Connect with us

การคิดดอกเบี้ยแบบใหม่

การที่ธนาคารปรับรูปแบบในการคิดดอกเบี้ยใหม่นั้น ช่วยลดหย่อนค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนด้วย

วิธีการคิดดอกเบี้ยแบบใหม่

การคิดดอกเบี้ยใหม่นั้น เป็นมาตรการของสถาบันทางการเงินที่คิดจะปรับเปลี่ยน การคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม การเก็บภาษีแบบใหม่ เพื่อทำให้ช่วยประชาชนได้ชำระหนี้อย่างเป็นธรรมอีกด้วย การคิดดอกเบี้ยใหม่มี 3 วิธีดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
2. ปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
3. ปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมATMหรือบัตรเครดิต

จุดเด่น

  • ให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการวิธีการคำนวณดอกเบี้ย เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เพื่อจะได้สะดวกต่อการเสียค่าธรรมเนียม

การไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด

การไถ่ถอนสินเชื่อ คือ เป็นการนำหลักประกันหรือหลักทรัพย์ เช่น ที่ดิน รถยนต์ บ้าน เป็นต้น เพื่อขอสินเชื่อและนำเงินไปประกอบธุรกิจ โดยจะคิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือแทนจากเดิมที่คิดจากเงินต้นทั้งก้อน

ตัวอย่างการคำนวณการปรับ

หากเรากู้เงินมาลงทุนธุรกิจ 10 ล้านบาท ระยะเวลาในการผ่อนชำระ 8 ปี มีการผ่อนชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผ่านไป 3 ปี เราผ่อนชำระเงินต้นคืน 3 ล้าน มียอดเงินคงเหลือ 7 ล้าน แต่เราต้องการปิดหนี้ก่อนครบกำหนดจะทำให้ธนาคารคิดค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด

การคิดดอกเบี้ยแบบเก่า คือ คำนวณค่าปรับจากยอดเงินกู้ทั้งหมด 10 ล้านบาท สมมุติว่า ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี มีวิธีคิดดังนี้ 10,000,000 x ดอกเบี้ย 1.5% เท่ากับเราจะต้องเสียค่าปรับ 150,000บาท

การคิดแบบใหม่ คือ จากสถาบันทางการเงินสั่งให้ธนาคารคิดค่าปรับจากเงินต้นคงเหลือเท่านั้น ทำให้หากเรามียอดเงินต้นคงเหลือ 7 ล้านบาท จะมีวิธีคิดดังนี้ 7,000,000 x ดอกเบี้ย 1.5 % เท่ากับต้องเสียค่าปรับแค่ 105,000 บาท เท่านั้น

ทำให้เราสามารถลดค่าปรับในการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดน้อยลงไปได้ถึง 45,000 บาท นอกจากนี้ทางสถาบันจะต้องกำหนดระยะเวลา ยกเว้นค่าปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนดให้กับลูกหนี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น หากปิดหนี้ก่อนกำหนดหลังจากผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี หรือ 5 ปี ก็ต้องไม่เสียค่าปรับเลย เป็นต้น โดยมาตรการนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับสินเชื่อธุรกิจเท่านั้น

“ก่อนที่เราจะทำสินเชื่อควรหาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อนั้นๆ”

การชำระผิดนัด

การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า ไม่ตรงตามกำหนด การชำระหนี้ไม่ครบ เหล่านี้ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ทั้งสิ้น ซึ่งการไม่สามารถชำระได้ตามสัญญา เจ้าหนี้จะกำหนดในสัญญาให้มีสิทธิ์ที่จะเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เพิ่มเติมจากดอกเบี้ยปกติได้ เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่ต้องแบกรับหากลูกหนี้ไม่จ่ายชำระหนี้เลยจนกลายเป็นหนี้เสีย รวมถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำรายได้ดอกเบี้ยและเงินต้นไปลงทุนต่อ สำหรับผู้กู้ที่ผิดนัดชำระ ทางธนาคารปรับเปลี่ยนในการผ่อนชำระในรูปแบบใหม่

