ข้อแนะนำการใช้รถในการขนส่งบรรทุกของ
รถยนต์นั้นนอกจากจะใช้ขับขี่แล้ว ยังใช้ขนส่งบรรทุกของด้วย แต่จะบรรทุกอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย Tadoo มีคำแนะนำมาฝากกัน
รถยนต์นั้นนอกจากจะใช้ขับขี่แล้ว ยังใช้ขนส่งบรรทุกของด้วย แต่จะบรรทุกอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย Tadoo มีคำแนะนำมาฝากกัน
ในการจะเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ เรามักจะนึกถึงรถกระบะเป็นอันดับแรก เพราะสามารถบรรทุกของได้มากกว่ารถเก๋ง และเป็นรถบรรทุกที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด แต่ถึงอย่างไรในทางกฎหมายมีการจำกัดขนาดของสิ่งที่จะบรรทุกเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือสร้างความเสี่ยงต่อผู้ที่สัญจรไปมา อุบัติเหตุที่เกิดจากรถกระบะโดยส่วนใหญ่ มักเกิดมาจากการขนย้ายสิ่งของที่มากเกินไปและออกมานอกตัวรถ รวมถึงการเก็บของที่ไม่มีความหนาแน่น รัดกุม และเพื่อเป็นการใช้รถในการขนส่งบรรทุกของอย่างถูกต้องและปลอดภัย ทาง Tadoo มีข้อแนะนำดังนี้
หากมีรถกระบะอยู่ และต้องการใช้รถเพื่อการขนส่งบรรทุกของ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องดังต่อไปนี้
– ความกว้าง บรรทุกได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
– ความยาวด้านหน้ายื่นได้ไม่เกินหน้าหม้อรถ และด้านหลังยื่นพ้นตัวรถได้ไม่เกิน 2.50 เมตร
– ความสูงส่วนใหญ่แล้ว รถกระบะหรือรถบรรทุก จะมีความสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างกว่า 2.30 เมตร สามารถบรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
– หากขนย้ายสิ่งของหรือสัตว์เลี้ยง ควรป้องกันไม่ให้สิ่งของที่บรรทุกตกหล่น หรือรั่วไหล เนื่องจากอาจสร้างความเดือดร้อนและเกิดอุบัติเหตุได้
หากเราไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในการใช้รถขนส่งบรรทุกของ เราอาจจะเจอโทษได้ เช่น
1. การใช้รถกระบะที่ดัดแปลงตัวรถ ต่อเติมตะแกรงเหล็ก หรือต่อเติมส่วนอื่นของรถ เช่น ติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้ว ติดตั้งโครงตะแกรงเหล็กที่หลังคา เป็นต้น ถือว่ามีความผิดในการดัดแปลงรถ แต่ถ้าหากดูถึงความแข็งแรง ปลอดภัย สามารถทำการแจ้งแก้ไขที่สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนรถไว้ แต่หากไม่มีการแจ้งถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบการมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
2. หากทำของที่บรรทุกตกใส่ผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นจนเสียหาย จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตรา 20 คือ “ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ สิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ สิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้สกปรก เปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หากไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท”
“ของตกหล่นจากรถที่บรรทุก คนขับมีโทษโดนปรับไม่เกิน 500 บาท”
ในบางครั้งของที่เราต้องทำการบรรทุกขนส่งก็มีความยาวเกินกว่าความยาวของตัวรถ จึงต้องเจอสถานการณ์บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวตัวรถ หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. การขนส่งบรรทุกของในเวลากลางวัน ควรติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร เพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันที่ตามมาระมัดระวัง
2. การขนส่งบรรทุกของในเวลากลางคืน หรือ เวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ควรติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนระยะ 150 เมตร
บรรทุกของเกินความยาวตัวรถ กลางวันติดธงแดง กลางคืนติดไฟสัญญาณสีแดง
การบรรทุกเครื่องดื่มมึนเมา หรือสุรา ตามกฎหมาย พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ในมาตรา 14 และตามมาตรา 15 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดทำการขนส่งสุราในราชอาณาจักรเกินกว่า 1 ลิตร แต่ไม่ถึง 10 ลิตร เข้าในหรือออกนอกเขตพื้นที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ศุลกากร และต้องพกใบอนุญาตติดรถไว้ด้วย”
สรุปแล้วก็คือไม่สามารถบรรทุกเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร ถ้าหากจะขนสุราในปริมาณ 10 ลิตร หรือเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาตนั่นเอง
สำหรับรถใช้งานส่วนบุคคลจะใช้บรรทุกของทั่วไปก็ไม่แปลก เช่น ไปตลาด ไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ ย้ายของเนื่องจากย้ายบ้านใหม่ เป็นต้น เพียงแต่ต้องทำการบรรทุกขนส่งให้ถูกต้องอย่างที่กล่าวไปด้านบน รถใช้งานส่วนบุคคลเหล่านี้ ที่ไม่ได้มีรถไว้ใช้เพื่อรับจ้าง หรือประกอบอาชีพ สามารถทำประกันรถยนต์ทั่ว ๆ ไปได้ แต่หากคุณเป็นรถรับจ้างบรรทุกขนส่งสิ่งของ หรือทำการใช้รถขนส่งสิ่งของเป็นอาชีพ
ในการทำประกันรถยนต์คุณจะต้องเลือกแพ็กเกจกรมธรรม์สำหรับรถใช้งานเพื่อการพาณิชย์ โดยอิงจากเลขรหัสรถยนต์ในการจดทะเบียน สำหรับประกันรถยนต์เชิงพาณิชย์เบี้ยประกันจะแพงกว่ารถใช้งานส่วนบุคคล เนื่องจากบริษัทประกันมองว่ามีความเสี่ยงมากกว่า สำหรับรถยนต์หรือรถกระบะทั่วไปหากสนใจประกันรถยนต์ เลือกผ่าน Tadoo