ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์และประกันรถจักรยานยนต์
เรื่องน่ารู้ระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์และประกันรถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครองเหมือนกันไหม
เรื่องน่ารู้ระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์และประกันรถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครองเหมือนกันไหม
พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนต้องทำ มีความคุ้มครองปีต่อปี ดังนั้นเราจึงต้องคอยเช็ค พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ อย่าให้ขาด เพราะจะทำให้ขาดความคุ้มครอง และหากเจอตำรวจตรวจพบว่า พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ของคุณขาด ส่งผลให้ไม่ได้มีการต่อภาษีประจำปี คุณจะโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และเพื่อไม่ให้ลืมในการต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุณสามารถต่อล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน โดยจะไปต่อที่ศูนย์ที่รับตรวจเช็คสภาพรถ หรือต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ก็ได้ แต่เมื่อต่อ พ.ร.บ.เสร็จแล้ว คุณจะต้องไปดำเนินเรื่องเสียภาษีประจำปีด้วย
ประกันรถจักรยานยนต์ คือ ประกันภาคสมัครใจที่คุณจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ต้องขอบอกว่าทำไว้จะเป็นการดีกว่า เพราะมีประกันรถจักรยานยนต์ไม่ได้เสียหายอะไรเลย บางคนอาจจะมองว่าจะต้องเสียเงินไปเปล่าๆ ทุกปีทำไมกัน แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาละ ต้องบอกเลยว่าแค่เพียง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์อย่างเดียวคุ้มครองไม่พอแน่นอน ซึ่งประกันรถจักรยานยนต์มีข้อดี ดังนี้
– เกิดอุบัติเหตุประกันช่วยดูแลจ่ายค่าซ่อมรถแทนคุณ
– ประกันรถจักรยานยนต์ดูแลค่าใช้จ่ายส่วนเกินจาก พ.ร.บ.
– รถจักรยานยนต์หาย ไฟไหม้ หรือ น้ำท่วม ประกันชดเชยให้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันรถจักรยานยนต์แต่ละประเภท
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะเน้นความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคล โดยแบ่งความคุ้มครอง 2 ส่วน ดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฝ่ายถูกผิด
– ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท (จ่ายตามจริง)
– ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
– ค่ารักษาพยาบาล สามารถเบิก พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
– กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 500,000 บาท
– กรณีทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
– กรณีสูญเสียอวัยวะ
สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 500,000 บาท
– กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล ได้รับเงินค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
“พ.ร.บ.และประกันรถจักรยานยนต์คุ้มครองแตกต่างกัน ควรมีควบคู่กันเพื่อการคุ้มครองสูงสุด”
ประกันรถจักรยานยนต์แบ่งเป็นประเภทชั้นได้ 3 ประเภท การคุ้มครองดูแลก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ประเภทชั้น ความคุ้มครองตามแผนกรมธรรม์เบื้องต้น มีดังนี้
– ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 1 เหมาะกับรถบิ๊กไบค์ราคาแพง และรถจักรยานยนต์ที่ต้องการความดูแลขั้นสูงสุด เพราะเบี้ยประกันค่อนข้างราคาสูงแต่มีความคุ้มครองครอบคลุมที่สุด ดูแลคุ้มครองทุก กรณีไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณีหรือไม่มีคู่กรณี คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม
– ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 2+ เป็นประกันที่มีความคุ้มครองเหตุรถชนรถ คุ้มครองรถหาย ดูแลเหตุไฟไหม้รถ เหมาะกับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่คุ้มครองเหตุรถชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ลื่นล้มรถเอง ขี่รถเฉี่ยวชนสิ่งกีดขวาง เป็นต้น
– ประกันรถจักรยานยนต์ชั้น 3+ เป็นประกันสำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี มีความคุ้มครองดูแลอุบัติเหตุรถชนรถที่มีคู่กรณีเท่านั้น ไม่คุ้มครองเหตุรถหาย ไฟไหม้ และอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี
พ.ร.บ.ไม่คุ้มครองตัวรถ ถ้าไม่อยากจ่ายเงินค่าซ่อมรถเอง ควรมีประกันรถจักรยานยนต์
ความแตกต่างระหว่างพรบ.รถจักรยานยนต์และประกันรถจักรยานยนต์ คือ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ไม่คุ้มครองตัวรถ หรือ ซ่อมรถให้นั่นเอง แตกต่างจากประกันรถจักรยานยนต์ที่ดูแลค่าซ่อมรถที่เกิดความเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยการซ่อมทั้งรถของเราและรถคู่กรณี รวมถึงความเสียหายต่อบุคคลภายนอกตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ หรือทุนประกันที่คุณทำไว้
นอกจากนี้ยังจ่ายค่าชดเชยหากเกิดความเสียหายกับรถจากกรณีอื่นๆ เช่น โดนโจรกรรม ไฟไหม้ น้ำท่วมรถ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทชั้นประกันรถจักรยานยนต์ที่คุณทำไว้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นและคุณเป็นฝ่ายผิด คุณก็เจ็บ รถก็พัง ในการเบิกเคลมเบื้องต้น คือ เบิกเคลมจากพ.ร.บ.ก่อน ซึ่งคุณจะได้แค่ความคุ้มครองเบื้องต้นเท่านั้น เพราะคุณเป็นฝ่ายผิด ไหนคุณจะต้องควักเงินตัวเองเพื่อจ่ายค่าซ่อมรถให้ทั้งตัวคุณเอง และคู่กรณี หากโชคร้ายรถบุคคลที่สามได้รับความเสียหายด้วย คุณก็ต้องจ่ายเช่นกัน ลองเป็นสถานการณ์เดียวกันแต่คุณมีประกันรถจักรยานยนต์ ค่าซ่อมรถเหล่านั้นบริษัทประกันจะดูแลรับผิดชอบแทนคุณตามเงื่อนไขของกรมธรรม์หรือทุนประกันที่คุณทำไว้
ดังนั้นถ้าไม่อยากจ่ายค่าซ่อมรถเอง ทำประกันรถจักรยานยนต์ควบคู่กับพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะเป็นการดีที่สุด เปรียบเสมือนมีเกราะป้องกันสองชั้น