การเปลี่ยนแปลงการคิดดอกเบี้ยนั้น ช่วยลดรายจ่ายให้กับลูกค้าอีกด้วย

ตัวอย่างการคำนวณคิดดอกเบี้ย

หากกู้เงินซื้อบ้าน 4 ล้านบาท ผ่อนนาน 30 ปี งวดละ 20,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6% ต่อปี โดยตลอดเวลาลูกหนี้ชำระหนี้ตรงเวลาทุกเดือน จนถึงงวดที่ 15 เราดันผิดนัดชำระ จ่ายหนี้ล่าช้าไป 30 วัน ซึ่งจำนวนหนี้ 20,000 บาทในงวดที่ 15 นี้ คิดเป็นเงินต้น 3,000 บาท บวกกับดอกเบี้ย 17,000 บาท โดยที่เรายังเหลือยอดเงินต้นทั้งหมดอีก 2.91 ล้านบาท

แบบเก่า ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยค้างชำระ โดยการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด 2,910,000 x ดอกเบี้ย 6% x 30 (จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า) ÷ 365 วัน (1ปี) จะทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัด 14,350.68 บาท

แบบใหม่ เปลี่ยนเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นงวดที่ผิดนัดชำระเท่านั้น นั่นคือเงินต้นงวดที่ 15 มีสูตรคำนวณดังนี้ 3,000 (เงินต้นงวดที่ผิดนัด) x ดอกเบี้ย 6% x 30 (จำนวนวันที่จ่ายล่าช้า) ÷ 365 วัน (1ปี) เท่ากับต้องเสียดอกเบี้ยแค่ 14.79 บาท เท่านั้น โดยมีส่วนต่างกันถึง 1.43 หมื่นบาท นอกจากนี้ธนาคารยังต้องกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน โดยไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ด้วย เช่น ชำระหนี้ล่าช้าไม่เกิน 3 วัน หรือ 5 วัน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม ATM หรือบัตรเครดิต

บัตรเอทีเอ็ม คือ เป็นบัตรที่ทางธนาคารออกให้ เพื่อใช้สำหรับเรื่องการถอน ฝาก โอน โดยใช้ผ่านตู้เอทีเอ็มได้เลย โดยไม่ต้องใช้บริการผ่านเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ก่อนที่จะทำบัตรเอทีเอ็มนั้น จะต้องมีค่าธรรมเนียมที่ใช้ในการเปิดบัญชี

ในกรณีที่ต้องคืนค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนหากลูกค้ายกเลิกบัตร (เดิมไม่คืนหรือคืนเมื่อลูกค้าขอ) เช่น โดยส่วนใหญ่คนที่สมัคร ATM จะจ่ายค่าธรรมเนียมบัตร ATM หรือบัตรเดบิต รายปีประมาณ 300- 500 บาท

การเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม

1. รูปแบบเดิม หากผู้ถือบัตรยกเลิกการใช้งาน หลังจากใช้งานแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท ไปฟรี ๆ หรือต้องแจ้งกับทางธนาคารหากต้องการเงินในส่วนนั้นคืน โดยผู้ใช้บัตรต้องแจ้งกับทางธนาคารด้วยตัวเอง

2. รูปแบบใหม่ หากทำการยกเลิกบัตร หลังใช้บัตรไปแค่ 3 เดือน หรือ 90 วัน ธนาคารจะต้องคืนเงินให้ผู้ถือบัตรตามสัดส่วนทันที โดยคิดจากค่าธรรมเนียมรายปีลบส่วนที่ใช้ไปแล้ว เช่น จ่ายค่าธรรมเนียมบัตร ATM ไปแล้ว 300 บาท แล้วเราทำการยกเลิกในเดือนที่ 3 เราจะได้เงินคืนประมาณ 276 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ทางธนาคารแห่งชาติยังห้ามธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่หรือออกรหัสทดแทนอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับสินเชื่อ