Connect with us

ประเทศที่ให้คนไทยเข้าได้ แต่เพิ่มมาตรการตรวจเข้ม

คนไทยสามารถเดินทางไปประเทศใดได้บ้าง และจะต้องปฏิบัติตัวต่างๆ ตามมาตรการประเทศนั้นๆ อย่างไร

การเดินทางเข้าประเทศอื่นๆ ของคนไทย

ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าคนไทย สามารถเดินทางเข้าประเทศไหนๆ ได้แล้วโดยไม่ต้องผ่านการกักตัว เพราะแต่ละประเทศที่อนุญาตให้คนไทยเข้าได้ก็มีกฎกติกา และระเบียบให้คนไทยปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ เฉกเช่นเดียวกันกับการที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ก็ยังไม่มีการรายงานที่แน่ชัดว่าไม่ต้องมีการกักตัว มีแต่ข่าวที่ยังเป็นเพียงการคาดการณ์ ซึ่งการที่เราจะเดินทางไปประเทศไหนๆ ก็ควรให้เกียรติและให้ความร่วมมือกับประเทศนั้นๆ ทั้งนี้เราต้องคอยติดตามการอัปเดตข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ต่อไป

จุดเด่น

  • คนไทยสามารถเดินทางเข้าประเทศที่อนุญาตได้
  • คนไทยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการเข้าประเทศของประเทศนั้นๆ
  • รู้ข้อมูลเบื้องต้นก่อนเข้าประเทศที่อนุญาตคนไทย

ประเทศใดบ้างให้คนไทยเข้าได้ อียิปต์ / อินเดีย

สำหรับประเทศอียิปต์ คนไทยที่จะเดินทางเข้าประเทศอียิปต์ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด ดังนี้
– ชื่อ นามสกุล
– ที่อยู่
– สัญชาติ
– เลขเที่ยวบิน
– เส้นทางการบิน
– วันที่เดินทางมาถึงอียิปต์
– หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
– โดยหน่วยงานกักกันโรคของอียิปต์จะคอยติดตามและเฝ้าระวังเป็นเวลา 14 วัน หลังเดินทางมาถึงอียิปต์

อินเดีย – ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศไทย ต้องผ่านการคัดกรองโดยเครื่องตรวจจับความร้อนในร่างกาย และต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มสาธารณสุขของอินเดียทันทีที่เดินทางมาถึงอินเดีย

เฟรนช์โปลินีเซีย / ปารากวัย / กัวเตมาลา

เฟรนช์โปลินีเซีย – รัฐบาลของเฟรนช์โปลินีเซียมีมาตรการตรวจเข้มผู้โดยสารที่มาจากประเทศไทย และประเทศที่มีการระบาดของโควิด-19 ทุกกรณี โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่า ไม่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส ก่อนเข้าพื้นที่ 5 วัน

ปารากวัย – ผู้โดยสารที่มาจากประเทศไทยและประเทศที่มีการระบาดของ COVID-19 ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และต้องตรวจไม่พบเชื้อจึงจะเข้าประเทศปารากวัยได้

กัวเตมาลา – ประเทศกัวเตมาลามีข้อกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองผู้โดยสารทุกเที่ยวบินทันทีที่เดินทางมาถึง

เดินทางไปต่างประเทศต้องมีประกันเดินทางที่ครอบคลุมการติดเชื้อไวรัสโคโรนา

สหราชอาณาจักร / นิการากัว / คาซัคสถาน

สหราชอาณาจักร – สหราชอาณาจักรได้ออกมาตรการให้คนที่เดินทางมาจากประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า ในช่วง 14 วันที่ผ่านมาที่ได้เดินทางเข้ามายังสหราชอาณาจักร หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะผู้คน และติดต่อ National Health Service (NHS) หรือแพทย์ประจำตัว

นิการากัว – การเดินทางเข้าประเทศนิการากัว ต้องตรวจคัดกรองพิเศษในผู้มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไทย และประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส และหากพบว่ามีอาการไข้ หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ จะถูกกักตัวเป็นเวลา 7 วัน

คาซัคสถาน – ออกประกาศให้บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศไทย และประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ต้องกักตัวเองในที่พักเป็นเวลา 14 วัน โดยจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปตรวจอาการที่ที่พักเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นจะมีการโทรสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพอีก 10 วัน

ดูแลป้องกันตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการนำเชื้อไวรัสโคโรนากลับมาแพร่ในประเทศไทย

ไต้หวัน / เกาหลีใต้ / ตุรกี / รัสเซีย

ไต้หวัน – ออกประกาศแจ้งเตือนให้ผู้ที่กลับจากประเทศไทย ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทั่วไปของท้องที่

เกาหลี ใต้ – ให้ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศไทย เข้ารับการตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ด้วย (เดิมทีบังคับใช้เฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากจีนเท่านั้น)

ตุรกี – ตรวจคัดกรองผู้โดยสารต่างประเทศทุกเที่ยวบินทันทีที่เดินทางมาถึง

รัสเซีย – ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าตรวจเที่ยวบินขาเข้าประเทศทุกเที่ยวบิน ก่อนอนุญาตให้ผู้โดยสารลงจากเครื่อง

คนไทยสามารถเข้าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้หรือไม่

สำหรับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้มีการเสนอข่าวจากสำนักข่าว The Brussels Times ของเบลเยียม หัวข้อเรื่อง “Which 14 countries are expected to be allowed to travel to the EU?” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ตามเวลาท้องถิ่น ระบุว่าสหภาพยุโรป (EU) อนุญาตให้ชาวต่างชาตินอกกลุ่ม EU จำนวน 14 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย ออสเตรเลีย แคนาดา จอร์เจีย ญี่ปุ่น มอนเตเนโกร โมร็อกโก นิวซีแลนด์ รวันดา เซอร์เบีย เกาหลีใต้ ไทย ตูนิเซียและอุรุกวัย เดินทางเข้าประเทศกลุ่ม EU ได้

แต่ทั้งนี้เราต้องติดตามข่าวของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันบางประเทศในยุโรป มีการล็อกดาวน์ประเทศเป็นครั้งที่สอง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่ดีขึ้น หากจำเป็นต้องเดินทางจริงต้องปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด รวมถึงมีประกันเดินทาง และประกันโควิด-19 ไว้เพื่อคุ้มครองคุณตลอดเส้นทาง

ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ

ประเภทของประกันสุขภาพ

คู่มือยอดนิยมสำหรับโรค COVID-19