Connect with us

ประกันรถยนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุหลายท่าน ยังมีสมรรถภาพในการขับรถอยู่ ขอแนะนำข้อควรรู้ก่อนซื้อประกันรถยนต์ เลือกประกันชั้นไหนให้เหมาะกับผู้สูงอายุ

เช็คเบี้ยประกัน

ผู้สูงอายุกับการทำประกันรถยนต์

ผู้สูงอายุ วัยเกษียณส่วนใหญ่ไม่ได้มีรายได้ประจำแล้ว รถยนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุควรเป็นรถที่ราคาไม่แพงมากนัก ขนาดกะทัดรัด ควบคุมง่าย เหมาะในการขับในเมืองหรือระยะทางที่ไม่ได้ไกลมาก เช่น ไปจ่ายตลาด ไปรับลูกหลาน แนะนำรถยนต์ประเภท Eco-Car หรือรถยนต์ขนาด Sub-Compact ขับง่ายแถมประหยัดน้ำมัน

แต่ผู้สูงอายุบางท่านที่มีกำลังทรัพย์ ยังสามารถขับออกตามต่างจังหวัดได้ แนะนำให้เลือกรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา เช่น รถ SUV, MPV หรือ Crossover เพราะทนทาน คุ้มครองความปลอดภัยคนขับ อะไหล่หาง่าย ค่าซ่อมไม่แพง และถ้าเป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติก็จะยิ่งใช้งานง่ายขึ้น

เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ผู้สูงอายุควรศึกษาคู่มือรถและวิธีการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ของรถให้เข้าใจ เนื่องจากรถรุ่นใหม่มักมีเทคโนโลยีสลับซับซ้อนต่างจากรถรุ่นเก่า ที่สำคัญ ควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วย เพื่อเป็นการป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น

มาดูกันว่า ผู้สูงอายุควรทำประกันรถยนต์ประเภทไหน

ประกันรถยนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

ข้อดีของการมีอายุมากคือ ในการกำหนดเบี้ยกรมธรรม์ มีแนวโน้มที่จะได้เบี้ยราคาถูกกว่าคนอายุน้อย เพราะมีความชำนาญในการขับรถ ใจเย็น เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าวัยทำงาน และวัยรุ่น

 

ส่วนของประกันรถยนต์ชั้น 1 นั้น ที่บอกว่าคุ้มค่าคุ้มราคาเพราะคุ้มครองครอบคลุมที่สุด ผู้ทำประกันสามารถเลือกระบุผู้ขับขี่ได้ เพราะว่าผู้สูงอายุจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันและจ่ายในราคาที่ถูกกว่า แถมได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิมตามแผนกรมธรรม์ทุกอย่างไม่ได้ลดลงไปจากแผนกรมธรรม์เลย

ประกันรถยนต์ชั้น 1

เป็นประกันภัยที่เหมาะกับผู้สูงอายุ จุดเด่นอยู่ที่เคลมอุบัติเหตุรถชนได้ทั้งแบบมีและไม่มีคู่กรณี รถหาย ไฟไหม้ ถูกขโมยก็คุ้มครอง

เพิ่มเติม

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ประกันรถยนต์ราคาย่อมเยาว์ลงมา แต่ความคุ้มครองใกล้เคียงประกันชั้น 1 ดูแลรถหาย ไฟไหม้ เคลมได้แบบมีคู่กรณีเท่านั้น

เพิ่มเติม

ผู้สูงอายุทำประกันรถยนต์ เซฟค่าใช้จ่าย เซฟชีวิต

ปัจจุบันผู้สูงอายุหลายท่านยังมีรายกายแข็งแรง สายตาดี ปฏิกิริยาตอบสนองไว ทำให้ยังสามารถขับรถได้ดี แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้โดยไม่หลีกเลี่ยงวัย ดังนั้นควรซื้อประกันรถยนต์ไว้ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้สูงอายุเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่าวัยอื่น ค่ารักษาพยาบาลก็จะสูงตาม หากมีประกันรถยนต์ไว้จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้

