Connect with us

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำประกันโรคร้ายแรง

ไม่ว่าจะประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองอะไรบ้าง ก่อนทำประกันโรคร้ายแรงควรเตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่ควรรู้บ้าง รวมถึงข้อควรระวังสำหรับการทำประกันโรคร้ายแรง

ประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองอะไรบ้าง

ขึ้นชื่อว่าประกันโรคร้ายแรง แน่นอนว่าต้องคุ้มครองโรคร้ายแรงที่อาการหนัก รักษายาวนาน และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ประกันโรคร้ายแรงจะครอบคลุมโรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองและเฉพาะเจาะจงมากกว่าโดยจะช่วยรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล เช่น ค่าห้อง ค่ายา ค่าอาหาร และค่าบริการ นอกจากนี้ยังคุ้มครองค่าผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์ และค่ารักษาเฉพาะ เช่น การทำเคมีบำบัด หรือการฉายแสง เป็นต้น

จุดเด่น

  • ประกันโรคร้ายแรงบางกรมธรรม์อาจให้ค่าชดเชยกรณีต้องหยุดพักรักษาตัว
  • ก่อนซื้อประกันโรคร้ายแรง ควรศึกษาขอบเขตความคุ้มครองและเงื่อนไขอย่างละเอียดเพื่อผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำประกันโรคร้ายแรง

แม้ว่าการทำประกันจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ได้มากกว่าเสีย แต่ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ เราควรศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าเราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง สำหรับเรื่องที่ควรรู้ก่อนทำประกันโรคร้ายแรงมีดังนี้

1. อายุของผู้เอาประกัน – อายุเป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการพิจารณาเบี้ยประกันและการอนุมัติประกันเพราะเกณฑ์ของบริษัทประกันส่วนใหญ่คืออายุน้อย ความเสี่ยงน้อยนั่นเอง ฉะนั้นคนที่อายุน้อยกว่าจึงได้เบี้ยประกันที่ถูกกว่าคนอายุมาก ใครที่อยากทำประกันก็ไม่ควรคิดนานเพราะพ้นวันเกิดไป ค่าเบี้ยประกันอาจเปลี่ยนไปแล้วก็ได้

2. สุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิต – คนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประวัติเจ็บป่วย และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จะได้เบี้ยประกันถูกกว่าคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง โดยข้อมูลเหล่านี้ บริษัทประกันจะสอบถามผู้เอาประกันก่อนอนุมัติกรมธรรม์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ผู้เอาประกันควรให้ข้อมูลตามจริงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

3. ตรวจสุขภาพและการตอบคำถามสุขภาพ – ทำประกันโรคร้ายแรงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่นั้น คำตอบคือแล้วแต่บริษัทประกันกำหนด แต่ปัจจุบันนี้มีหลายบริษัทที่ตัดทอนขั้นตอนการตรวจสุขภาพให้เหลือเพียงการตอบคำถามสุขภาพเท่านั้น โดยอาจถามประวัติการรักษาตัว โรคประจำตัว และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้เอาประกันเพื่อมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุมัติกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องตอบคำถามตามจริง เพราะถ้าปิดบัง อาจถูกยกเลิกกรมธรรม์ได้

4. ลดหย่อนภาษี – การทำประกันโรคร้ายแรงไม่ได้มีแต่เสีย นอกจากความคุ้มครองที่ได้กลับมาแล้ว ยังนำรายจ่ายตรงนี้ไปลดหย่อนภาษีได้โดยลดหย่อนได้สูงสุดหลักหมื่นต่อปี

ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)

หลายคนอาจไม่ทราบว่าประกันโรคร้ายแรงมีระยะเวลารอคอยหรือช่วงเวลาที่ประกันไม่คุ้มครอง ส่วนใหญ่จะประมาณ 30-120 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ โดยเงื่อนไขนี้คือถ้าหากเราตรวจเจอโรค หรือเป็นโรคขณะที่อยู่ในระยะเวลารอคอย ประกันโรคร้ายแรงจะไม่คุ้มครองทำให้เราเบิกเคลมค่าใช้จ่ายไม่ได้นั่นเอง และเสี่ยงที่กรมธรรม์ของเราจะไม่คุ้มครองโรคที่เพิ่งตรวจเจอด้วย อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทประกัน ทางบริษัทอาจมีเงื่อนไขพิเศษได้แล้วแต่กรณี

“ประกันโรคร้ายแรงสามารถทำคู่กับประกันสุขภาพได้เพราะเบี้ยประกันไม่แพงมาก และเป็นการเพิ่มความคุ้มครองแบบสองชั้น”

โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน (Pre-existing Condition)

โรคหรืออาการใด ๆ ที่เป็นมาก่อนการทำประกันโรคร้ายแรง และยังต้องรักษาต่อเนื่องจะไม่อยู่ในความคุ้มครองของประกัน กรมธรรม์ที่ซื้อไว้จะยังคุ้มครองโรคอื่น ๆ ตามเงื่อนไขยกเว้นโรคที่เป็นมาหรือตรวจพบก่อนการทำประกัน โรคประจำตัวก็อยู่ในเงื่อนไขนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการทำประกันโรคร้ายแรงของหลายบริษัทไม่มีการตรวจสุขภาพแล้วแต่จะมีการตอบคำถามสุขภาพแทน ผู้เอาประกันไม่ควรปิดบังประวัติการรักษาของตัวเองเพราะหากบริษัทตรวจสอบได้ อาจถูกยกเลิกกรมธรรม์ ต้องเสียตังค์แบบฟรี ๆ ได้

ประกันโรคร้ายแรงบางกรมธรรม์อาจไม่คุ้มครองโรคมะเร็ง ใครที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือกังวลว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงควรซื้อประกันมะเร็งเพิ่มเพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด

คที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง

ประกันโรคร้ายแรงเป็นแผนประกันที่ระบุชื่อโรคและกลุ่มอาการแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้นหากผู้เอาประกันเป็นโรคที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตของประกัน หรือโรคที่กรมธรรม์ระบุว่ายกเว้นไม่คุ้มครองก็จะไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายได้ ก่อนทำประกันจึงควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโรคให้ดีว่าครอบคลุมโรคร้ายแรงทั่วไปและโรคที่เราต้องการให้คุ้มครองหรือไม่เพื่อให้ทั่วถึงทุกกรณี

การพยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย

ไม่ว่าประกันโรคร้ายแรง หรือประกันสุขภาพก็ไม่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการพยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย เนื่องจากอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยนั้นมาจากเจตนาของผู้เอาประกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้เอาประกันเครียด หรือวิตกกังวล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง การทำร้ายตัวเองไม่ใช่ทางออกของทุกปัญหา

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง