Connect with us

ประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง

หากคุณต้องใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง คุณต้องแน่ใจว่ารถพ่วงของคุณปลอดภัยและถูกกฎหมาย

รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง

ตามพระราชบัญญัติ รถจักรยานยนต์ หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย ในประเทศไทย จะสังเกตเห็นรถพ่วงข้างอยู่ทั่วๆ ไป ส่วนมากจะเป็นรถพ่วงข้างสำหรับขายของ บรรทุกสินค้า หรือบางครอบครัวก็เอาไว้ใช้เดินทางในชีวิตประจำวันวัน

จุดเด่น

  • ใช้รถพ่วงข้างได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้อง
  • เช็ค พ.ร.บ.อย่าให้ขาด เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • มีประกันภัยภาคบังคับคุ้มครองเบื้องต้นและเพิ่มเติม

ขนาดของรถพ่วงข้าง

ขนาดของรถพ่วงข้างที่ถูกกฎหมาย รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 1.75 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตร และเมื่อนำมาพ่วงกับจักรยานยนต์แล้ว ต้องมีความกว้างวัดจากขอบยางด้านนอกสุดของล้อหลังรถจักรยานยนต์ถึงขอบยางด้านนอกสุดของล้อพ่วงไม่เกิน 1.50 เมตร

รถจักรยานยนต์พ่วงข้างจดทะเบียนได้ไหม

ตามพระราชบัญญัติ รถจักรยานยนต์ ระบุไว้ว่า รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน

ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้เวลานำไปใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนการใช้งาน การตรวจสภาพดังกล่าวนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปให้ตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และให้นำมาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถคันดังกล่าวมีความปลอดภัยในเวลาใช้งาน ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

“ไม่ต่อเติมรถพ่วงข้างที่ผิดต่อกฎหมาย”

สรุปรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง

1. รถจักรยานยนต์พ่วงข้าง (ซาเล้ง) ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ตามกฎหมาย

2. รถจักรยานยนต์พ่วงข้างต้องตรวจสภาพรถกับสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก

3. ต้องจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงสภาพรถต่อนายทะเบียนฯ

4. ต้องจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์

5. ต้องเสียภาษีประจำปีสำหรับรถจักรยานยนต์

6. ผู้ขับขี่ต้องสวมหมวกนิรภัยตาม พ.ร.บ.จราจร

ใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างอย่างปลอดภัย ต่อพ.ร.บ.ทุกปีอย่าให้ขาด

ประกันสำหรับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง

ในเรื่อง ประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ไม่มีระบุอย่างแน่ชัดในรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง แต่การทำ พ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประกันภัยภาคบังคับ และเกี่ยวเนื่องกับการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถจักรยานยนต์ สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์มีดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฝ่ายถูกผิด
– ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท (จ่ายตามจริง)
– ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท

พ.ร.บ.จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอย่างไร

ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น

– ค่ารักษาพยาบาล สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
– กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 500,000 บาท
– กรณีทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ
– สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
– สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
– สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 500,000 บาท
– กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ได้รับเงินค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นยานพาหนะสำคัญของใครหลายๆ คน เพราะสามารถบรรทุกได้มากกว่ารถจักรยานยนต์ แต่ก็ถูกกว่ามากหากต้องไปซื้อรถยนต์หรือรถกระบะ ดังนั้นควรดูแลเป็นอย่างดี ทำตามกฎ ระเบียบกติกาให้ถูกต้อง มีการต่อพ.ร.บ.และเสียภาษีทุกปี ที่สำคัญขับขี่อย่างปลอดภัยและสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง หากสนใจต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์ คลิก tadoo

ผลิตภัณฑ์ประกันรถจักรยานยนต์

ประเภทของประกันรถจักรยานยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถจักรยานยนต์