ธนาคารที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมบัตรได้ด้วยหรอ และไม่มีค่าธรรมเนียมดียังไง มาหาคำตอบไปกับ Tadoo ได้เลย
ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมบัตรได้ด้วยหรอ และไม่มีค่าธรรมเนียมดียังไง มาหาคำตอบไปกับ Tadoo ได้เลย
ธนาคารเป็นแหล่งฝากเงินที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี และเราทุกคนก็ต่างนำเงินไปเปิดบัญชีกับธนาคาร เพราะถือว่าปลอดภัยกว่าเก็บเอาไว้เองแต่ เมื่อเปิดบัญชีแล้วก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแสนแพง หนำซ้ำยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีอีกด้วย ดังนั้น Tadoo จึงได้นำข้อสงสัยเหล่านี้มาตอบคำถามให้กับคุณ มาดูกันเลย
บัตร ATM คือบัตรที่ธนาคารออกให้กับผู้ถือบัตรที่เปิดบัญชีเงินฝาก สำหรับการใช้บริการฝาก ถอน โอนเงินระหว่างบัญชีผ่านตู้บริการอัตโนมัติ หรือตู้ ATM นั่นเอง โดยที่บัตร ATM จะผูกกับจำนวนเงินในบัญชีของเราโดยตรง โดยที่ผู้ถือบัตรสามารถฝาก ถอน หรือโอนได้ตามต้องการ ซึ่งธนาคารจะกำหนดวงเงินสูงสุดที่สามารถทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM แตกต่างกันออกไป
ข้อสังเกตของบัตร ATM นั้นก็คือ ไม่สามารถนำมาชำระค่าสินค้าต่างๆได้ เพราะว่าบัตรเอทีเอ็มไม่มีแถบรหัสที่สามารถใช้รูดเพื่อตัดเงินในบัญชีได้ ซึ่งบัตรที่สามารถชำระค่าสินค้าได้นั้นคือบัตรเดบิต (Debit Card) ซึ่งก็จะมีค่าสมัครบัตรที่ต่างกัน โดยที่บัตร ATM จะมีค่าสมัครจะถูกกว่าบัตรเดบิต
เมื่อเราใช้บัตร ATM เป็นประจำ ธนาคารก็จะมีการหักบัญชีค่าธรรมเนียมจากการใช้บัตร ATM จากเงินในบัญชีของเรา ซึ่งทำให้บางครั้งอาจทำให้เราสับสนได้ ซึ่งปกติธนาคารคิดค่าธรรมเนียมรายปีจากบัตร ATM และบัตรเดบิตแบบปกติ อยู่ที่ประมาณ 200 – 500 บาท ต่อปี และสำหรับบัตรเดบิตที่พ่วงประกันอุบัติเหตุ ก็จะคิดค่าธรรมเนียมรายปีประมาณ500 – 1,500 บาท ต่อปี ถึงแม้ว่าค่าธรรมเนียมต่อปีจะอยู่ในจำนวนที่ไม่เยอะ แต่ถ้าหากมีการตัดเงินในช่วงที่เราต้องการใช้เงิน ก็อาจทำให้หงุดหงิดใจได้
“ธนาคารที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีเพื่อดึงดูดลูกค้ามาเปิดบัญชีที่ธนาคาร”
เมื่อธนาคารเล็งเห็นว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM และบัตรเดบิตทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างธนาคารสูง ธนาคารต่างๆจึงออกมาตรการ ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี เพื่อให้ลูกค้ามาเปิดบัญชีกับธนาคารมากขึ้น โดยธนาคารที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีมีดังต่อไปนี้
– ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ค่าธรรมเนียมรายปี ยกเลิกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562
– ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 และยกเลิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563
– ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 06 พฤษภาคม 2559 และยกเลิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563
– ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 08 พฤษภาคม 2559 และไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับบัตร บัตรเอทีเอ็มซีโร่ และบัตรทีเอ็มบี เอทีเอ็ม ไลท์
– ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 05 ตุลาคม 2560 และยกเลิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อวันที่ 05 ตุลาคม 2560
– ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ไม่คิดค่าบริการค่าธรรมเนียมแรกเข้า และไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปี
ธนาคารที่ยังคิดค่าธรรมเนียมรายปีก็เพราะต้องนำค่าธรรมเนียมไปทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย
บางธนาคารอาจจะไม่คิดแค่ค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่ก็ยังคิดค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ในอัตราที่ไม่สูง ซึ่งยังสามารถจูงใจให้ลูกค้ามาเปิดบัญชีกับธนาคารได้ เพราะบัตร ATM หรือบัตรเดบิ
– บางประเภทอาจมีต้นทุนสูง ธนาคารจึงขอคิดค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อนำไปส่งเสริมการขาย ซึ่งธนาคารที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้ามีดังต่อไปนี้
– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 04 พฤษภาคม 2553 และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาทต่อปี
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 08 พฤษภาคม 2559 และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ต่อปี
– ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 08 พฤษภาคม 2559 และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาทต่อปี
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ยกเลิกค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ต่อปี
– ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ไม่คิดค่าบริการ และมีค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ต่อปี
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM แต่ว่าเราก็ต้องวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ เพราะการวางแผนการเงินที่ดี บ่งบอกถึงวินัยทางการเงินที่ดี และธนาคารก็จะพิจารณาส่วนนี้เพื่อให้คุณทำธุรกรรมการเงินในอนาคตได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย