เพราะชีวิตสำคัญที่สุด ประกันรถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจจึงให้ความคุ้มครองความบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุในหลายแบบ โดยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจครอบคลุมทั้งคนขับหรือผู้เอาประกัน ผู้โดยสารที่นั่งมาด้วย และบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บจากการชนของผู้เอาประกัน เรียกว่าครบหมดทุกฝ่าย เงื่อนไขการบาดเจ็บที่คุ้มครอง ผู้ซื้อประกันสามารถเคลมได้มีดังนี้
ครอบคลุมทั้งคนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอกหรือคู่กรณีที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบ บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ โดยการเสียชีวิตนั้นต้องมีระยะเวลา 180 วันแรกตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ หรือบาดเจ็บเป็นผู้ป่วยในจากอุบัติเหตุแล้วเสียชีวิตลงก็เข้าเกณฑ์
กรณีภายใน 180 วัน คนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอกหรือคู่กรณีที่ผู้ซื้อประกันต้องรับผิดชอบบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ มือ เท้า สายตาจากอุบัติเหตุจนใช้การไม่ได้ถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เต็มจำนวน หากสูญเสียมือหรือเท้าสองข้าง / มือ 1 ข้าง และเท้า 1 ข้าง และ มือหรือเท้า 1 ข้าง และสายตา 1 ข้าง, จ่ายให้ 60% กรณีสูญเสียเท้าหรือมือหรือตา 1 ข้าง
กรณีคนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจนอวัยวะไม่สามารถใช้ได้ชั่วคราวภายใน 180 นับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นระยะตลอดเวลาที่ทุพพลภาพ สูงสุด 52 สัปดาห์
กรณีคนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกได้รับการวินิจฉัยว่าสูญเสียความสามารถทางการใช้อวัยวะถาวร หรือเกิน 12 เดือน จนประกอบอาชีพไม่ได้อีก
เพื่อการปกป้องด้านชีวิต ประกันทุกชั้นสามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุรถชนได้ แต่จะรับความคุ้มครองทั้งทีก็เลือกประกันที่ครอบคลุมในทุกด้านไปเลย
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ทั้งคนขับ ผู้โดยสารที่นั่งมาด้วย บุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บจากรถชน มีทุนประกันค่าเยียวยากรณีทุพลภาพ เสียชีวิต
ใกล้เคียงประกันชั้น 1 แต่ไม่ครอบคลุมอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวชนฟุตบาท ต้นไม้ เบี้ยประกันถูกกว่า คุ้มครองคุ้มค่า ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลด้วยนะ
โดยทั่วไป ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจระบุเงื่อนไขของอุบัติเหตุที่ไม่สามารถเคลมค่าสินไหมทดแทนได้ ว่า หากอุบัติเหตุนั้นเกิดจากสมคราม การสู้รบ สงครามการเมือง ปฏิวัติ การชุมนุมของประชาชนต่อต้านรัฐบาลจนเกิดความรุนแรง วัตถุปรมาณู กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงปรมาณู
กรณีที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ประกันจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ หากผู้เอาประกันขับรถยนต์ชนนอกประเทศไทย ขับรถไม่มีใบขับขี่ ใช้รถก่ออาชญากรรม ขับรถผิดกฎจราจร เมาแล้วขับ แอลกอฮอล์ในเลือดตั้งแต่ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และลากจูงรถ ขณะหมวดความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือความคุ้มครองผู้ซื้อประกัน จะไม่คุ้มครองคนขับและผู้โดยสารหากใช้รถไปทำอาชญากรรมสถานหนัก
เมื่อบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ต้องยื่นขอค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทที่ทำพ.ร.บ.รถยนต์ก่อน เมื่อมีค่าใช้จ่ายเกินทุนประกันจึงค่อยเคลมกับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นลำดับถัดไป
ค่าสินไหมทดแทนที่เคลมได้กับพ.ร.บ. ประกอบด้วย
1. ค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 80,000 บาท/คน
2. เงินชดเชยเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อคน
3. เงินชดเชยรายวันสำหรับผู้ป่วยใน ไม่เกิน 20 วัน 200 บาท ต่อวัน
โดยทั่วไปของการเคลม เราจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน จากนั้นจึงนำหลักฐานเอกสารไปทำเรื่องของเคลมกับบริษัทประกัน คร่าว ๆ ดังนี้
1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มีผู้บาดเจ็บให้รีบนำตัวคนเจ็บส่งโรงพยาบาลให้ทันท่วงที จากนั้นแจ้งความลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน
2.เก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษา เช่น ใบรับรองแพทย์ที่ระบุรายละเอียดอาการบาดเจ็บ ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ค่าห้องผ่าตัด ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์
3. ไปติดต่อกับบริษัทที่เราทำประกัน กรอกแบบฟอร์มใบคำร้องขอเคลมประกันจากบริษัท พร้อมแนบเอกสารที่แสดงอาการบาดเจ็บ และเอกสารดังรายละเอียดหัวข้อด้านล่าง
4. กรณีที่เอกสารไม่ชัดเจนหรือเพียงพอ บริษัทประกันอาจร้องขอเอกสารเพิ่มเติมได้
5.รอบริษัทประกันพิจารณาและติดต่อกลับ
21,682 reviews
1. เอกสารยืนยันตัวตน
สำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ประสบเหตุ เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง สูติบัตร (กรณีอายุต่ำกว่า 7 ปี)
2. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
ใบเสร็จแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล
3. เอกสารแสดงตัวผู้ป่วยในโรงพยาบาล
กรณีนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วย ให้แสดงหลักฐานยืนยันการเป็นผู้ป่วยใน (IPD) จากโรงพยาบาล ใบรับรอง ใบสรุปการรักษาจากแพทย์ผู้รักษาที่ระบุรายละเอียดการบาดเจ็บ
4. หนังสือรับรองความพิการ
กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพจากอุบัติเหตุ
5. สำเนาบันทึกประจำวัน
หลักฐานการแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ยืนยันการเกิดอุบัติเหตุ
6. ใบมรณบัตร
ยืนยันตัวกรณีเสียชีวิต
7.เอกสารอื่น ๆ
เอกสารนอกเหนือจากนี้ที่บริษัทประกันชีวิตร้องขอ