เช็คเบี้ยประกัน

ผู้สูงอายุซื้อประกันรถยนต์ เบี้ยประกันถูกลงเท่าไหร่

Tadoo แนะนำในผู้สูงอายุทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เพราะว่าให้ความคุ้มครองมากที่สุด แม้ว่าราคาจะแพงสุด แต่ข้อดูคืออายุของผู้ทำประกันส่งผลต่อเบี้ยประกัน ลดหลั่นตามช่วงอายุ ทำให้สามารถซื้อประกันชั้น 1 ในราคาคุ้มค่าได้ ดังนี้

50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%
36-50 ปี ส่วนลด 15%
25-35 ปี ส่วนลด 10%
18-24 ปี ส่วนลด 5%

พูดง่ายๆ คือ อายุน้อยเบี้ยแพง อายุเยอะเบี้ยถูก ผู้สูงอายุควรใช้สิทธิประโยชน์จากตรงนี้ให้ได้มากที่สุด

เสียงจากผู้ใช้งานจริง ส่วนใหญ่ต่างพึงพอใจ





4.9 out of 5

20,691 reviews

โรคที่ผู้สูงอายุต้องระวังในการขับรถ

ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะสามารถขับรถได้ แต่มีข้อควรระวังจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ผู้สูงอายุควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการหรือเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ เพราะส่งผลต่อการขับรถได้

โรคทางสายตา

โรคทางสายตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อลม ต้อหิน ซึ่งหากเป็นต้อหินจะทำให้มองเห็นภาพบริเวณโดยรอบได้ไม่ดี หากเป็นเวลาโพล้เพล้ทำให้มองแสงไฟหน้ารถพร่ามัวได้

โรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบตามบริเวณต่างๆ

โรคข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ไม่สามารถเหยียบเบรกได้เต็มที่ กระดูกคอเสื่อม ทำให้เอี้ยวดูรถได้ลำบาก ข้อเท้าอักเสบ หรือปวดตามข้อจากโรคเก๊าท์ รวมถึงอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อม ไม่สามารถนั่งขับรถนานๆ ได้

โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม ในระดับที่เป็นไม่มาก ซึ่งอาจส่งผลให้หลงลืม จำทางไม่ได้ การตัดสินใจและสมาธิไม่ดี เลี้ยวผิด เป็นต้น

โรคลมชัก

โรคลมชัก โรคนี้พบในกลุ่มของผู้สูงอายุมากกว่าหนุ่มสาว เมื่อเป็นขึ้นมาจะมีอาการชัก กระตุก เกร็ง ไม่สามารถควบคุมรถได้

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน จะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น จึงเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดเป็นโรคอัมพฤกษ์ตามมาอีกด้วย

ข้อควรระวังเพื่อการขับรถอย่างปลอดภัยของผู้สูงอายุ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาแนะนำวิธีขับขี่รถอย่างปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

1. ผู้สูงอายุที่ยังมีความจำเป็นในการขับขี่ หรือต้องการขับรถ ก่อนจะลงมือนั่งหลังพวงมาลัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบร่างกายก่อน ทั้งการมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ การทำงานของแขนและขา ว่ามีความสามารถพอที่จะขับรถหรือไม่

2. ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น ถนนเส้นที่ไม่มีไฟส่องสว่างยามกลางคืน สภาพอากาศที่ฝนตกหนักมาก มีหมอกควันปกคลุมเส้นทาง

3. เป็นไปได้อย่างขับรถไปไหนคนเดียว ควรหาคนนั่งไปด้วย จะได้ช่วยกันดูเส้นทาง หรือสัญญาณไฟจราจร

4. หากมีโรคประจำตัว ให้นำยารักษาโรค บัตรบันทึกประวัติของโรคพร้อมระบุอาการ และบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดตัวไปด้วยเสมอ ยกเว้นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง ได้แก่ โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเบาหวานในระยะรุนแรง ไม่ควรขับรถอย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

ผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์

ประเภทของประกันรถยนต์

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันรถยนต์

รับใบเสนอราคา ประกันรถยนต์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

เช็คเบี้ยประกัน