Connect with us

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์

ก่อนทำการรีไฟแนนซ์ควรศึกษารายละเอียดข้อมูล เพื่อความสมบูรณ์ถูกต้อง

รีไฟแนนซ์คืออะไร

รีไฟแนนซ์คือ การขอสินเชื่อก้อนใหม่จากสถาบันการเงินหรือธนาคารใหม่ก็ได้ เพื่อนำมาทดแทนก้อนเก่า หรืออธิบายง่ายๆ การกู้เงินก้อนใหม่มาโปะหนี้ก้อนเก่านั่นเอง โดยส่วนใหญ่มักจะใช้กับการผ่อนบ้าน คอนโด หรือรถ เป็นต้น เช่น นายโปลิส อยากรีไฟแนนซ์คอนโด เพราะหมุนเงินมาผ่อนไม่ทัน จึงยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ เพื่อลดอัตราการผ่อนในแต่ละเดือนลง หรือให้เงินที่ผ่อนไปโปะเงินต้นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น

จุดเด่น

  • เตรียมเอกสารให้พร้อมจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด
  • เปรียบเทียบดอกเบี้ยและคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง

ทำไมต้องรีไฟแนนซ์

การรีไฟแนนซ์บ้านไม่ใช่การเพิ่มหนี้ แต่เป็นการขอกู้เงินสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือธนาคารเดิมเพื่อนำเงินไปปิดชำระยอดหนี้ เพื่อทำให้สัญญาการกู้เงินฉบับเดิมสิ้นสุดลง โดยจุดวัตถุประสงค์หลักของการรีไฟแนนซ์บ้านคือ ต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารเดิมให้มีความเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อมากยิ่งขึ้น เช่น ต้องการเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระเพิ่มมากขึ้น , ต้องการชำระเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำลงกว่าสัญญาเดิม หรือต้องการส่วนต่างของวงเงินกู้มาใช้ประโยชน์

คุณสมบัติของผู้ต้องการรีไฟแนนซ์

– เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีรายได้ที่แน่นอน
– มีการประวัติการผ่อนชำระดี ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน
– อายุของผู้กู้ หรือ ผู้กู้ร่วม เมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ ต้องไม่เกิน 65 ปี

เมื่อเราผ่อนบ้านครบ 3 ปีแล้ว ดอกเบี้ยบ้านจะสูงขึ้น การรีไฟแนนซ์ทำให้ดอกเบี้ยบ้านลดลง

ถ้าธนาคารเก่าจะลดดอกเบี้ยให้ ควรอยู่ที่เดิมหรือรีไฟแนนซ์ดี

เวลาไปขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม ธนาคารจะลดให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ปัจจุบันดอกเบี้ย 7.7% จะลดดอกเบี้ยให้เหลือ 5.5% ขณะที่ธนาคารใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์ ให้ดอกเบี้ย 2.90% ทั้งนี้ธนาคารเดิมอาจจะบอกว่าถ้ารีไฟแนนซ์ไปที่ใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าลองคำนวณดูจะพบว่า ค่าใช้จ่ายต่างกันไม่มาก ทั้งยังประหยัดกว่าเดือนละหลายพัน รีไฟแนนซ์จึงคุ้มกว่ามาก

เมื่อดอกเบี้ยลดลง ทำให้เงินที่จ่ายในแต่ละงวดไปหักเงินต้นได้มากขึ้น ส่งผลให้ผ่อนหมดได้เร็วขึ้น

เอกสารในการรีไฟแนนซ์มีอะไรบ้าง

พนักงานประจำ/ข้าราชการ เอกสารผู้กู้,ผู้กู้ร่วม,คู่สมรส,ผู้ค้ำประกัน
– สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า/ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
– สลิปเงินเดือน ต้นฉบับ ย้อนหลัง 6 เดือน
– หนังสือรับรองเงินเดือน
-Statement ย้อนหลัง 6 เดือน ทุกธนาคาร

ประกอบกิจการส่วนตัว เอกสารผู้กู้,ผู้กู้ร่วม,คู่สมรส,ผู้ค้ำประกัน
– สำเนาบัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า/ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
– Statement ที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ย้อนหลัง 6 เดือน ทุกธนาคาร
– ทะเบียนการค้า/ใบทะเบียนพาณิชย์ (กรณีร้านค้า)
– หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (กรณีบริษัท)
– ภาพถ่ายกิจการ

เอกสารหลักประกัน
– สำเนาโฉนดที่ดินทุกหน้า
– สำเนาใบเสร็จการชำระค่างวดสินเชื่อบ้านเดือนล่าสุด
– สำเนาสัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม
– สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง/ใบอนุญาตการก่อสร้าง
– สัญญาจำนอง (ทด15.)
– แผนที่ตั้งหลักประกัน
– ทะเบียนบ้านหลังที่ต้องการรีไฟแนนซ์

ค่าใช้จ่ายในการขอรีไฟแนนซ์

ก่อนที่เราจะขอยื่นรีไฟแนนซ์นั้น ควรรู้รายละเอียดข้อมูล เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ 5 ข้อ ได้แก่

1. ค่าประเมินราคา ประมาณ 2-3 พันบาท (โปรโมชั่นบางธนาคาร ฟรีค่าประเมินราคา)
2. ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ (โปรโมชั่นบางธนาคาร ฟรีค่าจดจำนอง)
3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
4. ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ของธนาคาร เช่น ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ
5. ประกันอัคคีภัย (ซึ่งประกันอัคคีภัย ถึงเราไม่ได้รีไฟแนนซ์ ก็ต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย)

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

ประเภทของสินเชื่อ

คู่มือยอดนิยมสำหรับสินเชื่อ