Connect with us

คู่รัก LGBT สามารถกู้เงินร่วมกันได้หรือไม่

การสร้างครอบครัวนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี สำหรับคู่รัก LGBT ที่ต้องการกู้จากธนาคาร ต้องทำอย่างไรบ้าง Tadoo มีคำตอบมาฝาก

การกู้ร่วมคืออะไร

การกู้ร่วมเป็นการขอกู้ร่วมกัน 2 – 3 คน ในหลักทรัพย์เดียวกัน เพื่อนำเอารายได้มาคำนวณรวมกันให้ทางสถาบันการเงินหรือธนาคารเห็นสมควรว่า ทั้งคู่มีความสามารถในการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับธนาคารได้ จึงมีโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรืออาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการกู้ร่วมนั้นทางสถาบันการเงินหรือธนาคารนั้น มักตั้งเงื่อนไขข้อกำหนด ว่า จะอนุมัติให้ผู้ขอกู้ร่วมเฉพาะคนที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เช่น พ่อแม่ลูก, พี่น้อง, ญาติ ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด หรือคู่สมรสที่มีการแต่งงานกัน จะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็สามารถกู้ร่วมได้

จุดเด่น

  • ศึกษารายละเอียดหรือข้อมูลก่อนที่จะขอสินเชื่อให้
  • ในปัจจุบันการกู้ร่วมของคู่รัก LGBT สามารถทำได้แล้ว

คู่รัก LGBT สามารถกู้ร่วมได้แล้ว

ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีหลักการสำคัญคือเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติและให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี คู่รักLGBT ที่จดทะเบียนก็ สามารถกู้ได้ปกติ จะต้องยื่นหลักฐาน เช่น ทะเบียนสมรส และในกรณีถ้าไม่ได้จดทะเบียนก็ต้องใช้ทะเบียนบ้านที่มีชื่อร่วมกัน, บัญชีที่มีการเปิดร่วมกัน, หรือชื่อในธุรกิจที่ก่อตั้งร่วมกัน, รูปถ่ายที่ยืนยันความสัมพันธ์ การกู้ร่วมของคู่รักLGBT นั้น จะเหมือนกับคู่รักบ่าวสาว ทั่วไป

ใครสามารถกู้ร่วมได้บ้าง

แม้กู้ร่วมจะเพิ่มโอกาสให้กู้ซื้อสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือได้วงเงินที่สูงขึ้น แต่ไม่ใช่เราจะหาใครที่จะมาขอกู้ร่วมได้ ธนาคารต่างๆ ส่วนใหญ่มักมีเงื่อนไขเกี่ยวของกับผู้กู้ร่วมกำหนดเอาไว้ โดยทั่วไปมักจะเป็นเครือญาติหรือคู่รัก เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาหนี้สิ้น หรือการหนีหนี้

1. สามี-ภรรยาที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หรือมีหลักฐานแสดงการเป็นสามีภรรยากัน เช่น ภาพถ่ายแต่งงาน บุตร เป็นต้น
2. พี่น้องท้องเดียวกันที่นามสกุลเดียวกัน
3. พ่อหรือแม่กับลูก
4. ญาติที่นามสกุลเดียวกัน
5. พ่อแม่บุญธรรมกับลูกบุญธรรม

“พ.ร.บ. คู่ชีวิต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ส่งผลต่อการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ 3 เรื่องหลัก ๆ คือ การกู้ร่วม สินส่วนตัวและสินสมรส มรดก”

ถ้าหากในกรณีเป็นพี่น้องกัน แต่นามสกุลคนละนามสกุลสามารถกู้ร่วมได้ไหม

ถ้าหากในกรณีที่เป็นพี่น้องที่ใช้คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องนำหลักฐานมายืนยัน เช่น ทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรที่แสดงให้เห็นว่ามีพ่อแม่เดียวกัน หรือถ้ามีคู่สมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนก็นำหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือใบลงบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจซึ่งระบุว่าอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา เป็นหลักฐานในการกู้ได้ แต่หากมีบุตรร่วมกันก็ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งระบุชื่อของคู่สมรสที่มากู้ร่วม แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายพิจารณาการให้สินเชื่อของแต่ละธนาคารด้วย

การกู้ร่วมของคู่รัก LGBT มากขึ้น แต่อยากให้ทุกคนพิจารณาเรื่องความพร้อมของตัวเองและผู้กู้ร่วมเป็นสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

ธนาคารใดบ้างที่สามารถให้สินเชื่อบ้านระหว่างผู้กู้ร่วม LGBT

ในปัจจุบันมีหลากหลายสถาบันการเงินหรือธนาคาร เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBT ที่สามารถกู้ร่วมด้วยกันได้มากขึ้น และธนาคารที่มีเงื่อนให้คู่รัก LGBT กู้ร่วม มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง และพิจารณาสินเชื่อให้ทั้งหมด 6 แห่ง ทั้งธนาคารของรัฐและเอกชน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารธนชาต, ธนาคารยูโอบี และธนาคารกรุงเทพ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อนั้น สถาบันการเงินจะดูคุณสมบัติของผู้กู้ หลัก ๆ คือดูความน่าเชื่อถือว่ามีกำลังในการผ่อนหนี้ต่อเดือนได้ โดยเงื่อนไขขั้นต้นที่กำหนดไว้ก็คือเรื่องของ เงินเดือน/ภาระหนี้ และอายุขั้นต่ำ ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะกำหนดไว้ไม่เท่ากัน

ความแตกต่างระหว่างการกู้ร่วมทั่วไปกับการกู้ร่วมของคู่รัก LGBT

การกู้สินเชื่อนั้น คุณสมบัติของผู้กู้จะไม่ต่างจากการกู้ปกติเลย ส่วนที่ต่างคือกรรมสิทธิ์ผู้ถือครอง ซึ่งตามปกติจะมีให้เลือก 2 แบบคือ

– แบบที่ 1 ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลายื่นกู้มีผู้กู้ร่วม
– แบบที่ 2 ใส่ชื่อผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

แต่สำหรับคู่รัก LGBT ส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินหรือธนาคารจะกำหนดว่าจะต้องเลือกแบบ 2 เท่านั้น ประเด็นที่ต้องควรระวังคือ เมื่อผ่อนเสร็จแล้วกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้กู้ทั้งคู่ ในกรณีที่ผู้กู้ต้องการเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดียวก็ต้องมีการโอนทรัพย์สิน ซึ่งต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับสินเชื่อ