต้องการใช้สำหรับเครื่องลูกข่าย โดยใช้วิธีเทียบกับหมายเลข MAC
2. แบบอัตโนมัติ เซิร์ฟเวอร์ DHCP จะจ่ายหมายเลขไอพีที่ว่างอยู่ให้กับลูกข่ายโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะใช้หมายเลขไอพีช่วงที่ผู้บริหารระบบกำหนดให้ใช้ได้ ไอพีที่จ่ายจะถูกใช้อย่างถาวร
3. แบบไดนามิก วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่สามารถนำหมายเลขไอพีมาใช้ซ้ำได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกเปิดเครื่องและเริ่มทำงาน เครื่องลูกข่ายจะขอหมายเลขไอพีจากเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติ วิธีนี้ต่างกับแบบอัตโนมัติตรงที่หมายเลขไอพีในการทำงานแต่ละครั้ง ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขเดิม
ถ้าคุณตั้งค่า DHCP ว่า
Start 192.168.1.100
End 192.168.1.109
เมื่อมีบุคคลหนึ่งมาเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต 1 เครื่อง ก็จะได้รับเลข .100
และเมื่อมีบุคคลที่สองมาเชื่อมต่อสัญญาณก็จะได้รับเลข .101
และเมื่อมีคนถัดไปมาเชื่อมต่อก็จะได้รับเลข 102
และหากไม่มีใครมาเชื่อมสัญญาณอีกก็ยังมีเลขที่ว่าง 103 – 109 อีก 7 เลข ไม่ได้แจกให้ใคร
แสดงว่าจะมีบุคคลมาเชื่อมต่อได้อีก 7 คน
“การแจก IP Address ก็เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง เราอาจเปรียบเทียบ IP Address กับบ้านเลขที่ของเรา เพื่อให้ไปรษณีย์ หรือบุคคลที่ต้องการติดต่อเรา สามารถเข้าถึงเราได้”
การทดสอบว่าบริการ DHCP server ที่ติดตั้ง สามารถใช้งานได้หรือไม่นั้น ต้องทดสอบจากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่าย โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP การคอนฟิก Windows XP ให้รับค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสจาก DHCP Server
1. คลิกขวาที่ My Network Places แล้วเลือก Properties
2. ในหน้าต่าง Network Connection ให้คลิกขวาที่ Local Area Connection แล้วเลือก Properties
3. ในหน้าต่าง Area Connection Properties ให้เลือกที่ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิก Properties
4. ในหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties โดย default จะตั้งค่าเป็น Obtain an IP address Automatically และ Obtain DNS server address Automatically
5. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Internet Protocol (TCP/IP) Properties
6. คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง Area Connection Properties และจบการตั้งค่า IP Address
หน้าที่หลักของ DHCP คือทำให้การจัดการและการกำหนดค่าIPAddressทั่วทั้งเครือข่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นผู้ดูแลระบบจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดIP Addressด้วยตนเองทุกครั้งที่อุปกรณ์จะเชื่อมต่อ
1. การจัดการ IP address(IP Address Management) – หากคุณไม่ได้ใช้ DHCP คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีทรัพยากรและเวลาในการย้ายไคลเอนต์หรือลูกข่ายแต่ละรายไปยังเครือข่ายย่อยด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ แต่หากคุณใช้เซิร์ฟเวอร์ DHCP ข้อมูลเครือข่ายทั้งหมดจะถูกส่งโดย DHCP ไปยังไคลเอนต์ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องลงมือทำขั้นตอนเหล่านี้ด้วยตัวเองเลย
2. เครือข่ายส่วนกลางที่ทำหน้าที่กำหนดค่าให้ไคลเอนต์ (Centralised network client configuration) – หากคุณต้องการช่วงของการกำหนดค่าที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละไคลเอนต์คุณสามารถสร้างกลุ่มไคลเอนต์ เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีการตั้งค่าที่แตกต่างกันตามความต้องการของธุรกิจ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในที่เก็บข้อมูล DHCP และนี่คือที่ที่การกำหนดค่าสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อกระจายออกไปยังไคลเอนต์ทั้งหมดโดยไม่ต้องเปลี่ยนมันเองด้วยตัวของคุณ
3. รองรับเครือข่ายขนาดใหญ่(Large network support) – DHCP มีประโยชน์ต่อเครือข่ายที่มีไคลเอ็นต์ DHCP นับล้านราย เนื่องจากสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ผ่านมัลติเธรดเพื่อประมวลผลคำขอของไคลเอ็นต์จำนวนมากพร้อมกัน เซิร์ฟเวอร์ยังรองรับแหล่งเก็บข้อมูลที่ปรับให้เหมาะกับการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นจะได้รับการจัดการโดยโมดูลการประมวลผลแยกต่างหากและทำให้คุณสามารถเพิ่มการสนับสนุนสำหรับฐานข้อมูลใดๆ ก็ตามที่คุณต้องการ
การแจกจ่าย IP Address จะใช้วิธีการที่เรียกว่า บรอดคาสต์ (Broadcast) หรือถ้าจะแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหว่านแห นั่นเอง เพียงแค่เรานำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อบนเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นแบบไร้สาย และใช้สายก็ตาม อุปกรณ์นั้นๆ ก็จะสามารถได้รับ IP Address จาก DHCP ได้ทันที
*ยกเว้น กรณีที่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นๆ มีการตั้งค่า IP ด้วยตัวเอง (Fixed IP) เราจะต้องทำการเอาออกก่อน จึงสามารถรับค่าจาก DHCP ได้