สินเชื่อส่วนบุคคลในภาวะดอกเบี้ยต่ำ
สินเชื่อส่วนบุคคลในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นอย่างไรบ้าง ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง Tadoo มีคำตอบ
สินเชื่อส่วนบุคคลในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นอย่างไรบ้าง ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง Tadoo มีคำตอบ
ในปัจจุบัน เวลาเศรษฐกิจไม่ดีหรือเศรษฐกิจฝืด ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ ต่างประเทศ วิธีที่ถูกใช้ส่วนใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคือ การลดดอกเบี้ยนโยบาย จนเกิด ภาวะดอกเบี้ยต่ำ
ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก กำลังส่งสัญญาณว่านักลงทุนกำลังเป็นห่วงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคต และความเสี่ยงที่ธนาคารกลางอาจจะไม่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นได้ในอนาคต
ส่วนหนึ่งอาจจะมองว่าเศรษฐกิจโลกถึงจุดที่มีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างเยอะ ทั้งเศรษฐกิจที่มีสัญญาณเริ่มโตช้า ทั้งด้านการผลิต มูลค่าการส่งออก และตลาดแรงงานที่เริ่มส่งสัญญาณอ่อนตัวลง แถมยังมีความไม่แน่นอนอื่นๆ เต็มไปหมด ทั้งความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปัญหาในตะวันออกกลางที่อาจนำไปสู่ชนวนสงคราม แถมยังมีปัญหา Brexit อีก ความไม่แน่นอนเหล่านี้ ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุน และอาจทำให้วงจรเศรษฐกิจชะลอลงกว่าที่เป็นอยู่
นอกจากนี้ หลายคนอาจมองว่าเศรษฐกิจปัจจุบันขุนไม่ขึ้น เงินเฟ้อต่ำต่อเนื่อง ติดกับดักหนี้ที่ต้องสร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ดอกเบี้ยขึ้นไม่ได้เลย ผลตอบแทนจาก “ทุน” จากการลงทุนจึงต่ำเตี้ย และในขณะเดียวกันประเด็นอื่นๆ ที่รัฐบาลจะสามารถใช้ในการโอบอุ้มเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการคลังก็มีจำกัด (เพราะหนี้รัฐบาลก็เยอะกันเกือบทุกประเทศ) นโยบายการเงินเกือบจะเหลือเป็นทางออกทางเดียว ยิ่งทำให้มั่นใจว่าดอกเบี้ยขึ้นไม่ได้แน่ๆ
1. ดอกเบี้ยต่ำส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อทั่วไประยะยาวซึ่งมีความเสี่ยงที่จะผิดชำระหนี้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้ที่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้มาก่อนหรือสินเชื่อที่ต้องใช้หลักประกัน
2. การวิเคราะห์แยกกลุ่มตามขนาดของสถาบันทางการเงิน พบว่าคุณภาพของสินเชื่อใหม่ที่สถาบันทางการเงินขนาดกลางและขนาดเล็กปล่อยค่อนข้างอ่อนไหวต่อสภาวะดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ซึ่งชี้ว่าการที่ดอกเบี้ยต่ำส่งผลให้ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กมีแนวโน้มปล่อยสินเชื่อที่คุณภาพต่ำลงมากกว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่
3. ศึกษารายละเอียดโดยเฉพาะข้อมูลของสินเชื่อที่ให้กับผู้กู้ที่เป็นบริษัทพบว่า บริษัทขนาดเล็กที่มีอายุน้อย และมีกำไรน้อย มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากกว่า
4. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงส่งผลให้สถาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่คุณภาพในเชิงลบ แต่ทั้งนี้พบว่ามีความเสี่ยงที่ลดน้อยลงในการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อเดิม ซึ่งน่าจะเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยลดลง ทำให้ผู้กู้มีความเสี่ยงน้อยลงที่จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้
“ดอกเบี้ยต่ำส่งผลกระทบทางลบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ผ่านช่องทางของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงเป็นหลัก”
ในปัจจุบัน เศรษฐกิจตกต่ำมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลมีภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำ หลังจากประเมินแล้วเห็นว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสขยายตัวต่ำตามความเสี่ยงในระยะปานกลางถึงยาวที่เพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงินโลก
อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำส่งผลกระทบต่อภาคการเงินในหลายส่วน เช่น ทำให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์ต่าง ๆ ลดลงกว่าความเป็นจริง และการลงทุนในสินทรัพย์อาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ดอกเบี้ยต่ำอาจส่งผลให้สถาบันการเงินกล้ารับความเสี่ยง มากขึ้น โดยการปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแสวงหารายได้ดอกเบี้ย ซึ่งแนวทางของผลกระทบจากดอกเบี้ยตามนโยบายคุณภาพของการปล่อยสินเชื่อนี้เรียกว่า ช่องทางความเสี่ยง (Risk-taking channel) ในขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยต่ำตามนโยบายก็อาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้น้อยลง ซึ่งทำให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารลดลงได้ และลดความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
ช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำธนาคารมีแนวโน้มปล่อยสินเชื่อทั่วไประยะยาวที่มีคุณภาพต่ำลง หรือมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น และพบว่าธนาคารขนาดเล็กมักเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมหรือช่องทางความเสี่ยงมากขึ้นในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ยังต้องค่อยตรวจสอบอย่างใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็น เรื่องธุรกิจการค้าที่อาจจะเกิดความรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะการพูดคุยเรื่องการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนรวมถึงสหรัฐฯมีโอกาสปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์เป็นการทั่วไปในอนาคต ความไม่แน่นอนของรูปแบบและระยะเวลาที่สหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะมีความรุนแรงในวงกว้าง โดยเฉพาะสถานการณ์การประท้วงในประเทศต่างๆ
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และความแน่นอนในด้านต่างๆ (โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการค้า) มีผลกระทบด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยได้อย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยข้างนอกที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว (และเรายังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ค่อนข้างเยอะ) อาจจะทำให้แรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศ และแรงกดดันต่อค่าเงินบาทมีสูงขึ้น (อย่างที่เห็นว่าช่วงนี้ค่าเงินบาทเราแข็งค่าสุดในรอบหลายปี)