วิธีจัดการกับประวัติเครดิตไม่ดีที่ไม่ควรทำ
ถ้าหากเรามีประวัติเครดิตไม่ดี ก็จะส่งผลให้การทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ กับสถาบันการเงินหรือธนาคารยากขึ้น Tadoo พร้อมให้คำแนะนำวิธีจัดการประวัติเครดิตไม่ดีที่ไม่ควรทำ ไปดูกันเลย
ถ้าหากเรามีประวัติเครดิตไม่ดี ก็จะส่งผลให้การทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ กับสถาบันการเงินหรือธนาคารยากขึ้น Tadoo พร้อมให้คำแนะนำวิธีจัดการประวัติเครดิตไม่ดีที่ไม่ควรทำ ไปดูกันเลย
กรณีที่เรามีประวัติข้อมูลเครดิตไม่ดี เช่น การใช้จ่ายเกินตัว การชำระหนี้ล่าช้า หรือการค้างชำระหนี้ Tadoo แนะนำให้คุณแก้ไขประวัติที่ไม่ดีด้วยการชำระหนี้เก่าให้หมด ติดต่อกับธนาคารเพื่อทำเรื่องชำระหนี้ และเริ่มสร้างประวัติการเงินใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เมื่อเราทำธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวกับสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล หรือการใช้บัตรเครดิต ประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมดจะถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “เครดิต” โดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ เครดิตบูโร จะเป็นหน่วยงานที่บันทึกประวัติไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะประวัติเครดิตที่ดี และประวัติเครดิตไม่ดี
หลีกเลี่ยงการชำระหนี้ล่าช้า เพราะพฤติกรรมนี้แสดงถึงความไม่มีวินัยทางการเงินและไร้ความรับผิดชอบ นอกจากนี้สถาบันการเงินอาจพิจารณาว่าเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะชำระหนี้ด้วยก็ได้ ประวัติเสียเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินในอนาคตได้ วิธีป้องกันแบบง่าย ๆ คือพยายามสร้างวินัยให้กับตัวเองในการชำระหนี้คืน โดยชำระในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบแจ้งชำระหนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มประวัติเครดิตการเงินที่ดีนั่นเอง
“เครดิตที่ดี เริ่มต้นที่ตัวเรา เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน”
ถ้าเราชำระหนี้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้การทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารในอนาคตสะดวกสบายและมีโอกาสผ่านการอนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะประวัติการชำระหนี้ของเราที่บันทึกไว้ในเครดิตบูโรไม่มีจุดที่เสียหายหรือด่างพร้อย ทั้งยังเป็นประวัติที่ดี แสดงให้เห็นถึงความมีระเบียบวินัยในการชำระหนี้อีกด้วย ทั้งนี้ ประวัติการชำระหนี้จะอยู่ในระบบของเครดิตบูโรประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นก็จะถูกนำออก ทำให้เราไม่มีประวัติที่ไม่ดีอีกต่อไป
สิ่งสำคัญ 3 อย่างเพื่อสร้างเครดิตที่ดีคือ จ่ายตรงเวลา ไม่จ่ายช้า และไม่สร้างหนี้เพิ่ม
การที่เรามีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนมากจนเกินไป จะทำให้สถาบันการเงินอนุมัติการขอสินเชื่อ หรือการสมัครบัตรเครดิตต่าง ๆ ได้ยากขึ้น เพราะเมื่อสถาบันการเงินหรือธนาคารพิจารณาความสามารถในการรับผิดชอบหนี้สินของเรา โดยเปรียบเทียบรายได้กับหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนนั้นแล้วพบว่าเรามีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีเงินพอจ่ายชำระหนี้คืนได้ ทางผู้ออกบัตรอาจจะไม่อนุมัติสินเชื่อหรือบัตรเครดิตให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต ก็มีวิธีการง่าย ๆ ในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง เช่น ไม่สร้างหนี้เพิ่ม เพื่อลดภาระของตัวเอง หรือทำอาชีพเสริมต่าง ๆ ก็จะช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมากพอที่จะชำระหนี้เก่าให้หมด เมื่อไม่มีหนี้ก้อนเดิมแล้ว เราก็สามารถยื่นสมัครบัตรเครดิตได้โดยมีโอกาสผ่านสูงขึ้นกว่าเดิม
สำหรับวิธีป้องกันก็คือการสร้างวินัยทางการเงิน โดยเริ่มจากการควรชำระหนี้ตรงตามกำหนดและชำระสม่ำเสมอทุกเดือน รวมถึงไม่สร้างหนี้เพิ่มจนเกินกว่าจะชำระหนี้ปัจจุบันจนหมด การสร้างประวัติเครดิตใหม่ให้ดีขึ้นนั้น นอกจากจะทำให้เราสามารถทำธุรกรรมที่ดีขึ้นในอนาคตแล้ว ยังเป็นการบ่มเพาะนิสัยที่ดีในการใช้เงินอีกด้วย โดยทำให้เรามีวินัยทางการเงินมากขึ้น ก่อนจะใช้จ่ายก็จะต้องวางแผนล่วงหน้าเสมอ เพื่อทำให้เงินที่เราจ่ายไปนั้นคุ้มค่าที่สุด