ติดแบล็กลิสต์สามารถสมัครบัตรเครดิตได้ไหม
หลายคนคงจะสงสัยว่า ติดแบล็กลิสต์คืออะไร และติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโรน่ากลัวหรือเปล่า Tadoo พร้อมให้คำตอบคุณแล้ว มาดูกันเลย
หลายคนคงจะสงสัยว่า ติดแบล็กลิสต์คืออะไร และติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโรน่ากลัวหรือเปล่า Tadoo พร้อมให้คำตอบคุณแล้ว มาดูกันเลย
อันที่จริงแล้ว การติดแบล็กลิสต์ไม่ได้หมายถึงการถูกแบน หรือถูกห้ามไม่ให้ทำธุรกรรมการเงินอีก คำว่า “ติดแบล็กลิสต์” เป็นเพียงข้ออ้างของบริษัททวงหนี้ที่เอาไว้ใช้กับลูกหนี้ เพื่อใช้ขู่ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ให้หวาดกลัว ว่าถ้าหากติดแบล็กลิสต์หรือติดเครดิตบูโรแล้ว จะไม่สามารถทำธุรกรรมหรือกู้สินเชื่อใด ๆ ได้อีกตลอดชีวิต ซึ่งในปัจจุบันนี้มีพระราชบัญญัติทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดเอาไว้ว่า “ห้ามทวงหนี้แบบหลอกลวงให้เข้าใจผิด” การทวงหนี้โดยขู่ลูกหนี้ว่าจะต้องติดแบล็กลิสต์นั้นเป็นความผิด โดยมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เครดิตบูโร นั้นมาจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau) คือองค์กรทำหน้าที่เพียงเก็บรวบรวมประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ทุกคนในประเทศไทย โดยเก็บบันทึกประวัติตั้งแต่งวดล่าสุดย้อนหลังไป 3 ปี โดยธนาคารต่างๆที่เป็นเจ้าหนี้ได้ให้ข้อมูลเหล่านี้แก่เครดิตบูโร แต่ “ไม่ได้” มีหน้าที่ในการขึ้นบัญชีดำให้กับลูกหนี้รายใดอย่างที่คนมากมายเข้าใจผิดมานาน
ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบเครดิตบูโรนั้น จะแสดงเป็นสถานะบัญชีของเราในปัจจุบัน ซึ่งมีตัวเลขกำกับ และตัวเลขสถานะเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกัน Tadoo ได้นำตัวเลขที่คุณควรรู้ในเครดิตบูโรมาฝาก มาดูกันว่าแต่ละตัวเลขมีความแตกต่างกันอย่างไร
– เลข 10 คือ ปกติ แปลว่า บัญชีนี้มีการชำระหนี้ตามปกติ จ่ายตรงตามเงื่อนไข และไม่มียอดค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
– เลข 11 คือ ปิดบัญชี แปลว่า บัญชีนี้ได้มีการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่มีหนี้ค้าง
– เลข 20 คือ สถานะมีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน
– เลข 40 คือ สถานะอยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
– เลข 42 คือ สถานะโอนหรือขายหนี้
– เลข 43 คือ สถานะปิดบัญชีขณะโอนหรือขายหนี้
“อย่ากลัวคำว่า “ติดแบล็กลิสต์” เพราะไม่มีจริง เป็นเพียงแค่คำขู่ของเจ้าหนี้ และการข่มขู่ด้วยข้อมูลเท็จยังผิดกฎหมายอีกด้วย”
ติดต่อธนาคารที่คุณกำลังเป็นหนี้ เพื่อทำการชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้น แต่ถ้ามีหนี้เหลือเป็นจำนวนมาก ให้คุณเจรจาต่อรองกับธนาคารเพื่อขอลดยอดหนี้ที่ต้องชำระให้น้อยลง หรือปรับโครงสร้างหนี้
เริ่มสร้างประวัติเครดิตขึ้นมาใหม่ โดยชำระหนี้ให้ตรงเวลา ซึ่งเป็นการสร้างวินัยการใช้เงินที่ดี และคุณไม่ควรผิดนัดชำระหนี้ หรือจ่ายเงินล่าช้า เพราะประวัติการชำระหนี้ของคุณจะถูกจัดเก็บในเครดิตบูโร ถ้าคุณชำระหนี้ตรงเวลา เมื่อประวัติเครดิตของคุณดีขึ้นเรื่อย ๆ ก็ส่งผลให้เครดิตบูโรของคุณดีขึ้นด้วยเช่นกัน
ถ้าติดเครดิตบูโรให้ติดต่อธนาคารเพื่อทำการชำระหนี้ ซึ่งเป็นการสร้างประวัติเครดิตบูโรของคุณให้ดีขึ้น
นอกจากคุณจะต้องชำระค่าบัตรเครดิตให้ตรงเวลาแล้ว คุณยังต้องชำระบัตรเครดิตด้วยเงินเต็มจำนวนเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าดอกเบี้ย ประการสำคัญ คือ ต้องเก็บประวัติที่มีความต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน เพื่อแสดงความมีวินัยทางการเงินนั่นเอง
เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลเพียง 3 ปีเท่านั้น – ถึงแม้ว่าคุณจะมีประวัติในเครดิตบูโรก็ตาม แต่ว่าหลังจากที่คุณชำระหนี้จนหมดไปอีก 3 ปี คุณก็จะไม่มีประวัติในเครดิตบูโร ดังนั้นถ้าคุณเคยมีประวัติเครดิตไม่ดี เช่น เคยผิดนัดชำระ หรือมีหนี้ค้างชำระ คุณก็สามารถแก้ไขให้ประวัติเครดิตของคุณดีขึ้นได้ด้วยการเริ่มสร้างประวัติใหม่ขึ้นมาได้ เพราะถ้าคุณมีประวัติบูโรที่ดีและชำระหนี้ให้หมด ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างเครดิตที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต
การที่คุณสมัครเครดิตในครั้งต่อไปแต่ธนาคารไม่อนุมัติให้คุณนั้น ไม่ได้เป็นเพราะคุณติดแบล็กลิสต์แม้แต่น้อย แต่เป็นเพราะธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตนั้นเข้าไปตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ของคุณ จากข้อมูลในเครดิตบูโรขณะการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และประเมินว่าคุณเป็นลูกหนี้ที่มีการชำระล่าช้าหรือผิดนัดชำระอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ก็คือ คุณอาจมีโอกาสไม่ชำระหนี้สูง ทำให้ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับคุณนั่นเอง แต่ถ้าคุณแก้ไขเครดิตบูโรตามที่ Tadoo ได้บอกไว้นั้น ก็จะช่วยให้คุณมีประวัติเครดิตที่ดีขึ้นได้