Connect with us

โรคไตวายเรื้อรัง

รักษาไม่หาย ผู้ป่วยอาจต้องฟอกไตไปตลอดชีวิตซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักหมื่นต่อเดือน แต่ประกันโรคร้ายแรงพร้อมคุ้มครองและจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณ

โรคไตวายเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่ใช้กรองของเสียในร่างกาย ปกติแล้วไตของคนเรามี 2 ข้าง และมีหน่วยไตข้างละประมาณ 1 ล้าน ฉะนั้นหากไตข้างหนึ่งเสียหายหรือใช้การไม่ได้ ไตอีกข้างก็ยังคงทำงานแทนได้อยู่ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณไตจึงแสดงอาการช้า กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวอาจอยู่ในระยะรุนแรงแล้ว

จุดเด่น

  • ไตที่สูญเสียการทำงานและกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังจะมีขนาดเล็กลงทั้งสองข้าง ถือเป็นอาการผิดปกติที่อาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังจะค่อย ๆ แสดงอาการออกมาตามประสิทธิภาพการทำงานของไตที่ลดลงโดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ

อาการของโรคไตวายเรื้อรัง

โรคไตวายเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายได้ โดยภาวะนี้หมายถึงไตมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่ถึง 15% ผู้ป่วยจะมีภาวะยูรีเมีย (Uremia) คือ เบื่ออาหาร ลิ้นไม่ได้รส คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ตัวซีดและบวมน้ำ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก น้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ ระบบประสาทเสื่อมทำให้มือเท้าชา ตลอดจนสมองไม่สั่งการ เซื่องซึม ชัก ไม่รู้สึกตัว และอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม โรคไตวายเรื้อรังอาจไม่ได้แสดงอาการฉับพลันโดยสามารถแบ่งอาการได้เป็น 5 ระยะ

ระยะอาการของโรคไตวายเรื้อรัง

1 – เป็นช่วงแรกของโรคไตวายเรื้อรัง มักไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรเพราะไตยังคงทำงานได้ 80-51% แต่หากประเมินค่าการทำงานจะพบข้อบกพร่องโดยอาจมีอาการไตอักเสบ หรือมีโปรตีนรั่วปะปนในเลือด

2 – ระยะนี้ก็อาจจะยังไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่การทำงานของไตจะลดลงจากระยะที่ 1 เหลือ 25-50% และอาจพบความผิดปกติในการกรองของเสีย

3 – สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วย คือ 3A และ 3B โดยทั่วไปผู้ป่วยยังใช้ชีวิตได้ปกติ อาจยังไม่แสดงอาการอะไรแต่ประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง

4 – ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ เช่น เบื่ออาหาร มึนงง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตัวบวมน้ำ มีอาการชาและเป็นตะคริว ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปัสสาวะน้อย ผิวแห้งและคันตามตัว ใต้ตาคล้ำ ครั่นเนื้อครั่นตัว และโลหิตจาง ในระยะนี้การทำงานของไตอาจลดเหลือเพียง 15-25%

5 – เป็นภาวะไตวายรุนแรงระยะสุดท้ายที่การทำงานของไตลดต่ำกว่า 15% จะมีอาการโลหิตจางรุนแรงมากกว่าเดิม และแร่ธาตุในเลือด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ลดต่ำทำให้กระดูกเปราะ กรองของเสียไม่ได้ เลือดเป็นพิษ นำไปสู่การเสียชีวิตได้

“โรคไตวายเรื้อรังอาจวินิจฉัยได้ด้วยวิธีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์หรืออัลตราซาวด์ ตรวจเนื้อไต และอาจตรวจการทำงานของไตก็ได้”

วิธีการรักษาด้วยการฟอกไต (Dialysis)

ภาวะไตวายหากเป็นถึงระยะร้ายแรงจะทำให้ไตกรองของเสียไม่ได้ จึงต้องรักษาโดยด่วน สำหรับวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังและแบบเฉียบพลันในปัจจุบันมี 2 ประเภท ได้แก่ การฟอกไต และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

การฟอกไต ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยเนื่องจากไตได้รับความเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทดแทนการทำงานของไต สำหรับการฟอกไตมี 2 รูปแบบ คือ

– การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงต่อกับเครื่องไตเทียมเพื่อฟอกเลือดให้สะอาดก่อนให้ไหลกลับเข้าสู่ร่างกาย การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมนั้นต้องทำประมาณสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 3-4 ชั่วโมง โดยมารับบริการที่โรงพยาบาลหรือหน่วยไตเทียมต่าง ๆ

– การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) วิธีการนี้แพทย์จะต้องผ่าตัดใส่ท่อเข้าไปในช่องท้อง เมื่อผู้ป่วยต้องการฟอกไตก็สามารถต่อท่อนั้นเข้ากับเครื่องฟอกและใส่น้ำยาฟอกไตลงไป จากนั้นก็รอให้ของเสียไหลออกมาจากร่างกายมาอยู่ในถุงที่หน้าท้อง วิธีนี้สามารถทำเองได้ที่บ้านโดยต้องทำวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 4-6 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม การฟอกไตนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เนื่องจากผู้ป่วยบางคนอาจมีโรคประจำตัวหรือร่างกายไม่พร้อมที่จะรับการฟอกไต

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต้องฟอกไตทุกอาทิตย์และมีค่าใช้จ่ายรายเดือนหลักหมื่น แต่ประกันโรคร้ายแรงจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากโรคไตวายเรื้อรังให้กับคุณ

วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเนื่องจากหากปลูกถ่ายไตสำเร็จ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องมาฟอกไตอีก แต่การปลูกถ่ายไตนั้นยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเพราะต้องรอไตที่เหมาะสมกับผู้ป่วย อีกทั้งปริมาณการบริจาคก็มีไม่เยอะมาก ผู้ป่วยบางคนจึงต้องรอไตสำหรับปลูกถ่ายไปเรื่อย ๆ

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะได้รับการรักษาแบบประคองอาการระหว่างรอปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยระยะแรกอาจไม่ต้องรักษามาก เพียงมาพบแพทย์เพื่อตรวจสอบการทำงานของไตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไม่ให้การทำงานของไตแย่ลง แต่สำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ร่างกายขาดสมดุลแร่ธาตุ บวมน้ำ กระดูกเปราะและโลหิตจางจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

ในส่วนของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันนั้นอาจไม่จำเป็นต้องปลูกถ่ายไต โดยแพทย์จะรักษาตามอาการและสาเหตุของไตวายเฉียบพลัน แต่หากอาการพัฒนาเป็นไตวายเรื้อรังก็ต้องวางแผนรักษาใหม่และพิจารณาเรื่องการปลูกถ่ายไต

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไตวายเรื้อรัง

โรคไตวายเรื้อรังสามารถเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย อีกทั้งยังเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเริ่มต้น แต่เราสามารถป้องกันโรคไตวายเรื้อรังได้เพียงหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

นอกจากนี้ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เนื่องจากเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต รวมถึงควรระวังการทานยาแก้อักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น Ibuprofen สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้อาการกำเริบและส่งผลถึงการทำงานของไต

ไตวายเรื้อรังเป็นแล้วรักษาไม่หาย อีกทั้งยังยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก บางคนที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตอาจต้องฟอกไตไปตลอดชีวิตซึ่งค่ารักษาพยาบาลส่วนนั้นอาจกลายเป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองโรคไตวายเรื้อรังคือตัวช่วยที่จะมาแบ่งเบาภาระของคุณ พร้อมสร้างหลักประกันด้านสุขภาพและความมั่นคงด้านการเงินในอนาคต

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง