รีไฟแนนซ์บ้านด้วยกัน แต่หย่าร้างควรทำยังไงดี
คู่สมรสจดทะเบียนที่กู้ซื้อบ้านร่วมกันแต่มีเหตุให้ต้องหย่าร้าง เลิกกันแล้ว ต้องถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน รีไฟแนนซ์บ้านมาและกู้คนเดียว จะต้องทำอย่างไร
คู่สมรสจดทะเบียนที่กู้ซื้อบ้านร่วมกันแต่มีเหตุให้ต้องหย่าร้าง เลิกกันแล้ว ต้องถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน รีไฟแนนซ์บ้านมาและกู้คนเดียว จะต้องทำอย่างไร
การกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้าน คือ การทำสัญญายื่นกู้ซื้อบ้านหรือทรัพย์สินเดียวกัน เพื่อให้สถาบันการเงินเห็นว่าผู้ร่วมรับภาระหนี้มีความสามารถทางการเงินเพียงพอที่จะผ่อนชำระได้ แต่การกู้ร่วมซื้อบ้านนั้นถือเป็นการค้ำประกันรูปแบบหนึ่ง เพราะผู้กู้ร่วมจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีเหมือนผู้กู้หลัก คือมีหลักฐานรายได้ชัดเจน และมีการชำระหนี้ที่ดี รายได้ที่เหลือเพียงพอที่จะร่วมรับภาระหนี้ได้
การมีครอบครัวทำให้สร้างความสุขและความอบอุ่น แต่สำหรับบางคน การเลิกร้าอาจจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มีความสุข การเลิกร้างหรือหย่าร้างเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ในกรณีที่กู้ร่วมด้วยกัน จะแก้ปัญหายังไง ให้ Tadoo.co เป็นอีกตัวช่วยสำหรับคุณ แนะนำวิธีแก้ปัญหาการกู้ซื้อบ้านร่วมกันแล้วมีดังต่อไปนี้
1. ถอนชื่อที่กู้ร่วมกัน
2. รีไฟแนนซ์เป็นผู้กู้คนเดียว
3. ประกาศขายบ้านหรือคอนโดทิ้ง
อย่างแรกที่ต้องทำตอนเลิกรากันแล้ว ควรที่จะพูดคุยถึงเรื่องข้อตกลงให้ได้ว่าใครจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน และเป็นผู้ผ่อนบ้านต่อ หากช่วยกันผ่อนบ้านร่วมกันมานาน คนที่ถือกรรมสิทธิ์บ้านอาจต้องจ่ายเงินคืนให้บ้างเพื่อความเท่าเทียม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้งสองฝ่าย แต่ต้องตกลงกันให้ได้นะ เพราะถ้าคนใดคนหนึ่งไม่ยอมก็จะไม่สามารถ ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้
“ในวันที่จดจำนองรีไฟแนนซ์ใหม่ ต้องตามตัวผู้กู้ร่วมมาเซ็นยินยอมโอนบ้าน ทั้งนี้ปัญหาที่มักจะพบ คือ ไม่สามารถติดต่ออีกฝ่ายได้ หรืออีกกรณี คือ ผู้กู้ร่วมบางคนอาจมีข้อเสนอมาแลกเปลี่ยนจึงจะเซ็นยินยอมให้”
ในกรณีคนที่ถอดถอนชื่อผู้ร่วมกู้กับสถาบันการเงินเดิมที่เราผ่อนอยู่ไม่ผ่าน อาจจะต้องลองวิธียื่นรีไฟแนนซ์ไปกู้ธนาคารอื่นแทน เพื่อขอเป็นผู้กู้คนเดียวก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็มีความเสี่ยงว่าเราอาจจะกู้ไม่ผ่านอีกก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร ก่อนยื่นเรื่องก็ควรตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระของเราเองด้วย เช่น ความมั่นคงในหน้าที่การงาน รายได้ แหล่งที่มาของรายได้ ภาระหนี้สินทั้งหมด ถ้าหากธนาคารเห็นว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงพอก็จะอนุมัติการรีไฟแนนซ์ให้อยู่ในชื่อผู้กู้คนเดียวได้ ในขั้นตอนการจดจำนองรีไฟแนนซ์ใหม่นี้ เราต้องนัดหมายอดีตคู่รักที่เป็นผู้กู้ร่วมของเรามาเซ็นยินยอมการโอนบ้านด้วย จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการได้
แม้ว่าจะรู้ขั้นตอนการจัดการสินทรัพย์ บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม หรืออาคารพาณิชย์ กรณีกู้ร่วมกับคู่รักแล้วต้องเลิกรากันไปแล้ว ทางที่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้น ควรต้องศึกษาข้อมูลการกู้ร่วมและตกลงกรรมสิทธิ์ก่อนกู้ตั้งแต่ก่อนทำสัญญากู้
การประกาศขายบ้านหรือคอนโดทิ้งเป็นวิธีสุดท้ายในการแก้ปัญหาหรือตัดปัญหา หากทั้งคู่ได้พูดคุยตกลงกันแล้วว่าจะไม่มีใครครอบครองกรรมสิทธิ์ของบ้าน ซึ่งต้องยินยอมขายจากทั้งสอง ฝ่าย ทั้งนี้คู่รักจะต้องตรวจสภาพบ้านและค่าธรรมเนียมต่างๆ ก่อนขายบ้านด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– ค่าธรรมเนียมโอน
– ค่าอากรแสตมป์
– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หากในกรณีที่เลิกราแล้วอยากรีไฟแนนซ์เป็นผู้กู้คนเดียว ผู้กู้ต้องไม่ติดเครดิตบูโร เช่น ในกรณีที่มีบัตรเครดิตหลายใบและมีวงเงินรวมกันทุกบัตรสูงกว่ารายได้เป็นจำนวนมาก ทางธนาคารจะประเมินว่าเป็นภาระหนี้สินที่มีมากเกินความจำเป็น ทำให้ผู้กู้มีโอกาสติดเครดิตบูโร ทั้งนี้ธนาคารจะไม่อนุมัติการรีไฟแนนซ์