Connect with us

การขยายหลอดเลือดหัวใจ

การขยายหลอดเลือดหรือการบอลลูนหัวใจ เป็นวิธีการรักษายอดฮิตที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว แล้วยังอยู่ในความคุ้มครองของประกันโรคร้ายแรงด้วย

การขยายหลอดเลือดและการตรวจสวนหัวใจ

การขยายหลอดเลือดและการตรวจสวนหัวใจเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ การขยายหลอดเลือดหัวใจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “การทำบอลลูนหัวใจ” ซึ่งหลายคนอาจจะเคยคุ้นหูมาบ้าง วิธีการนี้เป็นที่นิยมเพราะรักษาได้รวดเร็วและพักฟื้นไม่นาน

จุดเด่น

  • เมื่อผู้ป่วยอาการกำเริบ ต้องพามาโรงพยาบาลโดยด่วน แพทย์จะตรวจสวนหัวใจก่อนขยายหลอดเลือดซึ่งใช้เวลารวมกันส่วนใหญ่ประมาณ 2 ชั่วโมง
  • การทำบอลลูนหัวใจใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน เพียง 1-2 วันก็กลับบ้านได้แล้ว

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันสามารถรักษาได้หลายวิธีโดยส่วนใหญ่อาจเริ่มจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่การให้ยาก็ไม่ได้รับประกันทุกกรณี หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาหรือไม่สามารถใช้ยาได้ก็ต้องเข้ารับการบอลลูนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty หรือ PTCA)

เป็นวิธีการยอดนิยมที่รวดเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ดีโดยแพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัยก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกด้วยภาวะอะไร หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อุดตัน หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ก็จะสวนหัวใจโดยใส่สายเข้าเส้นเลือดแดงแล้วฉีดสีเพื่อหาตำแหน่งหลอดเลือดที่ตีบ เมื่อทราบแล้วจึงเริ่มการทำบอลลูนหัวใจโดยใส่สายที่ส่วนปลายเป็นบอลลูนก่อนจะเป่าขยายหลอดเลือดส่วนที่ตีบให้พองขึ้นเพื่อเปิดทางเดินของกระแสเลือด ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการใส่ขดลวด (Stent) เสริมเข้าไปด้วยหลังขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนเพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดกลับมาตีบอีกครั้ง วิธีการนี้เรียกว่า Percutaneous Coronary Intervention หรือ PCI

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำบอลลูนหัวใจจะได้ผลดีแต่ก็ยังมีบางกรณีที่รักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ หากไม่สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจได้ ก็อาจต้องผ่าตัดหรือก็คือการบายพาสหัวใจนั่นเอง

“การขยายหลอดเลือดหรือการทำบอลลูนหัวใจส่วนใหญ่จะไม่ให้ยาสลบ โดยจะฉีดเพียงยาชาเท่านั้นเพื่อให้ผู้ป่วยบอกอาการและความเปลี่ยนแปลงกับแพทย์ได้”

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือ Bypass Surgery/Coronary Artery Bypass Grafting (CABG)

คือการผ่าตัดเพื่อเบี่ยงหลอดเลือดหรือเปลี่ยนช่องทางการไหลเวียนของเลือดไปสู่หัวใจด้วยเส้นทางใหม่ โดยอาจใช้เส้นเลือดแดงจากอก หรือเส้นเลือดดำจากขามาเชื่อมต่อกับหลอดเลือดที่มีปัญหาเพื่อข้ามจุดที่อุดตัน การทำบายพาสหัวใจต้องทำครั้งละหลายเส้นในคราวเดียว เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดอุดตันมากกว่า 1 เส้น

ประกันโรคร้ายแรงจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการรักษาโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน

รูปแบบของการผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การทำบายพาสหัวใจมี 2 วิธี คือ การบายพาสแบบหยุดหัวใจโดยจะฉีดยาเพื่อหยุดการทำงานของหัวใจแล้วใช้ปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) ในการสูบฉีดเลือดแทน ส่วนอีกวิธีคือการทำบายพาสแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ วิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อวัยวะเทียมและไม่ต้องฉีดยาหยุดการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจในปัจจุบันสะดวกและรวดเร็วขึ้นมากโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน รวมถึงเวลาพักฟื้นด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น การรักษาสุขภาพก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเพราะถึงแม้วิทยาการทางการแพทย์จะเจริญจนหาวิธีรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากขึ้นแล้วแต่เราต้องอย่าลืมว่าภัยร้ายเหล่านี้สามารถคร่าชีวิตเราได้ในพริบตาเช่นกันหากอาการกำเริบแบบเฉียบพลัน ดังนั้น เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและเพื่อให้ได้อยู่กับคนที่เรารักนานขึ้น เราจึงควรดูแลตัวเองและตรวจร่างกายเป็นประจำ รวมถึงควรซื้อประกันโรคร้ายแรงไว้เพื่อเป็นหลักประกันด้านสุขภาพและรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง

ประเภทของประกันโรคร้ายแรง

คู่มือยอดนิยมสำหรับประกันโรคร้ายแรง