Connect with us

กล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาการที่นำไปสู่หัวใจวายได้ และเสี่ยงที่จะเสียชีวิตทันที ให้ประกันโรคร้ายแรงช่วยคุ้มครองคุณ ไม่ว่าจะค่ารักษาหรือค่าชดเชย ก็หมดห่วงเมื่อทำประกัน

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ Myocardial infarction คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและออกซิเจนทำให้การทำงานหยุดชะงัก หากรักษาไม่ทัน กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะเสียหายจนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติส่งผลให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันจากการที่มีไขมันอุดตันในหลอดเลือด

จุดเด่น

  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้หัวใจวายได้ ซึ่งเป็นสามารถการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย
  • โรคหัวใจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงควรดูแลตัวเองให้ดีเพื่อไม่ให้เป็นโรค

อาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บแน่นคล้ายถูกบีบรัดบริเวณกลางอกลามไปยังส่วนบนของร่างกาย อาจรู้สึกเจ็บร้าวตามคอ คาง กราม จนไปถึงแขน อาการเหล่านี้มักเป็นอยู่ร่วม 20 นาทีและจะแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องสูบฉีดเลือดอย่างหนัก เช่น ตอนออกกำลังกาย เป็นต้น กรณีที่อาการยังไม่ร้ายแรง ความเจ็บปวดสามารถทุเลาลงได้ด้วยการหยุดพัก แต่หากอาการเจ็บแน่นหน้าอกยังไม่ทุเลา ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

วิธีการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือตายเกิดจากการขาดออกซิเจนและเลือดไปหล่อเลี้ยง แต่สามารถรักษาได้หากไปโรงพยาบาลได้ทัน

“ผู้ป่วยที่มีอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเสี่ยงที่จะเสียชีวิตทันที หากมีอาการควรรีบพาไปโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด”

รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด

หลอดเลือดที่ตีบหรืออุดตันจากไขมันที่พอกตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันทางเดินของกระแสเลือด การใช้ยาละลายลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด หรือยาลดไขมัน จะช่วยให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ และควรให้ออกซิเจนเพิ่มด้วยเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับมาทำงานเป็นปกติได้เร็วที่สุด สำหรับยาละลายลิ่มเลือดนั้นต้องให้ภายใน 6 ชั่วโมงนับจากเวลาที่อาการกำเริบ

การบอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดเป็นวิธีการรักษาที่นิยมกันมากเนื่องจากได้ผลรวดเร็วและให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด การทำบอลลูนหัวใจอาจใช้เป็นวิธีแรกในการรักษาได้เลย อีกอย่างคือเลือกใช้ในกรณีที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่ได้ หรือให้ยาแล้วไม่ได้ผล

การบายพาสหัวใจ

วิธีการนี้คือการผ่าตัดเพื่อหาช่องทางให้เลือดได้ไหลเวียน โดยส่วนมากผู้ป่วยที่ต้องบายพาสหัวใจคือผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดตีบหรืออุดตันมากกว่า 1 เส้น ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอและเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายสูงมาก การบายพาสหัวใจมีหลายวิธี ทั้งนี้ การรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยง การดูแลตัวเองสามารถป้องกันโรคร้ายได้หลายโรค ไม่ใช่เฉพาะโรคหัวใจเท่านั้น

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหัวใจและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายสามารถป้องกันได้โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ รวมถึงปฏิบัติและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่อไปนี้

เลิกบุหรี่

บุหรี่มีสารที่ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ดังนั้น ถ้าเลิกบุหรี่ได้ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน

เลี่ยงอาหารไขมันสูง และของหวาน

อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด ปิ้งย่าง รวมถึงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมาก เช่น เค้ก เบเกอรี่ ขนมหวาน อาหารเหล่านี้ทำให้มีไขมันสะสมในร่างกาย แล้วยังมีผลต่อความดันโลหิตและเบาหวานซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ

 

ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก

การออกกำลังกายทำให้ไขมันที่สะสมในร่างกายได้รับการเผาผลาญและเหลือตกค้างน้อยลงซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้อยหรือมากเกินเกณฑ์เพราะน้ำหนักที่ไม่ปกติทำให้ร่างกายอ่อนแอและทำให้ระบบการทำงานภายในผิดปกติได้

 

ตรวจสุขภาพประจำปี

หลายคนอาจมองข้ามการตรวจสุขภาพประจำปีเพราะคิดว่าตัวเองแข็งแรง ไม่น่าจะเป็นโรคร้ายอะไร แต่ความเจ็บป่วยทั้งหมดนั้นคือภัยเงียบที่มักจะมาหาโดยที่เราไม่รู้ตัว การตรวจสุขภาพประจำปีจะทำให้เรารับรู้อาการและสภาวะร่างกายภายในที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ หากเจอความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

นอกจากข้อปฏิบัติดังกล่าวแล้ว สภาพจิตใจก็เป็นส่วนสำคัญเพราะการมีสุขภาพจิตที่ดีจะช่วยให้เรามีสุขภาพกายที่ดีได้ด้วย เราจึงควรทำสมาธิ จัดสรรเวลาทำสิ่งที่ชอบ คลายเครียด หรือหางานอดิเรกทำ ส่วนใครที่วิตกกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย หรือความมั่นคงในอนาคต และกลัวว่าตัวเองจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายก็สามารถทำประกันโรคร้ายแรงไว้ได้เพื่อความอุ่นใจในทุกเวลา

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง